เกี่ยวกับวารสาร

ชื่อวารสาร
ชื่อภาษาไทย          พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อภาษาอังกฤษ      Nursing Journal CMU
ISSN    2821-9120 (Print)
ISSN    2821-3139 (Online)

          พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ชื่อเดิม วารสารพยาบาลสาร: Nursing Journal) ดำเนินการโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการทางด้านพยาบาลศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขภาพ โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากพยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจ วารสารมีระบบการจัดการแบบออนไลน์ มีการประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน การประเมินคุณภาพเป็นแบบปกปิดสองทาง (Double-blind peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน

วัตถุประสงค์ (Aims)
          1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการด้านพยาบาลศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขภาพ
          2. เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าความรู้ทางด้านพยาบาลศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขภาพ
          3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่างพยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจ

ขอบเขต (Scope)
          ขอบเขตสาขาวิชาที่รับตีพิมพ์ ได้แก่ พยาบาลศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขภาพ เช่น วิทยาศาสตร์สุขภาพ โภชนศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ เป็นต้น

ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ (Type of Article)

  1. บทความวิจัย (Research article) หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอข้อมูลการวิจัยที่กระชับ อย่างเป็นระบบตามขั้นตอน ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์การวิจัย สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย การอภิปรายผล ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และรายการอ้างอิง ความยาวบทความ 10-15 หน้า
  2. บทความวิชาการ (Academic article) หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอแนวคิดจากองค์ความรู้ โดยเรียบเรียงเนื้อหาจากผลงานวิชาการในลักษณะการวิเคราะห์วิจารณ์ และนำเสนอประสบการณ์ของผู้เขียน หรือนำเสนอแนวคิดใหม่ เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดการพัฒนาความคิด และได้แนวทางในการนำความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม บทความประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อ บทนำ เนื้อหาสาระ บทสรุป และรายการอ้างอิง ความยาวบทความ 10-15 หน้า

กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ (Publication Frequency)
          วารสารมีกำหนดออก ปีละ 4 ฉบับ
          ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม
          ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน
          ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน
          ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม-ธันวาคม
จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อฉบับ ประมาณ 20 เรื่อง ประกอบด้วย บทความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

การประเมินบทความ (Peer Review Process)
          บทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์ในพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะผ่านการคัดกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ และผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากหลากหลายสถาบัน และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน อย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ การประเมินเป็นแบบปกปิดสองทาง (Double-blind peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน

ขั้นตอนการพิจารณาประเมินบทความ
          การพิจารณาประเมินบทความทุกขั้นตอน ดำเนินการผ่านทางระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเว็บไซต์ Thai Journal Online (ThaiJO) เพื่อให้การทำงานของพยาบาลสาร มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ผู้เขียนส่งไฟล์บทความไปยังระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ของพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในเว็ปไซด์ Thai Journals Online (ThaiJO) URL: https://www.tci-thaijo.org
  2. กองบรรณาธิการแจ้งให้ผู้วิจัยทราบว่าได้รับไฟล์บทความเป็นที่เรียบร้อย
  3. กองบรรณาธิการดำเนินการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ในส่วนของเนื้อหาของบทความ ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตสาขาวิชาของวารสาร รูปแบบการจัดพิมพ์ รูปแบบการอ้างอิง ประเด็นทางจริยธรรม การคัดลอกผลงาน (Plagiarism) รวมทั้งประโยชน์ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ
  4. ในกรณีบทความมีคุณภาพไม่ผ่านการตรวจคัดกรองเบื้องต้น บรรณาธิการจะดำเนินการแจ้งผู้เขียนให้ปรับแก้ไขบทความให้ถูกต้องภายใน 4 สัปดาห์ หากผู้เขียนไม่สามารถปรับแก้ไขบทความได้ในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าสิ้นสุดการรับพิจารณาบทความ โดยบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนรับทราบ และลบบทความออกจากระบบ
  5. ในกรณีบทความผ่านการตรวจคัดกรองเบื้องต้นแล้ว กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องประเมินคุณภาพของบทความ แบบปกปิดสองทาง (Double blind review) โดยไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิทราบ และไม่เปิดเผยชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนทราบ และกองบรรณาธิการไม่เปิดเผยทั้งชื่อผู้เขียนและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้บุคคลอื่นทราบเช่นกัน
  6. เมื่อบทความได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว กองบรรณาธิการจะดำเนินการตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
              6.1 กรณีมีความเห็นให้ตอบรับการตีพิมพ์ (Accept Submission) กองบรรณาธิการจะแจ้ง ผู้เขียนให้ทราบ และดำเนินการส่งไฟล์บทความเข้าสู่ขั้นตอนการปรับแก้ไขต้นฉบับ การพิสูจน์อักษร และการจัดรูปแบบเอกสารตามต้นฉบับบทความของวารสาร ก่อนนำไปตีพิมพ์เผยแพร่
              6.2 กรณีมีความเห็นให้ผู้เขียนแก้ไขบทความ (Revision Require) กองบรรณาธิการจะส่งข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านให้ผู้เขียน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขบทความ พร้อมทั้งส่งแบบฟอร์มตารางแสดงการแก้ไขเพื่อให้ผู้เขียนจัดทำตารางสรุปผลการแก้ไข โดยระบุข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านที่ 1, 2 และ 3 ในทุกหัวข้อ และส่งกลับมายังกองบรรณาธิการ โดยรายละเอียดการแก้ไขบทความมีดังต่อไปนี้
                        6.2.1 กรณีให้ปรับปรุงแก้ไขบทความเพียงเล็กน้อย (Minor Revision) เมื่อผู้เขียนแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้ส่งบทความกลับคืนมายังบรรณาธิการ ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อกองบรรณาธิการจะได้ตรวจสอบผลการแก้ไข ก่อนนำไปตีพิมพ์เผยแพร่
                        6.2.2 กรณีให้ปรับปรุงแก้ไขบทความในประเด็นสำคัญค่อนข้างมาก (Major Revision) เมื่อผู้เขียนแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ให้ส่งบทความกลับคืนมายัง บรรณาธิการ ภายใน 4 สัปดาห์ เพื่อกองบรรณาธิการจะได้ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิรอบที่ 2 (round 2) เพื่อตรวจสอบผลการแก้ไข ซึ่งหากยังต้องมีการแก้ไขอีก กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไข หลังจากนั้น จะตรวจสอบผลการแก้ไขจนกว่าบทความมีคุณภาพที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ได้ ซึ่งจำนวนครั้งของการแก้ไขไม่ควรเกิน 3 ครั้ง
              กรณีที่ผู้เขียนไม่สามารถปรับแก้ไขบทความได้ในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผล กองบรรณาธิการจะขอลบบทความออกจากระบบ และหากผู้เขียนยังต้องการจะส่งบทความฉบับปรับแก้ไขเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ขอให้ส่งบทความเข้ามาใหม่ เพื่อกองบรรณาธิการจะได้ดำเนินการประเมินคุณภาพบทความใหม่ในทุกขั้นตอน และผู้เขียนต้องเสียค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์อีกครั้ง
              6.3 กรณีมีความเห็นให้ปฏิเสธการรับตีพิมพ์ (Decline Submission) บรรณาธิการ จะแจ้งผลการประเมินดังกล่าวให้ผู้เขียนบทความรับทราบ พร้อมทั้งเหตุผลโดยผ่านระบบวารสารออนไลน์ของระบบ ThaiJO

การเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (Article Processing Charges)
          วารสารเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ เพื่อเป็นค่าดำเนินการและเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ
          - บทความภาษาไทย 4,000 บาท (สี่พันบาทถ้วน) ต่อ บทความ
          - บทความภาษาอังกฤษ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ต่อ บทความ
          ทางวารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ เพียงครั้งเดียว เมื่อบทความผ่านการตรวจคัดกรองเบื้องต้นจากบรรณาธิการเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพ
          การชำระเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี "วารสารพยาบาลสาร" เลขที่บัญชี 968-0-08702-1 ทั้งนี้ พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ไม่ว่ากรณีใด ๆ
หมายเหตุ: - อาจารย์และบุคลากรในสังกัด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
                   - พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไม่มีนโยบายในการรับตีพิมพ์บทความแบบเร่งด่วน

ลิขสิทธิ์และสิทธิ์ให้ใช้บทความ (Copyright and Right)
          บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้สนใจสามารถเข้าถึง และดาวน์โหลดบทความโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่วารสารขอสงวนสิทธิ์ในการจัดทำรูปเล่ม
          ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่อย่างใด

Sponsors
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
110/406 ถนนอินทวโรรส ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 053-949100
Website: https://www.nurse.cmu.ac.th/web/Default.aspx

แหล่งสนับสนุน (Sources of Support)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติวารสาร (Journal History)

วารสารเล่มแรกได้จัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2516 ในชื่อ พยาบาลสาร Nursing Newsletter

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เปรียบ ปัณยวนิช เป็นบรรณาธิการท่านแรก ปี พ.ศ. 2516-2521

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรูญศรี รุ่งสุวรรณ บรรณาธิการ ปี พ.ศ. 2522-2536

ปี พ.ศ. 2522 วารสารได้เปลี่ยนชื่อจาก พยาบาลสาร Nursing Newsletter
เป็น พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Nursing Newsletter

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรณิการ์ พงษ์สนิท บรรณาธิการ ปี พ.ศ. 2537-2539

4. รองศาสตราจารย์วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร บรรณาธิการ ปี พ.ศ. 2540-2542

5. อาจารย์ ดร.อวยพร ตันมุขยกุล บรรณาธิการ ปี พ.ศ. 2542-2544

ปี พ.ศ. 2544 วารสารได้เปลี่ยนชื่อจาก พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Nursing Newsletter
เป็น พยาบาลสาร Nursing Journal

6. รองศาสตราจารย์เทียมศร ทองสวัสดิ์ บรรณาธิการ ปี พ.ศ. 2545-2552

7. ศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น บรรณาธิการ ปี พ.ศ. 2553-2564

8. รองศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ กันธะรักษา บรรณาธิการ ปี พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2565 วารสารได้เปลี่ยนชื่อจาก พยาบาลสาร Nursing Journal
เป็น พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Nursing Journal CMU