การดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาลศูนย์

ผู้แต่ง

  • มุจรินทร์ แจ่มแสงทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระปกเกล้า
  • วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อะเคื้อ อุณหเลขกะ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การป้องกันการติดเชื้อ, แบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน, การแพร่กระจายเชื้อ, โรงพยาบาลศูนย์

บทคัดย่อ

การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเข้มแข็ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการ อุปสรรคและสิ่งสนับสนุนการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาลศูนย์ ประชากรที่ศึกษาคือหัวหน้าพยาบาลควบคุมการติดเชื้อจำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.97 รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 โดยการส่งแบบสอบถามให้ประชากรที่ศึกษาทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 96.4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

        ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมโรงพยาบาลศูนย์มีการดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานร้อยละ 82.1 ของกิจกรรมทั้งหมด กิจกรรมที่โรงพยาบาลทุกแห่งดำเนินการได้ คือ การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อและการเก็บสิ่งส่งตรวจร้อยละ 100 รองลงมา คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมร้อยละ 95.4 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อร้อยละ 88.6 การให้ความรู้บุคลากร ผู้ป่วยและญาติร้อยละ 88  และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมร้อยละ 84.9 กิจกรรมที่โรงพยาบาลศูนย์ดำเนินการได้น้อยกว่าร้อยละ 80 คือ การกำหนดนโยบาย และแผนงานป้องกันการแพร่กระจายเชื้อร้อยละ77.4 การจัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยร้อยละ 74.1 ระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาร้อยละ 72.7 และการสื่อสารข้อมูลเชื้อดื้อยา ร้อยละ 64.2 ตามลำดับ

          ความคิดเห็นที่มีต่ออุปสรรคในการดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานที่พบในระดับมากที่สุด คือ บุคลากรในหอผู้ป่วยไม่เพียงพอ สถานที่แยกผู้ป่วยไม่เพียงพอ และและแพทย์โรคติดเชื้อไม่เพียงพอ ร้อยละ 63.0 ร้อยละ 55.6 และ 33.3 ตามลำดับ ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาลศูนย์ที่พบ

ในระดับมากที่สุด คือ งบประมาณการรณรงค์ทำความสะอาดมือ ผู้บริหารได้กำหนดนโยบายการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน และแผนงานป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน ร้อยละ 29.6 29.6 และ25.9 ตามลำดับ

          ผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าโรงพยาบาลศูนย์ควรหากลวิธีในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานในกิจกรรมที่ยังดำเนินการได้น้อย รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานเพื่อให้สามารถดำเนินการได้

References

Apiranich, S., Muntajit, T., Malathum, K. (2009). Prevention and infection control in health care facilities. Ramathibody Nursing Journal. (In Thai)

Apisarnthanarak, A., Danchaivijitr, S., Khawcharoenporn, Thana L., Julajak W., Boonyasit
B., Thomas C. F. (2006). Effectiveness of education and an antibiotic-control program in a tertiary care hospital in Thailand. Clinical Infectious Diseases, 42(6): 768-775.

Apisarnthanarak, A., Khawcharoenporn, T., & Mundy, L. M., (2013). Practices to prevent
multidrug-resistant Acinetobacter baumannii and Methicillin-resistant Staphylococcus
aureus in Thailand: a national survey. American Journal of Infection Control 41(5),
416-421. http://dx.doi.org/10.1016/j.ajic.2012.05.011

Bickenbach, J., Schoneis, D., Marx, G., Marx, N., Lemmen S.,&Dreher M., (2018).Impact of multidrug-resistant bacteria on outcome in patients with prolonged weaning. BMC Pulmonary Medicine 18(1): 141. https://doi.org/10.1186/s12890-018-0708-3

Borg ,M.A.,Cookson ,B.D., Gur, D., Ben Redjeb,S., Rasslan ,O.,Elnassar ,Z., et al. (2008). Infection control and antibiotic stewardship practices reported by south-eastern Mediterranean hospitals collaborating in the ARMed project. Journal of Hospital Infection. 70 : 228-234. https://doi:10.1016/j.jhin.2008.07.002

Cornejo-Juarez, P., Vilar-c0mple, D., Perez-Jimenez, C., Namendys-Silva, S. A., Sandoval-Hernandez, S., Volkow-Fernandez, P. (2015).The impact of hospital-acquired infections with multidrug-resistant bacteria in an oncology intensive care unit. International Journal of Infectious Diseases 31, 31-34. http://dx doi: 10.1016/j.ijid.2014.12.022

Gordts, B., Vrijens, F., Hulstaert, F., Devriese, S., &Sande, S. (2010). The 2007 Belgian national prevalence survey for hospital-acquired infections. Journal of Hospital Infection, 75, 163–167. http://dx doi:10.1016/j.jhin.2010.01.006

Pungkum, W. (2007). Training management for infection control nurses. Journal of the Infectious Disease Control of Thailand. 17(1), 49-60. (In Thai)

Peterson, A., Marquez, P., Terashita, D., Burwell, L., & Mascola, L. (2010). Methicillin
Resistant Staphylococcus aureus active surveillance practices in Los Angeles County:
Implications of legislation based infection control, 2008. American of Journal Infection
Control, 38(8), 653-656. doi:10.1016/j.ajic.2010.01.007

Roungrong, J., Teerawattananon, Y., Chaykhetkaew, U., Tantiwet, S. (2009). Study of
intervention and statrategies to improve in use of antimicrobials in hospital in Thailand.
Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP), Health Insurance
System Reserch Office. Retrieved from http://hdl.handle.net/123456789/285 (In Thai)

Rohr, U., Kaminski, A., Wilhelm, M., Jurzik, L., Gatermann, S., & Muhr, G. (2009). Colonization of patients and contamination of the patients and environment by MRSA under conditions of single-room isolation. International Journal of Hygiene and Environmental Health, 212(2), 209-215. doi:10.1016/j.ijheh.2008.05.003

Siegel, J. D., Rhinehart, E., Jackson, M., & Chiarello, L. (2007). Management of multidrug-resistant organisms in health care settings, 2006. American Journal of Infection Control, 35(10 Suppl. 2), S165-S193. doi:10.1016/j.ajic.2007.10.006

Thumalikitkul, W. (2012). Antimicobial resistant: Importance to health systems and control methods. Health Systems research Institute, 6(3), 300-305. (In Thai)

Thumalikitkul, W. (2014). Antimicrobial drugs resistance and infection prevention control of
infectious diseases antibiotic resistance.Siriraj Med Bull.2014;7(1): 26-29. (In Thai)

Unalekhaka, A. (2011). Surveillance And outbreak investigate of hospital associated infections. Changmai: mingmuangnawarat Publishing. (In Thai)

Unalekhaka, A. (2014). Prevention of Multidrug Resistant organsms transmission in hospital Changmai: mingmuangnawarat Publishing. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24

How to Cite

แจ่มแสงทอง ม., เลิศวัฒนวิลาศ ว., & อุณหเลขกะ อ. (2019). การดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 46(2), 83–94. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197121

ฉบับ

บท

บทความวิจัย