การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ หอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพ, การวางแผนจำหน่าย, ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอบทคัดย่อ
การวางแผนการจำหน่ายเป็นการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนออกจากโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดยใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพพีดีซีเอ (PDCA) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพจำนวน 19 คน ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการผ่าตัดจำนวน 23 คน และผู้ดูแลจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาได้แก่ 1) แนวคำถามในการประชุมกลุ่มทีมสหสาขาวิชาชีพเกี่ยวกับปัญหาในการวางแผนการจำหน่าย 2) แนวคำถามในการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแลเกี่ยวกับความต้องการในการจำหน่าย 3) แนวคำถามเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะของการวางแผนจำหน่าย 4) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ประยุกต์จากแบบสอบถามของ Deawsurintr (1999) 5) แบบสังเกตการปฏิบัติตามการวางแผนการจำหน่ายของทีมสหสาขาวิชาชีพ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล และ 7) แบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อแผนการจำหน่าย ซึ่งผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นและได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตามสูตรคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (KR-20) ของแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของผู้ป่วยและผู้ดูแลเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย
ผลการศึกษาพบว่าทีมสหสาขาวิชาชีพส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามแผนการจำหน่ายผู้ป่วยได้ถูกต้องครบถ้วนมากกว่าร้อยละ 80 ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอและผู้ดูแลส่วนใหญ่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลได้อย่างถูกต้องครบถ้วนมากกว่าร้อยละ 90 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการ
วางแผนจำหน่ายในระดับมากร้อยละ 69.57 และระดับมากที่สุดร้อยละ 30.43 ทีมสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการวางแผนการจำหน่ายในระดับมากร้อยละ 52.94 และมากที่สุดร้อยละ 47.06 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีของการวางแผนการจำหน่ายที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ผู้บริหารควรสนับสนุนให้มีการวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยกลุ่มอื่นต่อไป
References
Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1980). Strategies for enhancing patient compliance. Journal of Community Health, 6 (2),113-135.
Boonmart, N. (2013). The quality improvement of discharge plan for chronic kidney di sease patients and families (Master’s thesis, Khon Kaen University). (In Thai)
Buddhachinaraj hospital, Phitsanulok. (2015). Annual report Eye Ear Nose and Throat Ward 2558. Phitsanulok: Buddhachinaraj hospital. (In Thai)
Deawsurintr, S. (1999). A Model development of discharge planning in head and neck can cerpatient (Master’s Thesis, Prince of Songkla University). (In Thai)
Geurgoolgijagan, N. (1998). Teaching patients in the hospital. Songkhla: Chanmuang Printing.(In Thai)
Haomachai, N. (2014). Development of discharge planning for low birth weight Infants at the infant intensive care unit of Srinagarind Hospital (Independent study, Khon Kaen University). (In Thai)
Khenshotgun, W., Srisanga, S., & Siripornadunsil, S. (2012). Discharge planning model development of patients with head and neck cancer at ENT Unit, Buriram Hospital. Journal of nurse Assosiation of Thailand, North-Eastern Division, 30 (3), 146-153. (In Thai)
Kunsawad, R .(2008). The development of discharge planning model for breast cancer p atients post-modefied radical mastectomy by multidisciplinary team in female surgical ward Khonkaen hospital (Independent study, Khon Kaen University). (In Thai)
Pichitponchai, W., & Udsadonwiset, U. (2002). Discharge planning concept and application. Bangkok: Faculty of Nursing, Mahidol University. (In Thai)
Promchan, P. (2009). The development of discharge planning model for intracerebral hemorrhage patient undergone surgery by multidisciplinary team , neuro surgical department, Udonthani Hospital (Independent study, Khon Kaen University). (In Thai)
Sawaengdee, K., Sathira-angkura, T., & Sirinakorn, R. (1996). Discharge planning. Bangkok: Printing Thammasat University. (In Thai)
Sirmala, S., Yenbut, J., & Urharmnuay, M. (2013). Discharge planning practices for preterm infants in neonatal intensive care unite, one of tertiary hospital, nor thern region. Nursing Journal Volume, 3(40), 21-29. (In Thai)
Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. (2017). Statistical Thailand 2017. Nontaburi: Stragtegy and Planning Division, Ministry of Public Health. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว