ผลของโปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อย

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ ก้านศรี อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • รังสิมันต์ สุนทรไชยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นภัทร เตี๋ยอนุกูล อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ภัทรวดี ศรีนวล อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • นภัสสร ยอดทองดี อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • เกรียงศักดิ์ ยศพิมพ์ หัวหน้าหน่วยงาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

การฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น, ความสามารถในการจำ, ผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อย

บทคัดย่อ

การฝึกความจำอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อยมีความสามารถในการจำดีขึ้น และชะลอความเสื่อมของสมองได้ การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อย มีค่าคะแนนความจำคะแนนระหว่าง 14-21 คะแนน สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย และไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคประจำตัวที่อยู่ในภาวะควบคุมไม่ได้ จำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ อย่างต่อเนื่องกัน 5 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และแบบประเมินสมรรถภาพทางสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test)

            ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อยกลุ่มทดลอง หลังจากได้รับโปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นสูงกว่าก่อนทดลอง และผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อยกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยที่สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            โปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อยได้ จึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการส่งเสริมความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อยในชุมชนต่อไป

References

ปัญญเดช พันธ์วัฒน์, สมศักดิ์ ลิลา และสมโภชน์ อเนกสุข. (2560). กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมด้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัย มสด สาขาสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์, 13(1), 149-170.
พัชญ์พิไล ไชยวงศ์. (2558). ผลของโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจต่อความสามารถด้านความคิด ความ
เข้าใจและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่สงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัชนี ศรีเจียงคำ. (2557). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมฝึกความจำในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
ระยะแรกในคลินิกความจำโรงพยาบาลลำปาง (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรพรรณ แอบไธสง. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการฝึกความจำในผู้สูงอายุสมองเสื่อม
(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช).
บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
Alzheimer’s Disease International. (2015). World Alzheimer Report 2015: The global impact
of dementia: An analysis of prevalence, incidence, cost and trends. London:
Alzheimer’s Disease International.
Atkinson, R. C, &Shiffin, R. M. (1997). Psychology: Principles and application (2nd ed).
New Jersey: Prentice Hall
Fahimi, A., & et al. (2017). Physical exercise induces structural alterations in the hippocampal
astrocytes: Exploring the role of BDNF-TrkB signaling. Brain Structure and Function,
222(4), 1797-1808. doi:10.1007/s00429-016-1308-8
Gao, Y., & et al. (2013). Retracted: Depression as a risk factor for dementia and mild
cognitive impairment: A meta-analysis of longitudinal studies. The American
Journal of Geriatric Psychiatry, 28(5), 441–449.
Gerhard, W. E., Thomas, L., Stefan, K. l., & Michael, H. (2010). New developments in
the diagnosis of dementia. Deutsches Arzteblatt International, 107(39), 677–683.
Greenway, M. C., Duncan, N. L., Smith, G.E. (2013). The memory support system for
mild cognitive impairment: Randomized trial of a cognitive rehabilitation
intervention. International journal of geriatric psychiatry, 28(4), 402–409.
Kleinman. (1980). Patients and Healers in the Context of Culture: An Exploration of the
Borderland between Anthropology Medicine and Psychiatry, Berkley. London:
University of California Press.
Kontaxopoulou, D., & et al. (2016). Incidental and intentional memory performance in
depression and amnestic mild cognitive impairment. Frontiers in Human
Neuroscience. Retried from http://www. frontiersin.org/ 10.3389/conf.fnhum. 2016.220.00119/event_abstract
Langa, K. M., & Levine, D. A. (2014).The diagnosis and management of mild cognitive
impairment: A clinical review. JAMA, 312(23), 551–2561. doi: 10.1001/ jama. 2014.13806.
Petersen, R. C. Caracciolo, B., Brayne, C., Gauthier, S., Jelic, V., & Fratiglion, L. (2014).
Mild cognitive impairment: A concept in evolution. International
Medication, 275(3), 214–228. doi:10.1111/joim.1219
Reijnders, J., Heugten, C. V., & Boxtel, M. V. (2013). Cognitive interventions in healthy
older adults and people with mild cognitive impairment: A systematic review. Ageing
Research Reviews,12(1), 263-75. doi: 10.1016/j.arr.2012.07.003.
Teng, E., Tassniyom, K., & Lu, P. H. (2012). Reduced quality of life ratings in mild cognitive
impairment: Analyses of subject and informant responses. American Journal
Geriatric Psychiatry, 20(12), 1016–1025.
Tsolaki, M., koudaki, T., Tsolaki, A., Verykouki, E., & Pattakou, P. (2014). Prevalence of
mild cognitive impairment in Individuals aged over 65 in a Rural Area in North
Greece. Advances in Alzheimer’s Disease, 3, 11-19.
doi: org/10.4236/aad.2014.31002
Woods, B., Aguirre, E., Spector, A.E., & Orrell, M. (2012). Cognitive stimulation to improve
cognitive functioning in people with dementia. Retried from
http://www.The cochranelibrary.com/details/file/.../CD005562.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29

How to Cite

ก้านศรี จ., สุนทรไชยา ร., เตี๋ยอนุกูล น., ศรีนวล ภ., ยอดทองดี น., & ยศพิมพ์ เ. (2017). ผลของโปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 44(พิเศษ(2), 12–21. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/169003