การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พรภัทรา แสนเหลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อณัญญา ลาลุน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาในปีการศึกษา 2560 ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 331 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่าโดยทั่วไปกลุ่มตัวอย่างมีโรคประจาตัว จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.0 มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.2 และเกินเกณฑ์จำนวน 8 รายคิดเป็นร้อยละ 2.4 ไม่เคยตรวจสุขภาพจำนวน 176 ราย คิดเป็นร้อยละ 53.2 สำหรับด้านพฤติกรรมสุขภาพ พบว่าการบริโภคอาหาร ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จัดเป็นผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ในระดับปานกลาง จำนวน 196 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.6 โดยรับประทานอาหารรสหวานบ่อย/บ่อยมาก จำนวน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.2 รับประทานอาหารรสเค็มบ่อย/บ่อยมาก จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.6 รับประทานอาหารมัน กะทิหรืออาหารทอดบ่อย/บ่อยมาก จานวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.9 2) ด้านออกกำลังกาย ออกกาลังกายมากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ จำนวน 36 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.1 ไม่ออกกำลังกายเลย จำนวน 92 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.8 3) ด้านอารมณ์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีวิธีการพักผ่อนโดยการฟังเพลง ดูทีวี ดูหนัง งานอดิเรกชอบอ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ คุยกับเพื่อน คนในครอบครัว และเที่ยวนอกบ้านตามลำดับ แต่การคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อปรึกษาปัญหาความเครียดต่างๆ ค่อนข้างน้อย 4 ) การเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 91 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.5 และ 5) การสูบบุหรี่ จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.7

ข้อเสนอแนะ สถาบันการศึกษาควรสนับสนุนกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย รณรงค์การลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิกการสูบบุหรี่และการส่งเสริมกิจกรรมการจัดการความเครียดอย่างสร้างสรรค์แก่นักศึกษา มีระบบการเฝ้าระวังปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ ด้วยการดำเนินการอย่างใกล้ชิดโดยอาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมจัดให้มีนโยบายการตรวจสุขภาพประจำปีแก่นักศึกษา

References

.----------The Project Protects and Control Community Disease with Cooperation of the Country Between Thai Government and the World Health Organization, January, 2017 - December 2021. (in Thai).

Detyotin, A. (2018). Hypertension Preventive Behavior of Nursing Students in Ratchathani University. The 3rd National Conference “Disruptive Innovation”, Ubonratchathani. (in Thai)

Department of Disease Controls, Ministry of Public Health. Disability-Adjusted Life Year: DALY. Report of Disease Responsibility and Woundedding of Thai People in 2013.

Dousadeemara, J. (2015). A Study and Development of 3-Self Health Behaviors Program for Risky Traffic Policemen. Journal of Liberal Arts Prince of Songkhla University, Hat Yai, 7(2): 40-58.

Musikthong,J. et al.(2010). Nutritional Knowledge, Attitude towards Food, Food Consumption Behavior, and Nutritional Status inNursing Students, Faculty of Nursing, Mahidol University. Journal of Nursing Science; 28(3): 40 – 49.. (in Thai).

Khongtong, P (2018). Factors Related to Chronic Illness. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences). Vol 10 (19). (in Thai)

Lalun, A., Pummarak, S., & Wuttiso, P. (2018). Factors Affecting the Health Promoting Behavior of the Elderly Hypertensive at the Naphai Health Promotion Hospital. Sisaket Rajaphat University Journal, 12(1): 167-176. (in Thai).

Lertsakomsiri, M., & Khampunyo, C. (2017). Factors Associated with Health-Promoting Behaviors of Nursing Students at Saint Louis College Practice in the Health Care Service. Naresuan University Journal and Technology, 25(3): 67-76. (in Thai).

Minkmai.K. (2016 ) The Survey of Health Behaviors among Students in Valaya Alongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage, Pathumthani Province .International Conference Report 7th.: 2822 - 2833. (in Thai).

Pongpipat.S, Yantaragorn.P and Pukkama,T.( 2017 ). Health Behavior of Students in Chiang Mai University. CMU Journal of Education, 1 (1): 34 - 45. (in Thai).

Poudpong .S, Kaumpiranon. Aand Saunthasataporn.S.(2011). Healthy Behaviors of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima . 17(1): 81-92. (in Thai).

Rongruang.S. and Suknuntapong.S.(2011). Health Promoting Behavior among University Students in Prince of Songkla University, Pattani Campus. Journal of Behavioral Science. 17(1): 110 - 123 (in Thai).

Sadphent, A.(2011). Health Behaviors of Staffs of Sirinthorn College of Public Health Khonkaen. Thai Dental Nurse Journal, 22(1):1 - 6. (in Thai).

Thongsuk.S, Putawatana.P and Orathai.P,(2012).Health Promoting Behaviors of Ramathibodi Nursing Students. Rama Nurs J. 18 (2): 178 – 189. (in Thai).

Voutvongchai. P.(Editor)(2017).The Handbook of Protect the Non – Communicable Disease, by the Community is the Base: the Community Decreases to Risk , Decrease the Non – Communicable Disease (CBI NCDs). Department Disease Controls, Ministry of Public Health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01