ผลของการให้ข้อมูลต่อปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดาวัยรุ่นกับทารกเกิดก่อนกำหนด
คำสำคัญ:
ปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมทารกเกิดก่อนกำหนดมารดาวัยรุ่นการให้ข้อมูล, สื่อสัญญาณขณะ ให้นมบทคัดย่อ
มารดาวัยรุ่นส่วนหนึ่งไม่สามารถตอบสนองสื่อสัญญาณของทารกได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่ทารกเกิดก่อนกำหนดก็มีข้อจำกัดในการแสดงพฤติกรรมสื่อสัญญาณที่ชัดเจน ส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมารดากับทารกการวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดากับทารกเกิดก่อนกำหนด ระหว่างมารดาวัยรุ่นกลุ่มที่ได้รับข้อมูลกับกลุ่มที่ไม่ได้รับข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาอายุ 13-19 ปี และทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 46 คู่ เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 23 คู่ กลุ่มทดลองได้รับข้อมูลรายบุคคลเกี่ยวกับการตอบสนองต่อสื่อสัญญาณของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะให้นม ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ และคู่มือ การฝึกปฏิบัติการให้นมแก่ทารกจากเต้านม และการให้ข้อมูลป้อนกลับ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก แบบสังเกตปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดากับทารกเกิดก่อนกำหนด บันทึกวิดีโอปฏิสัมพันธ์ขณะให้นม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า มารดาวัยรุ่นกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดากับทารกเกิดก่อนกำหนด หลังการทดลองสูงกว่ามารดาวัยรุ่นกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)
จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำการให้ข้อมูลนี้ไปใช้กับมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรเป็นทารกเกิดก่อนกำหนด เพื่อช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ขณะให้นมระหว่างมารดากับทารกเกิดก่อนกำหนดต่อไป
References
Dodrill, P. ( 2011). Feeding difficulties in preterm infants.Infant, Child, & Adolescent Nutrition, 6(3), 325-331.
Gagne, R. M. (1985). The conditions of learning (4thed.). New York: Holt Rinehart & Winston.
Korja, P., Maunu, J., Kirjavainen, J., Savonlahti, E., Haataja, L., Lapinleimu, H., . . . Lehtonen, L. (2008). Mother-infant interaction is influenced by the amount of holding in preterm infants. Early Human Development, 84, 257-267.
Kusanagi,M., Hirose, T., Mikuni, K., & Okamitsu, M. (2011). Effect of early intervention using state modulation and cue reading on mother-infant interactions in preterm infants and their mothers in Japan. Journal of Medical and DentalScienes, 58, 89-96.
Maguire, C. M., Bruil, J., Wit, J. M., & Walther, F. J. (2007). Reading preterm infants' behavioral cues: An intervention study with parents of premature infants born < 32 weeks. Early Human Development, 83, 419–424.
Ricci, S. S., & Kyle, T. (2009). Maternity and pediatric nursing.China: Lippincott.
Summer, G., &Spietz, A. (1994). NCAST caregive/parent-child interaction feeding manual.
Seattle: NCAST Publication, University of Washington, School of Nursing.
Translated Thai Reference
Health Information Cluster Strategy and Planning Division. (2014). Number and percentage of births by birth weight. Bangkok: Ministry of Public Health.
Pengpan, K. (2012). Interaction of teenage mothers with their preterm infants during oral feeding. Thai Journal of Nursing Council, 27(1), 63-77. (in Thai)
Poonsin, C. (2011). Effect of information provision to mother on interaction between mother and
preterm infant during feeding. Nursing Journal, 38(Supplement), 46-63. (in Thai)
Leekuan,T., Watcharasin, C., Phaktoop, M., & Deoisres, W. (2005). The effects of providing
knowledge to primipara adolescent mothers using group process on maternal knowledge
and responses to infant cues. The Journal of Faculty of NusringBurapha University,
13(3), 46-60. (in Thai)
Noppatanakal, N., & Jirapaet, V. (2014). The effect of a maternal roles promotion with computer-
assisted instruction program on newborn care behavior ofprimipara adolescent mothers.
Kuakarun Journal of Nursing, 13(1), 144-160. (in Thai)
Sananpanichkul, P., & Leaungsomnapa, Y.(2015). Adolescent Pregnancy: Maternal Factors Effect on Fetal Outcome. Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 32(2), 147-156. (in Thai)
Khamsao, P. (2003). Effects of providing infant cue information on perceptions and responses of first-child mothers.Master of nursing science thesis pediatric nursing college Chiang Mai University.
Nuwong, P. (2007). Factors affecting pregnancy and childbirth of women under 20 years old in the district health area 2. Sirindhorn college of Public Health Phitsanulok Province.
Nudsuntear, P.(2005). Feeding interactions between adolescent mothers and their term infants, Nursing Journal, 32(3), 47-59. (in Thai)
Sirikunsatian,V., Urharmnuay, M., &Klunklin, P. (2013). Pattern of stress responses among preterm infants while receiving daily nursing care, Nursing Journal, 40(1), 127-139. (in Thai)
Lerthamatewe, W. (2015). Nursing care for newborns: Nursing care for preterm infants. in Mooksiksukhon, S., Lerthamatewe, W., Pervej, A., Sangperm, P., & Pasakruang. S. (Editors), Nursing Textbook for Children Volume 1 (pages 336-360). Bangkok: Pre-one.
Statistics of delivery room services, Sukhothai Hospital. (2016). Statistical yearly service report:
Statistics for labor services Sukhothai Hospital.
Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. (2015). Adolescent Pregnancy: Policy, implementation guidelines and evaluation. Nonthaburi: Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Khowtrakul, S. (2009). Educational Psychology (8th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
Srisomboon, A ., Serisathien, Y.,Yusamran, C., & Phahuwatanakorn, W. (2011). The effect of amaternal role promoting program on maternal role attainment in adolescent mothers with unplanned pregnancies. Journal of Nursing Science, 29, 74-81. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว