แนวทางการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชุมชนท่าสาป ในจังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จิตตินันท์ พงสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นูรซาฮีดา เจ๊ะมามะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

เบาหวาน, แนวทางการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคเบาหวานในปัจจุบันของตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในตำบลท่าสาป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยเบาหวานในเขตตำบลท่าสาป จำนวน 50 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวาน และหาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ .82  เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพกลุ่มดังกล่าว จำนวน 5 ราย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกพร้อมบันทึกเทป เก็บรวบรวมในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

สถานการณ์โรคเบาหวานในปัจจุบันของตำบลท่าสาป พบว่า ผู้ป่วยมีระยะเวลาการเจ็บป่วยอยู่ในช่วง 1-4 ปี ร้อยละ 52.0 ระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) อยู่ในช่วง 201-300 mg% ร้อยละ 44.0 มีภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 36 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการอบรมเรื่องการดูแลตนเองขั้นพื้นฐานจากทีมสุขภาพอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี (Mean=3.52, SD= .35)

แนวทางการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในตำบลท่าสาป มี 4 ด้าน คือ 1) ผู้ป่วย มีการปรับมุมมองโดยการนำศรัทธาจากศาสนาสู่การดูแลสุขภาพ 2) ครอบครัว มีการพัฒนาความรู้และการศึกษาของครอบครัว โดยการส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลเกี่ยวกับการจัดการอาหารเฉพาะโรค 3) ชุมชน มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้นำทางศาสนา โดยการร่วมวางแผนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน และ 4) การศึกษา มีการสนับสนุนวิทยาการ/องค์ความรู้ โดยการส่งเสริมรูปแบบและแนวทางการดูแลตนเองที่สอดคล้องกับบริบทของผู้ป่วยและชุมชน

ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนท่าสาป

References

Chaimongkol, S. (2021). Effects of Type 2 Diabetes Self-Management Support Program in Khon San District, Chaiyaphum Province. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 15(37), 237-249. (in Thai)

Dankasai, C., & Lymptrakul, P. (2016). Implementtation for slowing Kidney degeneration in diabetic patients Kidney complications living in Phra Klang Thung Subdistrict, District That Phanom, Nakhon Phanom province. Journal of Nursing and Health Care, 34(2), 6-13. (In Thai)

Fatusin, A.J., Agboola, SM., Shabi. O.M., Bello, I.S., Elegbed, OT. E., Fatusin, B.B. (2016). Relationship between family support and quality of life of type-2 diabetes mellitus patients attending family medicine clinic, federal medical centre, Ido–Ekiti. Nigerian Journal of Family Practice, 7(2).

Fowler, M. J. (2011). Microvascular and macrovascular complication of diabetes.Clinical diabetes, 29(3), 116-122.

Makeng, M., Jittanoon, P., & Buapetch, A. (2018). The Effect of Muslim-Based Health Behavior Modification Program on Diabetic Control Behaviors and Blood Sugar Level of Uncontrolled DM Muslim Patients with Co-Morbidity. Songklanagarind Journal of Nursing, 38(1), 46-62. (in Thai)

Masor, S., Malathum, P., & Sutti, N. (2017). Perception of Islamic Religious Leaders toward Religion Related Health Behavior of Thai Muslims with Type 2 Diabetes Mellitus During the Fasting Month of Ramadan. Rama Nurs J, 23(2), 208-225. (in Thai)

Pamungkas, R. A.; Chamroonsawasdi, K.; Vatanasomcoon, P. (2017). A Systematic Review: Family Support Integrated To Diabetes Self-Management among Glycemic Uncontrolled Type II DM Patients. Preprints. (doi: 10.20944/preprints201705.0104.v1).

Rattanasinganchan, P., & Sopittummakhun, K. (2016). Crisis of diabetes mellitus. Huachiew Chalermprakiet Science and Technology Journal 81, 2(2), 80-88. (in Thai)

Ratrasarn, C. (2017, December 1). Current situation and cooperation for health care reform diabetes In Thailand, from https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-wework/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand% 20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf

Sangsawang, D., Palitnonkert, A., Ngamkham, N. (2018). Factors Affecting Behaviors to Reduce Blood Sugar Levels of Diabetic Patients in BANGPOOMAI TAMBON Health Promoting Hospital, Samut Prakarn Province. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8(1), 104-117. (in Thai)

Sirikutjatuporn, K., Wirojratana, V., & Jitramontree, N.(2017). Factors Predicting Self-Management Behaviour of Elderly Type 2 Diabetes Patients. Thai Journal of Nursing Council, 32(1), 81-93. (in Thai)

Supachaipanichpong, P., Attasopon, L., & Chumchuen, P. (2016). Effectiveness of Social Support to change Health Behavior in Glycemic control for Diabetic Patients type II in phaengphuai Sup-district, Damnoensaduak District, Ratchaburi Province. MAHASARAKHAM HOSPITAL JOURNAL, 13(2), 36-46. (in Thai)

Saeedi, P., Petersohn, I., Salpea, P., Malanda. B., Karuranga, S., Unwin, N.,…& Shaw, J. E. (2019). Global and regional diabetes prevalence estimates for 2019 and projections for 2030 and 2045: Results from the international Diabetes Federation Diabetes Atlas, 9th edition. Diabetes research and clinical practice, 157, 107843.

Tajarernwiriyakul, A., & Suwannakud, K. S. (2016). Health perceives and self-care behaviors of people with diabetes mellitus in Tungmon Subdistrict, Prasat District, Surin Province. Research and Development Health System Journal, 9(2), 331-338. (in Thai)

Teachasub, J., Boonchiang, W., & Narin, R. (2020). Development of a Community Participation Caring Model for People with Diabetes Mellitus. Nursing Journal, 47(2), 111-121. (in Thai)

Yala Provincial Public Health office. (2020). Chronic non-communicable disease data warehouse system, Yala Province, from https://ylo.moph.go.th/chronic/rep_dmscreen_r0.php.

Yuerae, K., Limchaiarunruang, S., & Singchangchai, P. (2010). Exercise Promotion based on Islamic principles in home keepers, Pattani Province. AL- NUR Graduate School, 5(9), 83-96. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30