การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมดแบบผ่าตัดเปิดทางหน้าท้องและผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมดลูก, การผ่าตัดแบบแผลผ่าตัดเปิดทางหน้าท้อง, การผ่าตัดผ่านกล้องแบบแผลเล็กบทคัดย่อ
การผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมดเป็นการผ่าตัดที่พบบ่อยที่สุดในโรคทางนรีเวช ปัจจุบันการผ่าตัดสามารถทำได้หลายวิธีและมีผลดีผลเสียแตกต่างกัน วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาและกิจกรรมการพยาบาลในผู้ป่วยเนื้องอกมดลูก 2 ราย ซึ่งเข้ารับการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมดด้วยวิธีผ่าตัดเปิดทางหน้าท้องและผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก แบบบันทึกทางห้องผ่าตัด การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ผลการศึกษาพบว่า
- ระยะก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยทั้งสองรายมีความวิตกกังวลต่อการผ่าตัดเหมือนกันถึงแม้ว่าชนิดของการผ่าตัดจะแตกต่างกัน ส่วนปัญหาที่แตกต่าง คือ ผู้ป่วยรายที่ 1 มีภาวะซีดเดิมตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจำเป็นต้องได้รับเลือดก่อนผ่าตัด
- ระยะผ่าตัด ผู้ป่วยทั้ง 2 รายมีปัญหาและความต้องการเหมือนกัน คือ 1) เสี่ยงต่อภาวะอุณหภูมิกายต่ำขณะผ่าตัด 2) เสี่ยงต่อการติดเชื้อระหว่างการผ่าตัด 3) เสี่ยงต่ออันตรายจากการสูญเสียเลือด แต่พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยเปิดหน้าท้องมีปริมานการสูญเสียเลือดมากกว่าผู้ป่วยที่ผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก เนื่องจากมีขนาดแผลใหญ่โอกาสสูญเสียเลือดสูงกว่า ปัญหาที่แตกต่าง คือ 1) ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในช่องท้องจนต้องได้รับการรักษาโดยให้อโทรปีน 0.6 มิลลิกรัม และ 2) ผู้ป่วยผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กเสี่ยงต่อการเกิดเส้นประสาทรับบาดเจ็บจากการนอนท่าขึ้นขาหยั่งเป็นเวลานาน
- ระยะหลังผ่าตัด พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองรายมีปัญหาและความต้องการคือ 1) ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผล โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยเปิดหน้าท้องมีระดับความปวดมากกว่าผู้ป่วยผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กเนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่ทำให้เนื้อเยื่อได้รับการบาดเจ็บมากกว่า แต่ผู้ป่วยผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กมีอาการไม่สุขสบายจากการปวดร้าวไหล่ร่วมด้วยอันเป็นผลมาจากการใส่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในช่องท้อง 2) ผู้ป่วยขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวภายหลังผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่บ้านและพบว่าการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดโดยวิธีผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงงานบริการห้องผ่าตัดเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
References
Jinda Aurairat. (2013). Gynecological Nursing. (3rd edition). Bangkok: Boonsiri Printing.
Yada Tangthanathikul. (2016). Total Hysterectomy with Bilateral Salpingo-Oophorectomy. (3rd edition). Bangkok: Beyond Enterprise.
Daranee Pipatanakulchai. (2016). Assessment of patients at the time of admission and discharge from the recovery room. (4th edition) Bangkok: A.P. Living.
Nanthana Thananowan. (2013). Textbook of Gynecological Nursing. (2nd printing). Bangkok: We Print.
Prasert Triwijitsilp. (2016). Tumors and cervical cancer. (3rd printing). Bangkok: OS Printing Hous
Panya Sananpanichkul. (2012). Article on rehabilitation of uterine fibroids. Journal of Clinical Medicine Education Center Phrapokklao Hospital, the 29th year; Issue 4 May-Dec. 2012.:312-40. [online journal]. 2012, from http://ppkhosp.go.th/ppkjournal/CountHtml.asp?sysid=685&Htmlfile [retrieved 12 February 2013]
Pattama Phromsonthi and Saowakon Ajjimakorn. (2015). Preoperative assessment and postoperative care. (3rd printing). Bangkok: Beyond Enterprise
Saengchai Pruitthiphan. Surgical removal of the uterus with abnormal pathology with an abdominal box. [Online article] 2009, from http://www.vichaiyut.co.th/html/jul/article/p01.asp[Retrieved February 10, 2013].
Sriwiangkaew Tengkiattrakul and Benjamaporn Butsriphum. (2016). Perioperative Nursing. (2nd edition). Bangkok: Offset Plus Company.
Sriwiangkaew Tengkiattrakul. (2016). Nursing in the operating room. (2nd edition). Bangkok: Offset Plus Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว