ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่มีคุณภาพของแรงงาน ในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ, วัยแรงงาน, พื้นที่อุตสาหกรรมบทคัดย่อ
การเตรียมความพร้อมในวัยทำงานให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ สามารถลดภาระพึ่งพิงในระยะยาวในชุมชนได้ การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพและปัจจัยทำนาย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยแรงงานที่มีอายุระหว่าง 40-59 ปี ในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี จำนวน 151 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลสภาพงาน 3) ทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ 4) สิ่งคุกคามทางสุขภาพ 5) นโยบายของสถานประกอบการ และ 6) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพ โดยแบบสอบถามมีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .88, .86, .97, และ .82 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88, .75, .88 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ stepwise multiple regression analysis
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มแรงงานมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.88, SD = 1.10 ) โดยมีการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสังคม ด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ตามลำดับ ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมฯ คือ นโยบายของสถานประกอบการ (β = - 0.197) และตำแหน่งงาน (β = 0.195) ร่วมกันทำนายการเตรียมความพร้อมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 8.0 (R2 = 0.080, F = 6.452, p < 0.01)
ดังนั้น พยาบาลชุมชน หรือพยาบาลประจำสถานประกอบการ สามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้ โดยส่งเสริมให้พนักงานในตำแหน่งหัวหน้างาน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ และจัดกิจกรรมสนับสนุนการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของแรงงาน
References
Bunyasena, P., & Pannarong, S. (2020). Preparation for elder life of informal workers in Chiang Mai Province. Journal of Social Science Srinakharinwirot University, 23(1), 101-118. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/12903 (in Thai)
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2019). Occupational diseases and environmental diseases control act B.E. 2562 (2019). https://ddc.moph.go.th/uploads/files/14120220209073708.pdf (in Thai)
Department of Elderly Affairs Ministry of Social Development and Human Security. (2021). Statistics on the elderly in Thailand, 77 Provinces as of 31 December 2020. https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1615079086-335_0.pdf (in Thai)
Health Organization Center, Health Promotion Foundation. (2013). 123 Towards being an organization of happiness. Happy Workplace Center. https://happy8workplace.thaihealth.or.th/books-videos/books/180
Ingkapakorn, A., & Bhanthumnavin, N. (2019). Factors influencing the preparation for elderly of working people: A case study of Sai Mai District, Bangkok. Journal of Health Science of Thailand, 28(1), 22-36. https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5906 (in Thai)
Kasemsuk, K., & Bang-on, R. (2023). Health promotion of middle adulthood development: Nurses’ roles. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 17(1), 368-380. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/260913/178439 (in Thai)
Kiattiyan, K., & Rojanatrakun, T. (2021). The preparation for entering the aging society: A case study of Wat Sai Subdistrict, Mueang Nakhon Sawan District, Nakhon Sawan Province. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 59-74. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/247278/168281 (in Thai)
Labour Force Survey. (2019). Population aged 15 years and over by sex, labour force status and quarterly: 2019 – 2020. National Statistical Office. https://www.nso.go.th/nsoweb/downloadFile/stat_main_nso/aTCb/file_th
Meechana, P., Khansakorn, N., Silawan, T., Rawiworrakul, T., & Phijaisanit, p. (2017) Readiness of pre-aging population for quality aging society in Nongyasai Sub-district, Nongyasai District, Suphanburi Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 11(1), 259-271. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/74350/68165 (in Thai)
Onthaisong, C., Sonkla, K., Suansant, S., & Phromsawon, W. (2020). The preparing for the aging society of the population in Mueang District, Surin Province. Journal of Nursing and Health Care, 38(2), 53-62.https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/220803/165467 (in Thai)
Panajapol, C. (2015) Preparing for the old age: A case study from office of the permanent secretary, Ministry of Public Health (Central). [Unpublished master’s thesis]. Thammasat University. (in Thai)
Pichitkultham, P., Thunsiri, C., & Hormsin, P. (2019). Factors predicting health preparation for aging society among community-dwelling people in Wangchan District, Rayong Province. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 27(1), 89-99. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/6394 (in Thai)
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2016) Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice (10th ed.). Wolters Kluwer.
Sanguanchue, A., Detboon, P., Arsa, R., Srithon, P., Nuanthes, S., & Kongman, N. (2018). Factors relating with the preparation for aging among work-force age in industrial factory areas Kabinburi District, Prachinburi Province. Journal of The Department of Medical Services, 43(4), 105-109. (in Thai)
Seetangkham, S., & Nilvarangkul, N. (2018). Situation of working-age persons’ readiness for aging. Journal of Nursing and Health Care, 35(4), 204–213. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/111878 (in Thai)
Tipwong, N., & Suppapitiporn, S. (2017). Quality of life and preparation for quality aging, society of registered nurses of private hospital, Bangkok Metropolis. Chulalongkorn Medical Journal, 61(1), 103-115. https://he05.tci-thaijo.org/index.php/CMJ/article/view/418 (in Thai)
United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. (2022). World population prospects 2022: Summary of results. UN DESA/POP/2022/TR/NO. 3. https://www.un.org/development/desa/pd/sites/www.un.org.development.desa.pd/files/wpp2022_summary_of_results.pdf
Wongkinee, W., Jintanawat, R., & Sukhamwang, K. (2013). Factors predicting active ageing among population of Mueang District, Chiang Mai Province. Nursing Journal, 40(4), 91-99. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18873 (in Thai)
World Health Organization. (2002). Active ageing: A policy framework. https://iris.who.int/handle/10665/67215
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว