การพัฒนานวัตกรรมฝาตัดสายให้น้ำเกลือเพื่อความปลอดภัย โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี

ผู้แต่ง

  • วรรณดี เสือมาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วริสรา คุ้มราษฎร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เวคินี วิมลเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วราภรณ์ แพศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รุจิรา ใบยูโซ่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ภัณฑิรา รัตนะรัต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วราพร กิ่งแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรรณชนก ว่าวทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ฝาตัด , สายให้น้ำเกลือ , ความปลอดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการใช้ฝาตัดสายให้น้ำเกลือ เพื่อพัฒนานวัตกรรมฝาตัดสายให้น้ำเกลือเพื่อความปลอดภัย และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรมฝาตัดสายให้น้ำเกลือเพื่อความปลอดภัยของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี มีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่  (1) การศึกษาสภาพปัญหา ผู้ให้ข้อมูล คือพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วย พยาบาลวิชาชีพด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ รวมทั้งหมด 15 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบโดยนักวิจัยและผ่านผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพ (3) ทดลองใช้และประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ฝาตัดสายให้น้ำเกลือและแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ฝาตัดสายให้น้ำเกลือ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) นวัตกรรมฝาตัดสายให้น้ำเกลือมีลักษณะเป็นใบมีดที่มีการตกแต่งส่วนที่ไม่สม่ำเสมอและใช้กระดาษทรายขัดเพื่อลบคม แล้วใช้น็อตเป็นตัวยึดใบมีดกับฝาแกลลอน (2) ระดับความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมฝาตัดสายน้ำเกลือเพื่อความปลอดภัย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean= 4.45, S.D. = 0.50) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้นวัตกรรมฝาตัดสายให้น้ำเกลือเพื่อความปลอดภัยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการกำจัดขยะมีคมที่ใช้ได้ง่าย สะดวกและทำให้ผู้ใช้เกิดความปลอดภัย

References

Bureau of Environmental Health, Department of Health. (2020). solid waste. (Online) Search on October 8, 2020. Https://envmanifest.anamai.moph.go.th/?waste (In Thai)

Chaisoontorn, T. (2013). Infectious waste management study: Case Study: A type of private hospital that accepts patients Overnight in Pattaya Municipality, Chonburi Province. Master of Science Thesis, Kasem Bundit university. (In Thai)

Crabtree, B.F., Miller, W.L. (1992) Doing Qualitative Research. London: SAGE.

Intiya, N., Laowansiri, S. (2021). Comparison of Composition and Rate of Stuck Garbage infection of medium and large hospitals: A case study of Nakhon Phanom Province. The Public Health journal of Burapha University, 16(1). 14-27. (In Thai)

Pollution Control Department. (2020). Manual for filling out solid waste management (Online) Search on October 8, 2020. https://www.pcd.go.th/Info_serv/File/17-12-62-004.pdf (In Thai)

Jitreecheua, J. (2017). Environmental management in hospitals for infection control. Chiang Mai: Smart Coding and Service Co., Ltd. (In Thai)

Khaneunghate, W. and Khuntoo, S. (2021). List of things that invent the new generation. Search on October 8, 2020.

https://nia3portal.emworkgroup.co.th/info/innovation/item/57283 (In Thai)

Kunsuwan, A., thangdan, S. and Mantham, Ch. (2021) List of things that invent the new generation. Search on October 8, 2020.

https://nia3portal.emworkgroup.co.th/info/innovation/item/57283 (In Thai)

Maneewong, J. (2020). Nursing in the prevention and control of the spread of infection in hospitals. 2nd print. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2020). Environmental Quality Situation Report. (Online) Search on October 8, 2020. https://www.onep.go.th/book/soereport2020/ (In Thai)

Sirinak, A. (2018). Management of infectious waste in Deparat Hospital Nakhon Ratchasima. Journal of Health Research and development Nakhon Ratchasima Public Health Province office, 4(2). 40-52. (In Thai)

Surat Thani Hospital. (2020). Statistical data of the information department Surat Thani Hospital. Surat Thani Hospital. (In Thai)

Sainara, P. (2009). Public Participation in Solid Waste Management: Case Study of Wat Phra That Nong Bua Community 1 Ubon Ratchathani Municipality Ubon Ratchathani Province. Master of Arts Thesis. Ubon Ratchathani Rajabhat University. (In Thai)

Thato, R. (2018). Nursing research: Concepts to application. Bangkok: Chula book. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30