ผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • นิฐิชา ธุวสินธุ์ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี (ตาปี)
  • ชุลีพร หีตอักษร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โปรแกรมสร้างความตระหนัก, ความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของพนักงานเก็บขยะตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเก็บขยะ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลก่อน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมห่างกัน 4 สัปดาห์ด้วยเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก (Mean 4.01, SD = 0.31) ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.19, SD = 0.45) ด้านการรับรู้ประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก (Mean 4.12, SD = 0.26) และความตระหนักในการป้องกันโรคอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.26, SD = 0.23) การสร้างความเชื่อด้านสุขภาพหลังการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนพฤติกรรมในการดูแลตนเอง หลังเข้าร่วมโปรแกรม (Mean = 32.23, SD = 1.72) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (Mean = 28.50, SD = 1.85) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

จากการวิจัย พยาบาลวิชาชีพ และทีมที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงการป้องกัน ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเก็บขยะ และสามารถนำโปรแกรมการสร้างความตระหนักไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพกับผู้ประกอบอาชีพกลุ่มอื่นในบริบทเดียวกันได้

References

Aursriwon B., Teamjan R. and Chawapong W. (2015). Raising Awareness of Diabetes Prevention Among Diabetes Risk Patients in Nong Long Sub-district, Wiang Nong Khong District, Nonthaburi Province. Lamphun Province. Report on National and International Research Symposium Graduate Network North 15th Rajabhat University. (in Thai)

Breckler, S. W. (1986). Attitude Structure and Function. New York: L Eribaum Association.

Health Education Division. (2013). How to Organize Healthy Behavior Change Vol. 4. Department Of Health Service Support. Ministry of Public Health. (in Thai)

Heetakson C. (2016). Summary report of health promotion services for garbage collection staff. Boromarajonani College of Nursing Surat Thani.

Juntratep P. and Chaiklieng S. (2010). Behavior prevention from work hazard. Of the municipal solid waste collection staff in Nanchang District Nongbua Lamphu province. Journals of Community Development and Life Quality, 20(1), 37-44. (in Thai)

Krajcie, R.V.,Morgan D.W. (1970). Determining sample size of research activities. Education and Psychological Measurement. 80, 607-610.

Nootep N. (2010) Public health accelerates the development of a healthy market. Must meet all criteria in early 2011. Food and Water Sanitation, 3(1): 1-3. (in Thai)

Office of the Environment 14. (2017) Southern Highlands Environmental Situation Report, 2016. Suratthani, Office of the Environment 14.

Reanin R. (2007). Health beliefs and control behaviors among people with hypertension in community health centers, Li hospital network. Lamphun Province. Master of Nursing Research Department of Adult Nursing, Chiang Mai University. (in Thai)

Vassa K. and Sanarak V. (2015). Effect of health promotion program on blood pressure. Body Mass Index and Hypertension Journal of Nursing and CaringHealth, 33(4): 65-70. (in Thai)

Wanichbancha K. (2008) Using SPSS for windows for data analysis. Bangkok: Thammasat University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01