ผลของการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ต่อความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต

ผู้แต่ง

  • ปรีดานันต์ ประสิทธิ์เวช วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • ผุสดี สระทอง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • สรัลรัตน์ พลอินทร์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • ดวงหทัย ยอดทอง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

นักศึกษาพยาบาล, การจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, ความฉลาดทางอารมณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต โดยการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนตามปกติ

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี จำนวนทั้งสิ้น 40 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นจับคู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (Matched pair) ให้ทั้ง 2 กลุ่มมีคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู, รายได้เฉลี่ยของครอบครัว และความเครียดของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต เนื้อหาประกอบด้วย กระบวนการสอนโดยวิธีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 10 ขั้นตอนจากแนวคิดของแจ็ค เมอซี่โรว์ (Jack Mezirow) 2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับประชากรช่วงอายุ 18-60 ปีของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัย: 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2) ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

Barbara,SJ. (1995).Psychiatrric mental healthnursing.New york:J.B Lippincott.

Beck, C.K., Rawlins, R.P., and Willians, S.R. (1988).Mental Health Psychiatric Nursing : A Holistic Life Cycle. Approach. ST. Louis : The C.V. Mosby Co.

Kaewmanee,P and Kongpasuk ,R. (2014). Emotional Intelligence And adaptation of nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Yala. Al-Higma University, Fatani University. ,4 (8) : 51-61.

Luebunthawatchai, O. (2002). Mental Health and Psychiatric Nursing.bangkok: Chulalongkorn University publishing.

Meeboonmarg,Y., Chaiyayongyong,R. , and Viriya Pho Khwang. (2017). Transformative learning: implementation in nursing education. Academic Journal Chalermkanjana, 4(1) : 58-67.

Mezirow,J. (2000). Learning as transformation : Critical perspectives on a theory in progress. San Francisco: Jossey-Bass.

Ministry of Public Health. Department of Mental Health (2007). EQ : Emotional Quotient (Revised edition). Type times 4. Nonthaburi : Community of Agricultural Cooperatives of Thailand.

____. (2011). Stress Assessment Form. [online] source :http://www.dmh.go.th/test/qtest5/ (10 September 2015)

Nuchsutham.W (2017). Emotional intelligence of nursing students Faculty of Nurse Chiang Rai College. Journal of Community Health Development Khonkaen University,4(4):505-519.

Office of the Education Council Ministry of Education. (2018). National Education Plan 2017-2036. Bangkok : Prigwarn Company Limited.

Pepleu, H. (1962). Interpersonal relations in nursing : a conceptual frame of reference for psychodynamic nursing. New york : G.P. Putnam’s Sons.

Pholchan,T. and Ruangsueng P. (2014). The results of learning management for change in the development of life characteristics of medical students. Phuttachin Ratchawet Journal,31(3):396-411.

Phongklum,O. et al. (2560). Emotional intelligence of a private university nursing student, Bangkok. Journal of the Faculty of Nursing Burapa university,25(3) : 9-19.

Phromla, W. (2558). Emotional intelligence of nursing students Private University in Pathum Thani Province. Journal of Graduate Studies: Suan Sunandha Rajabhat University,2(2) : 432-438. Retrieved October 20, 2004,form http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/issue14/article/view/681

Phu Hong Thong, C. (2561). Learning to change: Challenges of higher education teachers. Journal of Behavioral Science, 24(1):163-182.

Prajankett,O.(2014). Transformative Learning: Nursing Education Perspective. Journal of The Royal Thai Army Nurses,15(3) : 179-184.

Stuart, G. and Sundeen, S. (1995). Principles and practice of psychiatric nursing. St. Louis : The C.V. Mosby.

Sunthinakorn,W. (2018). Learning for change and action research. พิมพ์ครั้งที่ 1.Bangkok : Siam Paritas.

Travelvee, J. (1966). Interpersonal aspects of nursing. Pheldelphia : F.A. Davis.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01