ผลการใช้รูปแบบหนังสือภาพประกอบสร้างสรรค์ 3 มิติ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านภาษา ช่วงอายุ 1-3 ปี
คำสำคัญ:
พัฒนาการด้านภาษา , หนังสือภาพประกอบ 3 มิติ, เด็กวัยหัดเดินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้หนังสือภาพประกอบสร้างสรรค์ 3 มิติ โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการด้านภาษาในเด็กช่วงอายุ 1-3 ปี ก่อนและหลังการใช้ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 1-3 ปี ที่มาใช้บริการของในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยก่อนเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง จำนวน 24 คน เป็นกลุ่มทดลอง และเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 1-3 ปี ที่มาใช้บริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาวิเศษ จำนวน 24 คนเป็นกลุ่มควบคุม การดำเนินการวิจัยใช้เวลา 4 เดือนจากเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งหนังสือ ภาพประกอบสร้างสรรค์ 3 มิติ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านภาษาช่วงอายุ 1-3 ปี ประกอบด้วย นิทานแสนรอบรู้ คำคล้องจองร้อยสนุก และชุดบัตรคำ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินพัฒนาการด้านภาษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการด้านภาษาของกลุ่มทดลองหลังการใช้หนังสือ ภาพประกอบสร้างสรรค์ 3 มิติ มากกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการด้านภาษาหลังการใช้หนังสือ ภาพประกอบสร้างสรรค์ 3 มิติ ในกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 ดังนั้นหนังสือภาพประกอบสร้างสรรค์ 3 มิติ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านภาษาช่วงอายุ 1-3 ปี มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาภาษาสำหรับเด็กช่วงอายุ 1-3 ปี ดังนั้น พยาบาลที่ทำงานด้านส่งเสริมพัฒนาการแกเด็กช่วงอายุ 1-3 ปี สามารถนำไปส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาได้ต่อไป
References
Boonthida Khomwitsawasard .(2016). Development of learning achievement in packaging academic. about packaging materials by using a set of three-dimensional book teaching materials (Pop-Up) of students at Vocational Certificate (Vocational Certificate), Year 2, Room 2/3, Marketing Major, Chiang Rai Vocational College of Commerce, Academic Year 2016, Mueang Chiang Rai District Chiang Rai Province. Retrieved on July 23, 2020, from http://www.ccvc.ac.th/
Churairat Maneechai. (2015). Report on the use of storybooks with pictures to develop intelligence. Emotions accompanying storytelling activities of students in Kindergarten Year 3. Retrieved April 11, 2020, from
https://www.tungsong.com/abstract/abstract14/complete.pdf.
Department of Health that focuses on reading. (2018). Toothbrushes and early childhood development. Retrieved September 25,2020, from http://nich.anamai.moph.go.th/
Department of Health, Ministry of Public Health. (2019). Information and situation of operations to promote development Preschool children 2016-2018. Retrieved September 30,2020, from http://nich.anamai.moph.go.th/
Duangporn Sanan. (2014). Effects of language experience management using integrated arts on the ability to tell stories of kindergarten children. Retrieved April 10, 2020, from https://cuir.car.chula.ac.th/
Information and promotion of child development, early childhood development. (2016). Promoting information Child development. Retrieved August 1,2020, from http://nich.anamai.moph.go.th/download
Nattawadee Silakorn. (2013). Panyayam, Panyayoem in fairy tales, puppet dolls. Received April 10, 2020, from http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Nattwadee_S.pdf
Kamolrat Phuangsiri & Pattanan Wongwitchayu. (2019). Developing the ability of listening andspeaking skills by organizing learning through storytelling activities. Retrieved April 8, 2020, from https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/12342019-10-11.pdf.
Kamolrat Khanongdet.(2013). Effects of rhyming words and bilingual songs on language skills of preschool children in 3 southern border provinces. Retrieved August 1, 2020, from http://wb.yru.ac. en/handle/yru/281
Ladda Bunmawan, Phenphisuth and Siwaporn Songkhun.(2017). Organizing experiences using repetitive storytelling techniques to develop comprehension and communication abilities of early childhood children. Journal of Graduate Studies, Chiang Rai Rajabhat University. 10(1), 1-12.
National Statistical Office. (2019). Demographic statistics Population and housing. Retrieved 30 September 2020, from www.statbbi.nso.go.th.
Niratya Yisunruangc.(2017). Developing speaking skills of early childhood children by using storytelling activities. Pictured. Retrieved on July 23, 2020, https://wbscport.dusit.ac.th/view/view.
Pattaraphan Putiya, , Kachakrit Liamthaisong and Pongphiphat Saithong.(2015). book format electronics Push form by pop-up technique, Panya of 2nd year students, Info Animation Journal.22(2), 71- 88
Prapassorn Saraphan. (2017). Developing speaking skills of preschool children, Kindergarten 3 years old. Retrieved June 5, 2020, from https://wbscport.dusit.ac.th/artefact
Pornthip Siriboonpipatana. (2015). The meaning of children. Retrieved June 5, 2020, from http://library.christian.ac.th/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว