สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มแรงงานเซรามิก: การวิเคราะห์ในวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ ทรงคำ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธานี แก้วธรรมานุกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

บทบาทของพยาบาล, การดำเนินงานอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

แรงงานนอกระบบเซรามิกที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มแรงงานเซรามิกในวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานเซรามิกในวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการขนาดเล็ก อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวน 341 ราย รวบรวบข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบสอบถามในประเด็นเกี่ยวกับปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน ภาวะสุขภาพทั่วไป ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน พฤติกรรมการทำงาน และพฤติกรรมสุขภาพของแรงงาน โดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.99 และมีค่าความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้ คือ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ สัมผัสฝุ่นดิน  (ร้อยละ 95) ทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 85.9-91.5) และที่ทำงานอากาศร้อนอบอ้าว          (ร้อยละ 65.4) ในด้านภาวะสุขภาพทั่วไป กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 74.2) กลุ่มตัวอย่างระบุความเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการสัมผัสปัจจัยคุกคาม

สุขภาพในการทำงานในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ร้อยละ 84.8) เหนื่อยอ่อนเพลีย กระหายน้ำ (ร้อยละ 40.5) และระคายเคืองตา แสบตา (ร้อยละ 33.4) สำหรับพฤติกรรมการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มากกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติทุกครั้งทั้งด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและการปฏิบัติตามหลักการทำงานที่ปลอดภัย ส่วนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างระบุว่ามีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ร้อยละ 37) สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ (ร้อยละ 10.3 และ 4.7 ตามลำดับ)

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าบุคลากรสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกลุ่มแรงงานเซรามิกในวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานหลายประการ โดยควรมีทั้งมาตรการในการลดความเสี่ยงและส่งเสริมให้คนทำงานมีสุขภาวะที่ดีและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

References

Bender, J., Hadley, G. J., Hellerstein, P., & Hohman, M. C. (2011). Glass, Ceramics and Related
Materials. In T. Parish (Ed.), Encyclopedia of occupational health and safety (4th ed). Geneva:
International Labour Office. Retrieved March 16, 2017, from http://www.ilo.org/oshenc/part-
xiii/glass-pottery-and-related-materials/item/925-glass-ceramics-and-related-materials
Bureau of Occupational and Environmental Diseases. (2017). Retrieved December 6, 2017, from
http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/situyear58/4_3_situlation56_03.pdf
Ceramic Development Center. (2016). Situation of ceramic industry in Thailand.
Retrieved December 1, 2016, from http://ceramiccenter.dip.go.th/ LinkClick.aspx?fileticket=CoPYh6B%2bn0c%3d&tabid=36
Chanprasit, C., Kaewthammanukul, T., Songkham, W., & Chareansub, Y. (2010). Health hazards
identification, health status, work-related injury and illness: situational analysis in small and medium sized enterprises. Journal of Nursing, 37(1), 1-14.
Checkoway, H., Pearce, N., & Kriebel, D. (2004). Research Methods in Occupational Epidemiology. New
York, NY: Oxford University Press.
Department of Industrial Works. (2015). Ceramic manufacturing data. Retrieved April
6, 2016, from http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=data1search
Dreyer, R. P., van Zitteren, M., Beltrame, J. F., Fitridge, R., Denollet, J., Vriens, P. W., … Smolderen,
K. G. (2015). Gender differences in health status and adverse outcomes among patients with peripheral arterial disease. Journal of the American Heart Association: Cardiovascular and Cerebrovascular Disease, 4(1), e000863. http://doi.org/10.1161/JAHA.114.000863.
Intranon, K. (2016). Ergonomics (3rd ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Jirarattanaphochai, K., Jung, S., Sumnanont, C., & Saengnipanthkul, S. (2005). Reliability of
the medical outcomes study short-form survey version 2.0 (Thai version) for
the evaluation of low back pain patients. J Med Assoc Thai, 88(10), 135-1361.
Kongtip, P. (2012). Industrial hygiene (3rd ed.). Bangkok: Best Graphic Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610
Laraqui, C. H., Canbet, A., Laraqui, A., Rahhali, J. P., Curted, C. & Verger, C. (2000). Health
risks study in a pottery environment in Morocco. Sante, 10(4), 249-254.

Levy, B. S., Wegman, D. H., Baron, S. L., & Sokas, R. K. (2011). Occupational and
environmental health: Recognizing and preventing disease and injury (6th ed.).
New York: Oxford University Press.
Melzer, A. C. S. & Iguti, A. M. (2010). Working conditions and musculoskeletal pain among
Brazilian pottery workers. Cad. Saude Publica, Rio de Janeiro, 26(3), 492-502.
Regitz-Zagrosek, V. (2012). Sex and gender differences in health: Science & Society Series on Sex and
Science. EMBO Reports, 13(7), 596–603. http://doi.org/10.1038/embor.2012.87
Sethi, J., Sandhu, J. S., & Imbanathan, V. (2011). Effect of Body Mass Index on work
related musculoskeletal discomfort and occupational stress of computer workers in a developed ergonomic setup. Retrieved March 19, 2012, from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3205015/
Silverstein, B. & Evanoff, B. 2006. Musculoskeletal disorders. In Levy BS, Wegman DH, Baron SL
& Sokas RK., eds. Occupational and environmental health: Recognizing and preventing disease and injury (5th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. pp. 488-516.
Sinpiang, R. (2014). Health status related to risk at work among ceramic workers, Ko Kha District,
Lampang Province. Chiang Mai: Chiang Mai University.
Songkham, W., Chanprasit, C., & Kaewthammanukul, T. (2014). Occupational hazards and health
status among pottery workers in Chiang Mai province. Journal of Safety and Health, 7(26), 6-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-25

How to Cite

ทรงคำ ว., จันทร์ประสิทธิ์ ช., จงรุ่งโรจน์สกุล ว., & แก้วธรรมานุกูล ธ. (2018). สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มแรงงานเซรามิก: การวิเคราะห์ในวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการขนาดเล็ก. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 45(4), 97–110. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162625