ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ, วัยทำงานบทคัดย่อ
ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) เป็นความผิดปกติของการเผาผลาญไลโปโปรตีน (lipoprotein metabolism) ของร่างกาย ส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดเปลี่ยนแปลงไปจนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) และภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด โดยมีกลไกการเกิดที่ใช้เวลานับ 10 ปี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตน อิทธิพลของครอบครัว และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปีที่ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี และมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ อายุ 20 -59 ปี จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ 3) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ 4) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค 5) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตน 6) แบบสอบถามอิทธิพลของครอบครัว และ 7) แบบสอบถามอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคของแบบสอบถามส่วนที่ 2 - 7 เท่ากับ 0.73, 0.98, 0.85, 0.95, 0.70 และ 0.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และอำนาจการทำนายโดยใช้สถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติอยู่ระดับปานกลาง ( x̄ = 3.3, S.D. = 1.1) การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามรถของตน อิทธิพลของครอบครัว และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติได้ ร้อยละ 58.7 (R2 = .587 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นองค์ความรู้ในการออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติต่อไป
References
(2001). Executive Summary of the Third Report of the National Cholesterol Education
Program (NCEP) Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood
Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel lll). The Journal of the American Medical.
Association, 285(19). 2486 – 2496.
Lo, S. W., Chair, S. Y., & Lee, F. K. (2015). Factors associated with health-promoting behavior of
people with or at high risk of metabolic syndrome: Based on the health belief model.
Applied Nursing Research, 28(2), 197–201.
Pender, N., Murdaugh, C., & Parsons, M. A., (2011). Health Promotion in Nursing Practice. (6th
edition). New Jersey: Upper Saddle River.
Translated Thai Referance
Sawaddipharb K. (2011). Factors Affecting Preventive Cardiovascular Behavior Among People Dyslipidemia at at Ubon Ratchathani. Master of Public Health Thesis. Branch Health promotion Faculty of Health Sciences Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani.
Kongprasert J and Apinya T. (2015). Clinical Behavior Modification Manual NCD quality.
(Printed at 1). Nonthaburi: Agricultural Cooperatives of Thailand.
Wongrattana C. (2007). Statistics for research. (Printed at 2). Bangkok. Chulalongkorn University.
Punwet N and Chaiyawun H. (2015). World Heart Day Campaign, 2015. Office
Disease not contact the Department of Disease Control. (No year of publication).
Kornkaw P. (2011). Factors predicting health promoting behaviors of government officials with Dyslipidemia. Journal of Nursing and Health, 5(3), 17 -28.
Popha Y. (2015). Factors related to health behaviors of patients with abnormal blood lipid that can not be Controllable. Journal of Nursing, 16(1), 123 – 130.
The College of Physicians of Thailand. (2002). Guidelines for the maintenance of abnormal levels of lipids Blood. Retrieved on 22 September 2015. From http://maeprikhos.go.th/CPGonline/Dyslipidemia.pdf.
Health Promotion Hospital Health Center 10 Ubon Ratchathani. (2015).
Summary of hospital operations annual. Ubon Ratchathani: Health Promotion Hospital Health Center 10 Ubon Ratchathani.
Kumchata L. (2017). Effects of self-management programs on self-management behaviors.
Waist-level blood sugar And the risk of cardiovascular disease in those who have symptoms.
Taubolik. Nursing, 44(3), 65 – 76.
Akepalakorn W. (Editor). (2557). Thai Health Survey by Physical Examination # 5
2014. (Printed at 1). Nonthaburi: Health Systems Research Institute.
Association of arterial diseases. (2017). Medical treatment for abnormal fats.
Prevent heart disease and stroke in 2016. (Printed at 1). Pathum Thani: A - Plus.
Dangsakool S. (2015). Factors affecting the eating behavior of adolescent syndrome.
Nephrotic. Nursing . 42(2), 62 – 71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว