การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เรื่อง “บทบาทของพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด”
คำสำคัญ:
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, บทบาทพยาบาล, การวางแผนครอบครัวหลังคลอด, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียเป็นสื่อดิจิตอลที่มีรูปแบบใหม่ทันสมัยน่าสนใจ จัดว่าเป็นสื่อทางเลือกใหม่ในศตวรรษที่ 21 ที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง วัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียเรื่อง “บทบาทของพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด” ที่มีประสิทธิภาพ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 จำนวนทั้งหมด 30 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย เรื่อง “บทบาทพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด” 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนนิกส์มัลติมีเดีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียเรื่อง “บทบาทพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด” มีประสิทธิภาพ 73.54/85.00 โดยกลุ่มตัวอย่างสามารถทำคะแนนเฉลี่ยได้เป็น 73.54 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 85.00 เปอร์เซ็นต์สามารถบรรลุวัตถุประสงค์แต่ละข้อ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 3.657, p.001) และ 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean=4.25) ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย เรื่อง “บทบาทพยาบาลในการวางแผนครอบครัวหลังคลอด” เป็นสื่อดิจิตอลที่มีคุณภาพดีทั้งในด้านเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอสามารถช่วยพัฒนาความรู้และเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้แก่นักศึกษาพยาบาล แต่ควรมีการพัฒาปรับปรุงต่อไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอน การศึกษาด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21
References
ADDIE Model. (2013). ADDIE Model. Retrieved from http://en.wikipedia.org/wiki/ADDIE_Model
Education Reform Office. (1999). National Education Act B.C. 1999. Bangkok: Krurusapra Publication Lardpraw.
Kunnasuta, S., Sriarporn, P., Supavititpatana, B., Indarangkura NaAyutthaya, A., & Chaiwipassatorn, W.(2015). Development of a Multimedia Electronic Book on Preparation for Practice at Special Screening Obstetrics–Gynecology Unit for Nursing Students. Chiang mai: Faculty of Nursing,Chiang Mai University. (In Thai)
Laohajarussang, T. (1996). Computor for Teaching. Bangkok: Wongkrom Production.
Laohajarussang, T. (2011). University Staff and Using Computer in Teaching: Handbook for Chiang Mai University Staff. Chiang mai: Service EducationSection Chiang Mai University.
Malithong, K. (2005). ITC for education. Bangkok: Arund Printing.
MardJarus, T. (2013). Learning Management System: LMS. Bangkok: Tharnarksorn.Panich, V. (2012). The Learning Way for the 21 st Century’s Students. Bangkok: Tathata Publication LTD.
Srisaard, B. (2002). Basic Reseach. Bangkok: Suweriyasarn.
Sornprang, P. (2012). Information Systems. Bangkok: SeEd Youkasion.
Sornprang, R. (2013). New Paradigm in Education Case Perspective for 21th Century Education.Bangkok: Thipwisuth.
Yimyam, S., Chareonsanti, J., & Kannasud, S. (2014). Development of Electronic Multimedia:
Primary Knowledge regarding Maternal Breastfeeding for Nursing Students. Journal of Nursing, 41 (4), 70-82.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว