ผลของการสวมหมวกพลาสติกต่ออุณหภูมิกายของทารกเกิดก่อนกำหนด ขณะใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ

ผู้แต่ง

  • วลัยพรรณ โชตวรพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
  • จุฑามาศ โชติบาง รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มาลี เอื้ออำนวย รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ทารกเกิดก่อนกำหนด, อุณหภูมิ, หมวกพลาสติก, การใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ

บทคัดย่อ

ทารกเกิดก่อนกำหนดทารกสูญเสียความร้อนได้ง่ายโดยเฉพาะช่วงการทำหัตถการต่างๆ วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการสวมหมวกพลาสติกต่ออุณหภูมิกายของทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์ 28-36 สัปดาห์ ขณะใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือจำนวน 20 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 10 คนได้รับการสวมหมวกพลาสติกโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูงและมีขอบยางยืดร่วมกับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มควบคุม 10 คน ได้รับกับการพยาบาลตามปกติ ทารกทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดอุณหภูมิกายด้วยอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ที่ตำแหน่งหลังใบหูก่อน ทุก 5 นาทีขณะทำหัตถการและหลังเสร็จสิ้นหัตถการแล้วบันทึกด้วยแบบบันทึกการทำหัตถการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือและแบบสังเกตลักษณะผิวหนังภายหลังถอดหมวกพลาสติก หลังจากเสร็จสิ้นการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน และสถิติฟิชเชอร์เอกแซคท์ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือทารกเกิดก่อนกำหนดในกลุ่มที่ได้รับการสวมหมวกพลาสติกร่วมกับการพยาบาลตามปกติมีอุณหภูมิกายสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) และมีสัดส่วนการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกเกิดก่อนกำหนดขณะใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ ซึ่งจะช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดจากภาวะอุณหภูมิกายต่ำหรือภาวะเครียดจากความเย็นได้

References

Blackburn, S. T. (2007). Thermoregulation, Maternal, fetal, & neonatal physiology: A clinical perspective. n.p.: Elsevier Health Sciences.

Bredemeyer, S., Reid, S., & Wallace, M. (2005). Thermal management for premature births. Journal of Advanced Nursing, 52 (5), 482-489. doi:10.1111/j.1365-2648.2005.03616

Burns, N., & Grove, S. K. (2005). The Practice of Nursing Research Conduct Critique and Utilization (5 th ed.). Pennsylvania: Elsevier.

Mathew, B., Lakshminrusimha, S., Cominsky, K., Schroder, E., & Carrion, V. (2007). Vinyl bags prevent hypothermia at birth in preterm infants. The Indian Journal of Pediatrics, 74 (3), 249-253.

Nuntnarumit, P. (2015). Measuring and temperature control in neonates. In Pracha Nuntnarumit (Ed.), Application of physiological knowledge to care for newborns (p. 20-49). Bangkok: Holistic.

Rutter, N. (1999). Temperature control and its disorders. In Rennie, J. M., & Roberton, N. R. C.(Eds.), Textbook of Neonatology (pp. 289-294). n.p.: Churchill Livingstone.

Suso, P. (2011). Mechanical properties of plastic tertiary blends high density polyethylene, low density polyethylene and polypropylene (Master’s thesis,Rajamangala University of Technology Thanyaburi).

Swatesutipun, B. (2010). A randomized controlled trial of plastic drape for prevention hypothermia during umbilical catheterization (Master’s thesis, Mahidol University).

Thai Neonatal Society. (2010). Basis newborn care. Bangkok: Pim-luck Printing.

Trevisanuto, D., Doglioni, N., Cavallin, F., Parotto, M., Micaglio, M., & Zanardo, V. (2010). Heat loss prevention in very preterm infants in delivery rooms: A pr ospective, randomized, controlled trial of polyethylene caps. The Journal of Pediatrics, 156(6), 914-917. doi:10.1016/j.jpeds.2009.12.021

Vohra, S., Roberts, R. S., Zhang, B., Janes, M., & Schmidt, B. (2004). Heat Loss Prevention (HeLP)in the delivery room: a randomized controlled trial of polyethy lene occlusive skin wrapping in very preterm infants. The Journal of Pediatrics, 145(6), 750-753. doi:10.1016/j.jpeds.2004.07.036

WHO Newborn CC. (2014). Thermal Protection. Retrieved from www.newbornwhocc.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-25

How to Cite

โชตวรพันธุ์ ว. . ., โชติบาง จ., & เอื้ออำนวย ม. (2020). ผลของการสวมหมวกพลาสติกต่ออุณหภูมิกายของทารกเกิดก่อนกำหนด ขณะใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 47(1), 113–122. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240731