ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้แต่ง

  • ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิกุล พรพิบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยโรคมะเร็ง, ความพึงพอใจ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

มะเร็งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และเป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิต เป้าหมายหลักของบริการสุขภาพคือการรักษา การช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยาวนานขึ้น และ บรรเทาอาการเจ็บป่วย และควรให้การดูแลแบบประคับประคองในทุกขณะของประสบการณ์กับมะเร็งของผู้ป่วย ไม่เฉพาะในวาระสุดท้ายของชีวิต  การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยมะเร็ง ที่มารับบริการในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมะเร็งแห่งหนึ่งจำนวน 150 ราย แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติ 74 ราย เป็นกลุ่มหลังการใช้แนวปฏิบัติ 76 ราย การศึกษานี้ใช้เวลาในรวม 8 เดือน เครื่องวิจัยสำหรับใช้รวบรวมข้อมูลสร้างโดยผู้วิจัย ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) รายการตรวจสอบการวางแผนการดูแลล่วงหน้า 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดูแลที่ได้รับ และ 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต เครื่องมือทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .90, .97 และ .90 ตามลำดับ และทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือกับผู้ป่วยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 ราย จากนั้นนำหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาร์ค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ .83, .97 และ .84 ตามลำดับ กรอบแนวคิดในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ประยุกต์จากกระบวนการที่เสนอโดยสภาวิจัยด้านการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Council, 1999)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ร้อยละของของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองมีคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสูงกว่าในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติ
  2. ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคอง มีคะแนนความพึงพอใจต่อกิจกรรมการดูแลในระดับมากขึ้นไป สูงกว่าในกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติ
  3. ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองมีคะแนนการรับรู้คุณภาพชีวิตในระดับมากขึ้นไป มากกว่าในกลุ่มกลุ่มก่อนการใช้แนวปฏิบัติ
  4. กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยการใช้แนวปฏิบัติมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.846, p <.05) และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลโดยการใช้แนวปฏิบัติมีคะแนนการรับรู้คุณภาพชีวิตไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = .074, p < .05)
  5. ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันประสิทธิผลความการเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และความสำคัญของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งพยาบาลสามารถนำแนวปฏิบัตินี้สามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองต่อไป

     

References

Dahlin, C. (2015). Palliative care: Delivering comprehensive oncology nursing care. Seminars in Oncology Nursing, 31(4), 327-337.
Fegg, M.J., Wasner, M., Neudert, C. & Borasio, G.D. (2005). Personal values and individual quality of life in palliative patients. Journal of Pain and Symptom Management, 30(2), 154-159.
Finlay, I.G. & Wheatley, V.J. (2008). Ethical issues in palliative care. Medicine, 36(2), 111-113.
Griffith, K.A., McGuire, D.B. & Russo, M. (2010). Meeting survivors’ unmet needs: an integrated framework for survivor and palliative care. Seminars in Oncology Nursing, 26(4), 231-242.
Medves, J., Godfrey, C., Turner, C., Paterson, M., Harrison, M., MacKenzie, L., & Durando, P. (2009). Practice guideline dissemination and implementation strategies for healthcare teams and team-based practice: a systematic review. JBI Library of Systematic Reviews, 7(12), 450-491.
National Health and Medical Research Council [NHMRC]. (1999). A guideline to the development, implementation and evaluation of clinical practice guideline. Retrieved from http://www.nhmrc.gov.au/_files_nhmrc/publications/attachments/nh56.pdf.
National Health and Medical Research Council [NHMRC]. (2000). How to put the evidence into practice: Implementation and dissemination strategies. Retrieved form https://www.nhmrc.gov.au/_files_nhmrc/publications/attachments/cp71.pdf
World Health Organization [WHO].) 2002). WHO definition of palliative care. Retrieved from http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/
World Health Organization [WHO]. ) 2008). Global burden of disease 2004 update. Retrieved from http://www.who.int/healthinfo/global_burden_disease/GBD_report_2004update_full.pdf.
Translated Thai Reference
Nantachaipan, P. & Soiwong, P. (2012). Clinical Nursing Practice Guideline: Palliative Care in Adult Patients. Bangkok: Judthong Company. (in Thai).
National Health Assembly. (2008). Health Act 2008. Retrieved from http://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/ hpp_act_ebook58_08_07_453.pdf. (in Thai).
Strategy and Planning Devision. (2008). (2012). Health Statistics. Retrieved from http://bps.ops.moph/ .go.th/index.php?mod=bps&doc=5. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-30

How to Cite

อัคคะเดชอนันต์ ฐ., & พรพิบูลย์ พ. (2018). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็ง. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 45(3), 69–82. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/149341