ต้นทุนฐานกิจกรรมของการบริการในศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • วรัตภรณ์ ชำรัมย์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กุลวดี อภิชาตบุตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ต้นทุนฐานกิจกรรม, การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน, การบริการในศูนย์หัวใจ

บทคัดย่อ

          ต้นทุนฐานกิจกรรมของการบริการเป็นข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดราคา
ค่าบริการที่เหมาะสม การศึกษาเชิงพรรณนานี้เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมของการบริการ เปรียบเทียบต้นทุนของการบริการตรวจหัวใจด้วยเครื่องมือพิเศษแบบภายนอก กับอัตราค่าบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการบริการในศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลลำพูน โดยใช้กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมของ แคปแพลน และ คูเปอร์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) จัดทำพจนานุกรมกิจกรรม 2) กำหนดตัวผลักดันต้นทุนของแต่ละกิจกรรม 3) ระบุผลผลิต บริการและผู้รับบริการขององค์กร 4) เลือกตัวผลักต้นทุนที่เชื่อมโยงต้นทุนกิจกรรมกับผลผลิต บริการและผู้รับบริการขององค์กร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ให้บริการในศูนย์หัวใจ จำนวน 5 คน และข้อมูลกิจกรรมการบริการในศูนย์หัวใจ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ พจนานุกรมกิจกรรมการบริการ แบบบันทึกเวลา และแบบบันทึกต้นทุน โดยเครื่องมือได้ตรวจสอบความเป็นปรนัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ความเที่ยงของการสังเกตของผู้สังเกต 2 คน มีค่าเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
           ผลการศึกษาพบว่า
           1. ต้นทุนฐานกิจกรรมของการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางทรวงอก เท่ากับ 862.48 บาท การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังเดินวิ่งสายพาน เท่ากับ 4,101.10 บาท การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาแบบติดตัว 24 ชั่วโมง เท่ากับ 704.23 บาท การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาแบบติดตัว 48 ชั่วโมง เท่ากับ 718.73 บาท
          2. ต้นทุนฐานกิจกรรมของการตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังเดินวิ่งสายพาน มีค่าสูงกว่าอัตราค่าบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ส่วนกิจกรรมการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางทรวงอก การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาแบบติดตัว 24 และ 48 ชั่วโมง มีต้นทุนต่ำกว่าอัตราค่าบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
          3. จุดคุ้มทุนของการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางทรวงอก เท่ากับ 1,071 ครั้งต่อปี การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังเดินวิ่งสายพาน เท่ากับ 230 ครั้งต่อปี การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาแบบติดตัว 24 ชั่วโมง เท่ากับ 64 ครั้งต่อปี และการตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาแบบติดตัว 48 ชั่วโมง เท่ากับ 65 ครั้งต่อปี
          ผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนำข้อมูลต้นทุนฐานกิจกรรมไปใช้ในการวางแผนและจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งจุดคุ้มทุนเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผน การจัดบริการให้คุ้มค่าโดยยังคงคุณภาพของบริการในศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลลำพูน

Author Biographies

ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ , คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

กุลวดี อภิชาตบุตร, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

References

Apisitpinyo, B. (2015). Cost accounting 2. S. Asiapress.

Cardiac Center, Lamphun Hospital. (2022). Annual statistics Cardiac Center, Lamphun Hospital. Lamphun Hospital. (in Thai)

Finance Work, Lamphun Hospital. (2022). Finance report. Lamphun Hospital. (in Thai)

Kaplan, R. S., & Cooper, R. (1998). Cost and effect: Using integrated cost systems to drive profitability and performance. Harvard Business School.

Lamphun Hospital. (2021). Strategic plan of Lamphun hospital 5 years (2018-2022) fiscal year 2021. Lamphun Hospital. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2018). 20-Year national strategic plan for public health (2017-2036). Strategy and Planning Division Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health.

Ministry of Public Health. (2019). Rates of public health service fees of service units under the Ministry of Public Health for Thai people, 2019. Ministry of Public Health. (in Thai)

Parcal Work, Lamphun Hospital. (2022). Equipment cost. Lamphun Hospital. (in Thai)

Rijiravanich, W. (2009). Working studies, principles and case studies (7th ed.). Chulalongkorn University. (in Thai)

Ruangjan, R., Singchungchai, P., & Chatdokmaiprai, K. (2022). Cost analysis of nursing activities for outpatient department lithotripsy patients at a tertiary hospital. Journal of Nursing and Health Sciences, 16(3), 134-146.

Sornsrikert, P. (2011). Cost-benefit analysis of a heart disease clinic, medical service center, Chiang Mai Province [Unpublished master’s thesis]. Chiang Mai University.

Structural Work, Lamphun Hospital. (2022). Utility cost. Lamphun Hospital. (in Thai)

Sumiati, S., Witcahyo, E., & Ramani, A. (2019). Unit cost analysis with method of Activity Based Costing (ABC) in the heart polyclinic general hospital of Dr. H. Koesnadi Bondowoso. Journal Ekonomi Kesehatan Indonesia, 4(2), 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

ชำรัมย์ ว., อัคคะเดชอนันต์ ฐ. ., & อภิชาตบุตร ก. . (2023). ต้นทุนฐานกิจกรรมของการบริการในศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลลำพูน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 50(4), 226–238. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/262759