ผลของการเตรียมความพร้อมต่อความสาเร็จในการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพ และมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
มาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ, ระบบคุณภาพ, ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเตรียมความพร้อมต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ตามแนวความคิดวงจรคุณภาพ Deming และวัดผลโดยใช้รูปแบบการวิจัย แบบ 1 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pre-posttest design) กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกระบวนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการ ศึกษาบริบทและสภาพปัญหาในการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข 2) ขั้นปฏิบัติการ นำระบบระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขมาใช้ในการดำเนินงาน 3) ขั้นสังเกตการณ์ เป็นการติดตาม และประเมินผลโดยการประเมินคุณภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ และ 4) การสะท้อนกลับ และดำเนินการปรับปรุง แก้ไข รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และผลการประเมินระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข หลังการพัฒนา มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และทุกแห่งผ่านมาตรฐาน จากผลการวิจัย พบว่าเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีความรู้ และการพัฒนางานเพิ่มขึ้น ดังนั้นรูปแบบการเตรียมความพร้อมนี้สามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนางานอื่นต่อไป
References
Department of Medical Sciences, (2014) Quality System and Medical Laboratories and Public Health Standard for Health Promoting Hospital and Mueang District Health Center. 2nd edition. Nonthaburi; National Office of Buddhism.
Ministry of Public Health. (2018). The Standard Indicators of Health Service System of Health Service Department and Public Health Center: Medical Laboratories and Public Health Development: nd.
Nakkhasen, C., (2013). A Model for Development of Work Performance Efficiency of Tumbon Health Promoting Hospital Officers in Roi-et Province. The Thesis for Doctor of Philosophy Program in Regional Development Strategies, Graduate Faculty, Rajaphat Maha Sarakham University.
Piyasoontharawong, N., Sooktan, S., Sooksri, A., Janthorn, P., Kongdarn, Y., (2015) Incidence of Cancellation Postponement in Surgery and Problem-Solving Technique Using Participatory Action Research, Nursing Council Journal; July-September: 112-19.
Panicheep, C., (2015). Development of Participatory Supervision Model for Enhancing the Quality of the Tambon Health Promoting Hospitals in Bamnetnarong District, Chaiyaphum Province, Journal of Nursing and Education. Vol. 8(2): 132 – 146.
Pongsanit, P., et al., (2013). The Quality Improvement for Child Care Centre Based on the Healthy Child Care Centre Standard: a Case Study of Child Care Centre Saimoon District, Yasothon Province. Rajabhat Maha Sarakham University Journal. Vol 7 Issue 2: 75 – 83.
Sawasdee, W., et al., (2017). The Development of Laboratories Model at Tambon Promoting Hospital, Khuangnai District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Srivanalai Vijai. Vol. 7(2): 133 – 143.
Siriwan, T., (2014). The Developmental of Nursing Documentation Audit, Phop Phra Hospital. Journal of Nursing Science and Health. Vol. 8 (3).
Sodsai, T., (2017). Research and Development of Elementary Laboratories Service in Health Promotion Hospital, Amphoe Malasai and Amphoe Khong Chai, Kalasin. Journal of Health Science, Vol. 26(5): 923 – 929.
Somsaup, W., (2013). People’s participation to Mueang District Operation of District Administration Organization, Lopburi Province. Thesis for Master Degree of Public Administration, Program in Public Administration, Graduate School, Thepsatri Rajabhat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว