การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การทำงานเป็นทีมการพยาบาล โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต
คำสำคัญ:
สถานการณ์จำลองเสมือนจริง, นักศึกษาพยาบาล, การทำงานเป็นทีมการพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอน เรื่อง การทำงานเป็นทีมการพยาบาล โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยตั้งค่าเป้าหมายสำหรับคะแนนพฤติกรรมต่อเนื่อง (Transition Behavior: E1) และพฤติกรรมสุดท้าย (Terminal Behavior: E2) เท่ากับ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติบริหารการพยาบาลเรื่องการทำงานเป็นทีมการพยาบาล ก่อนและหลังใช้ชุดการสอน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาปฏิบัติบริหารการพยาบาล จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอน เรื่องการทำงานเป็นทีมการพยาบาล โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต แบบประเมินทักษะการบริหารทีมการพยาบาล แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติบริหารการพยาบาล เรื่องการทำงานเป็นทีมการพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.86/84.32 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการทำงานเป็นทีมการพยาบาลของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ผลขอการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาชุดการสอนเรื่องการทำงานทีมการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง
References
Cordeau, M.A., (2013). Teaching Holistic Nursing Using Clinical Simution: A Pedagogical Essay. Journal of Nursing Education and Practice, 3(4), 40-50. Dondeeprai, S., (2012).
Development of Science Teaching Packages on Substance Separation for Mathayomsuksa 2. Journal of Graduate Studies Nakhon Sawan Rajabhat University, 7 (18). 115-130. (in Thai)
Fanning, R.M., & Gaba, D.M., (2007). The Role of Debriefing in Simulation-Based Learning. Society for Simulation in Healthcare, 2(2). DOI: 10.1097/SIH.0b013e3180315539.
Jeffries, P.R., (2005). A framework for designing, implementing, and evaluating simulations used as teaching strategies in nursing. Nursing Education Perspectives, 26(2): 96-102.
Jones, I., & Alinier, G., (2009). Introduction of a New Reflective Framework to Enhance Students’ Simulation Learning: a Preliminary Evaluation. Blended Learning in Practice, 1, 8-19.
Karnasuta, P., (1999). Statistics for Behavioral Research. Bangkok: Publishing Chulalongkorn University. (in Thai)
Keawthanasin, K., (2001). Elected Organizational Factors, Selected Individual Factors, Organization Factor, Selected Individual Factors, Organization Effectiveness. Master of Nursing Administration Thesis, Chulalongkorn University. (in Thai)
Klipfel, J. M., et al., (2014). Patient safety improvement through in situ simulation interdisciplinary team training. Urologic Nursing, 34(1), 39 - 46. doi:10.7257/1053-816X.2014.34.1.39.
Kuanhawet, B., (2000). Innovation and Education Technology. Nonthaburi: SR printing. (in Thai)
amchang, S., (2015). Effects of Self-Learning by Using Multimedia on Knowledge and Self- Confidence in Nursing Practice for Children with Acute Respiratory Tract Infection among Nursing Students. Journal of public health nursing, 29(2), 107-116. (in Thai)
Norkaeo, D., (2015). Simulation based learning for nursing education. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok. 31(3).113-122. (in Thai)
Ounaromlert T. (2006). Educational measurement and evaluation. Nakhonpathom: Faculty of Education. Silpakorn University. (in Thai)
Pasunon, P., (2015). Validity of Questionnaire for Social Science Research. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University, 18(1). 375-396. (in Thai)
Prampree, P., (2013). The Development of an Instructional Package on Fresh Water Eco System for Muttayomsuksa of Pratebwitthayatarn School, Saraburi. Master of Education degree in Secondary education at Srinakarinwirot University.
Phrampus, P.E., & O’Donnell, J.M. (2013). Debriefing using a structured and supported approach. In A.I. Levine et al. (Eds.), The Comprehensive Textbook of Healthcare Simulation, (pp. 73-84). doi: 10.1007/978-1-4614-5993-4_6, ©Springer Science + Business Media New York (Pasquale, 2013).
Phanmanacharoenphol W. (2011). Nursing team development model of the medical and surgical ward Phyathai Hospital 2. The 1st STOU Graduate Research Conference 26 August 2011. (in Thai)
Romeo Luis A. Macabasag. (2016). Leadership, Management and Team Competencies of Filipino Nursing Student Manager-Leaders: Implications on Nursing Education. Interna-tional Journal of Nursing Science, 6(5): 109-116.
Suwankiri, W., et al., (2016). Learning management using simulations for students Nursing students. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 28 (2). 1-13. (in Thai)
Thanaroj S. (2017). Simulation based Learning in Principles and Techniques Course in Nursing Practicum. Boromarajonani College of Uttaradit Journal, 9 (2). 70-84. (in Thai)
Unsworth, J., McKeever, M., & Kelleher, M. (2012). Recognition of Physical Deterioration in Patients with Mental Health Problems: the Role of Simulation in Knowledge and Skill Development. Journal of Psychiatric and Mental Health Nursing. 19, 534-545.
Wongmit, W., (2016). Team Learning Instructional Package on the Practical Competency Training of Vocational Certificate Students. Master of Educational Technology and Communications Rajamangala University of Technology Thanyaburi. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว