การศึกษาความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านหินผุด อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ความมั่นคงทางอาหาร, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุ ในชุมชนบ้านหินผุด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งหมด 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลครอบครัวแบบเลือกตอบ จำนวน 12 ข้อ 2) แรงสนับสนุนทางสังคม จำนวน 11 ข้อ และ 3) ความมั่นคงทางอาหาร จำนวน 20 ข้อ ผ่านการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 หาค่าความเชื่อมั่นจากการทดลองใช้ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ (Chi-Square) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อันดับของสเปียร์แมน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับความมั่นคงทางอาหารน้อย และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านครอบครัวกับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุ พบว่ารายได้ของผู้สูงอายุ อาหารที่รับประทาน โรคประจำตัว (ไขมันในเลือดสูง) จำนวนสมาชิกในครอบครัว ผู้ดูแลค่าใช้จ่ายในครอบครัว ลักษณะการรับประทานอาหาร มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (x2 = 4.35 -35.00) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงสนับสนุนทางสังคมกับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุ พบว่าแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs = .89)
References
Atthawiwatthanakul, P. (2014). The food security of the elderly in rural communities Phatthalung Province. Unpublished master’s thesis, College Songkhla Rajabhat University. (in Thai)
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd Ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Chairit, W., Piaseu, N. and Jarupat, S. (2011). Factors Related to Food Security among Older Adults in a Rural Community of Southern Thailand. Rama Nurse Journal September – December, 311-326. (in Thai)
Chen, C. C., Schilling, L. S., & Lyder, C. H. (2001). A concept analysis of malnutrition in The elderly. Journal of Advanced Nursing, 36(1), 131-142.
Food and Agriculture Organization of the United Nation. (1996). Rome Declaration on World Food Security and World Food Summit Plan of Action. World Food Summit, Retrieved November 20, 2018, from http://www.fao.org/wfs Food and Agriculture Organization of the United Nation. (2006). The State of Food Insecurity in the World 2006. Rome.
FAO. Radimer, K. L., Olson, C. M., Greene, J. C., Campbell, C. C., & Habicht, J.P. (1992). Understanding hunger and developing indicators to assess it in women and children. Journal of Nutrition Economica, 24(1), 36S-44S.
Harrison, G. G., Sharp, M., LeClair, G. M., Ramirez, A., & McGarvey, N. (2007). Food security among California’s low-income adults improves, but most severely affected do not share in improvement. A Publication of the UCLA Center for Health Policy Research, 1-11.
House, R.J. (1976). A path goal theory of leader effectiveness. Administrative Science Quart, 16, 321 – 339.
House, R. J. (1992). Personality and charismatic leadership. The Leadership Quarterly. 3(2) 2, 81-108.
Janorn, N. (2014). Thailand’s food security. Bangkok, Thailand: Academic Office, The Secretariat of the Senate. (in Thai)
Jenkins, K. R., Johnson, N. E., & Ofstedal, M. B. (2007). Patters and associations of body weight among older adults in two Asian societies. Journal of Cross-Cultural Gerontology, 22, 83-99.
Maliwat, S. (2009). The food security of Lua people of Pah kam Village Bo Kluea District, Nan Province. Master Degree of Arts College Technology University King Mongkut's University of Technology Thonburi. (in Thai)
Piaseu, N. (2010). Food insecurity in Thai elderly. (Research Report). Bangkok: Mahidol University. (in Thai)
Prachasanti, S. (2009). The development of food security index, the 1st driving project of agricultural and food for health by National Health Assembly 2008. Bangkok, Thailand: National Health Office. (in Thai)
Roungkajorn, C. (2007). Basic research methodology. Songkhla: Tameprint. (in Thai)
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว