ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยนต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย

ผู้แต่ง

  • กัลยาลักษณ์ ไชยศิริ นิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประนอม รอดคำดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุรศักดิ์ ตรีนัย Assistant Professor, Faculty of Nursing, Chulalongkorn University

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, พฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิด, โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน, การพยาบาลแบบปกติ

บทคัดย่อ

ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมการตอบสนอง เนื่องจากระบบประสาทที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ และการขาดการกระตุ้นการสัมผัสจากมารดาที่ต่อเนื่อง การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกันวัดแบบอนุกรมเวลา เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมการตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในมารดาครรภ์แรก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับ การสัมผัสแบบอ่อนโยนและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่เกิดจากมารดาครรภ์แรกที่ได้รับการรักษาในแผนกทารกแรกเกิดมีปัญหา โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพลังอำนาจของมารดา และแบบประเมินพฤติกรรมการตอบสนองทารก ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-Way Repeated Measure ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า

1. พฤติกรรมการหลับตื่นของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Quit sleep, Drowsy, Awake alert, Active awake และ Crying แต่ไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Active sleep อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

2.  พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Behavioral distress cues, No movement และ Smiles แต่ไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Motor Activity อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

Apichutboonchock, S. (2013). Parents Participation on Their Preterm Development Support in Neonatal Intensive Care Unit. Vajira Medical Journal, 57(1), 65-72.
Ardura, J., Andrés, J., Aldana, J., & Revilla, M. A. (1995). Development of sleep–wakefulness rhythm in premature babies. Acta Pædiatrica, 84(5), 484-489.
Brazelton, T.B. (2013). Understanding the Baby's Language[Online]. Available from: http://www.brazelton institute.com/intro.html[2016,Mar 10]
Burns, N., and Grove, S. K. (2009).The Practice of Nursing Research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence,Six edition. St. Louis, Missouri: Saunders.
Hinsil, J. (2006). Maternal participation in caring for high-risk neonates. Master’s Thesis, Pediatric Nursing, Graduate School, Chiang Mai University.
Garcia, A., P. & White-Traut, R., C. (1993). “Preterm infants’ responses to taste/smell and tactile stimulation during an apneic episode”. Journal of Pediatric Nursing, 8, 245- 252.
Gardner, F., & Shaw, D. S. (2009). Behavioral Problems of Infancy and Preschool Children (0–5) Rutter's Child and Adolescent Psychiatry (pp. 882-893): Blackwell Publishing Ltd.
Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201-1210. doi: 10.1046/j.1365-2648.1995.21061201.x
Harrison, L. L. (2004). Touch And Massage In Early Child Development: USA.
Harrison, L. L., Leeper, J. D., & Yoon, M. (1990). Effects of early parent touch on preterm infants’ heart rates and arterial oxygen saturation levels. Journal of Advanced Nursing, 15(8), 877-885. doi: 10.1111/j.1365-2648.1990.tb01942.x
Im, H., Kim, E., & Cain, K. C. (2015).Acute effects of Yokson and Gentle Human Touch on the behavioral state of preterm infants. jounals Permissions.nav, 13(3), 212-226.
Jones, N. A., & Mize, K. D. (2007). Low-Cost Approaches to Promote Physical and Mental Health: Johnson & Johnson Pediatric Institute, L.L.C.
Kansiri, S. (2550). Develop a clinical nursing practice guideline (CNPG) for Empowerment Model for Mother of Premature-Infant. Master of Nursing Science in Community Nurse Practitioner, Faculty of Nursing, Thammasat University.
March of Dimes. (2003). Infant Behavior, Reflexes and Cues[Online]. Available from:https://www.marchofdimes.org/nursing/modnemedia/othermedia/infantBehavior.pdf
Modrcin-McCarthy, M. (1992). The physiological and behavioral effects of a gentle human touch nursing intervention on preterm infants (Order No. 9319218). Available from ProQuest Dissertations & Theses Global; ProQuest Nursing &Allied Health Source. (304027307). Retrieved from http://search.proquest.com/docview/304027307?accountid=15637
Modrcin-Talbott, M. A., Harrison, L. L., Groer, M. W., & Younger, M. S. (2003). The Biobehavioral Effects of Gentle Human Touch on Preterm Infants. Nursing Science Quarterly, 16(1), 60-67.
Paehsakun, C., & Thanattheerakul, C. (2010). Maternal Participation in Caring for High-Risk Neonate. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima, 16(1), 39-49.
Pakanta, I. (2007). Sleep Problems and Interventions. Journal of Nursing Science Naresuan University. 1(2), 31-38.
Teerarungsikul, N. (2003). Nursing care for premature infants. Bangkok: P. Press Co.,LTD.
Schenk, L. K., Kelley, J. H., & Schenk, M. P. (2005). Family matters. Models of maternal-infant attachment: a role for nurses. Pediatric Nursing, 31(6), 514-517 514p.
Smith, J. R. (2012). Comforting Touch in the Very Preterm Hospitalized Infant: An Integrative Review. Advances in Neonatal Care, 12(6), 349-365.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-25

How to Cite

ไชยศิริ ก., รอดคำดี ป., & ตรีนัย ส. (2018). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยนต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 45(4), 1–13. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162508