ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • ธนชัย เอกอภิชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางลึก จังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

การควบคุมป้องกันวัณโรค, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การมีส่วนร่วมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประกอบด้วย ความรู้ในการควบคุมป้องกันวัณโรค การมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันวัณโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิง คือ การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า อาชีพ ประสบการณ์การอบรมความรู้โรควัณโรค ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารด้านโทรทัศน์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันวัณโรค (r=0.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  และระยะเวลาการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันวัณโรค (r=0.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าควรมีการศึกษาทัศนคติในการควบคุมป้องกันวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  กำหนดมาตรการเฝ้าระวังวัณโรคสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติปี 2560 – 2564 หรือควรจัดทำนวัตกรรมเพื่อควบคุมกำกับผู้ป่วยวัณโรค

References

Bureau of Tuberculosis, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2018). National Tuberculosis Control Programme Guidelines. 2018. Bangkok: Graphic Design & Design. (in Thai)

Khowpathumthip, K. (2013). Participation of health volunteers in health promotion. Of health promotion hospitals, Phutthamonthon District Nakhon Pathom. Unpublished master's thesis, Srinakharinwirot University, Bangkok. (in Thai)

Petchborisut A. (2009). Participation of Village Health Volunteers in the Prevention of Tuberculosis: A Case Study of Muang District, Yala Province. Master’s thesis (Social Development), Srinakharinwirot University. Bangkok. (in Thai)

Stop TB Partnership, UNOPS. ( 2015). The Paradigm shift2016-2020 Global Plan to End TB. Geneva, Switzerland: UNOPS; 2015.

World Health Organization. (2000). Guidelines for the prevention of tuberculosis in public health facilities under limited resources (Sri Prapanat, translated). Bangkok: Religion Publishing House. National Buddhism Office. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01