ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • คนึงนิจ เพชรรัตน์ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • สัญญา ปงลังกา พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่แอบ จังหวัดเชียงราย
  • จุฑามาศ กิติศรี อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การควบคุมความดันโลหิต, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง การให้การพยาบาลโดยใช้ระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองและควบคุมความดันโลหิตได้อย่างเหมาะสม

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตขณะหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว และหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่แอบ จ.เชียงราย จำนวน 54 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 27 รายจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในการดูแลตนเองตามแนวคิดของโอเร็ม(Orem) กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ เครื่องวัดความดันโลหิตมาตรฐานชนิดปรอท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แบบบันทึกค่าความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที

            ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มสูงขึ้นและสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตขณะหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว และหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัว ลดลงและลดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001 และ p<0.05 )

References

เบญจมาศ ถาดแสง ดวงฤดี ลาศุขะ และทศพร คำผลศิริ. (2555). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร; 39(4), 124-137.
กนกวรรณ อุดมพิทยารัชต์. (2557). โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal; 7(1).
จารุณี ปลายยอด อรสา พันธ์ภักดีและชีวรัตน์ ต่ายเกิด. (2555). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมใoการดูแลตนเองต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง น้ำหนักตัว และการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. รามาธิบดีพยาบาลสาร; 8(2), 223-236.
ประจวบ สุขสัมพันธ์ และประภา ลิ้มประสูตร. (2551).ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2(ฉบับพิเศษ), 52-64.
พรพรรณ เทิดสุทธิรณภูมิ. (2558). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก; 26(1), 2-14.

Bureau of Non Communicable Diseases Department of Disease Control Ministry of Pubic Health. (2012).
Number and rate of patients with hypertension. Classified by service area. Retrieved
from: URL: http://thaincd.com/2016/mission3.
Burns, N., & Grove, S. K. (2005). The practice of nursing research. Philadelphia: Saunders.
Douglas, B. M. & Howard. E. P., (2015). Predictors of self-management behaviors in older adults with hypertension. Advances in Preventive Medicine; (2015), 6.
Findlow, J. W., Basalik, D. W., Dulin, M., Tapp H., & Kuhn, L. (2013) Preliminary validation of the hypertension self-care activity level effects(H-SCALE) and clinical blood pressure among patients with hypertension. The Journal of Clinical Hypertension; 15(9), 637-643.
Hu, H., Li, G., & Arao, T. (2013). Prevalence rates of self-care behaviors and related factors in a Rural hypertension population: A questionnaire survey. International Journal of Hypertension; (2013), 8.
James, P. A., Oparil, S., PharmD, B. L.C., Cushman, W.C., Himmelfarb, C. D., Handler, J. et al., (2014). Evidence-Based Guideline for the management of high blood pressure in adults report from the panel members appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC 8). JAMA; 311(5), 507-520.
Joint Nation Committee. (2014). The eighth report of the joint nation committee on prevent,detection,evaluation and treatment of high blood pressure: The JCN 8 report. Journal of the American Medical Association. 289.
Khresheh, R. & Mohammed, N. (2016). Self-care behaviors among women with hypertension in Saudi Arabia. IOSR Journal of Nursing and Health Science; 5(3), 52-56.
Maklamdum P. (2015). The effect of health promotion on self-care behaviors for the elderly patients with hypertension. Phranakhon Rajabhat Research Journal; 10(1), 20-39. (in Thai)
Orem, D. E. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th Ed). Saint Louis: Mosby.
World Health Organization. (2015). World Health Statistics 2015. Retrieved from http://www.who.int/gho/publications/world health statistics/2016/Annex B/en/.
Yang, S. O., Jeong, G. H., Kim, S. J. & Lee, S. H. (2014). Correlates of self-care behaviors among low-income elderly women with hypertension in south Korea. JOGNN; 43, 97-106.

Translated Thai Referance
Thatseng B., Lasuka D., & Khampolsiri T. (2012). Effects of a self-management supporting program on self- management behaviors and blood pressure among elders with hypertension. Nursing Journal; 39(4), 124-137. (in Thai)
Audompittayarat K. (2014). Health Education Program Applying Self-Efficacy Theory to Promote Exercise
Behavior in Essential Hypertensive Patients. Veridian E-Journal; 7(1).
Plaiyod J., Panpakdee O., & Taikerd C. (2012). Effects of a promoting self-care participation program on perceived self-care ability, body weight, and blood pressure control in persons with hypertension.; 8(2), 223-236. (in Thai)
Suksampan P., Limprasutr P., & Othaganont P. (2008). The effect of supportive educative nursing system on self- care behaviors of hypertensive risk group. Journal of Nursing Science Naresuan University;
2 (Supplement), 52-64. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-31

How to Cite

เพชรรัตน์ ค., ปงลังกา ส., & กิติศรี จ. (2018). ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 45(1), 37–49. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136149