สถานการณ์การจัดการด้านอาหารและโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุระพร ปุ้ยเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ชุติมา เพิงใหญ่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • จิรารัตน์ พร้อมมูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ตรีทิพย์ เครือหลี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ตวงพร ชุมประเสริฐ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

เด็กวัยก่อนเรียน, แม่, แนวทางอาหารของแม่, การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน 2) การจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ ดำเนินการวิจัยศึกษาสถานการณ์ด้านอาหารภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างคือเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 43 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะโภชนาการ ของเด็กวัยก่อนเรียน (Developmental surveillance and promotion manual: DSPM) แบบประเมินพฤติกรรมบริโภค และแบบประเมินภาวะโภชนาการ ความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .89  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลการจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ การสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สถานการณ์ด้านอาหารพบว่ามีภาวะโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ น้ำหนักตามเกณฑ์ 37 คน คิดเป็นร้อยละ 81.40 ระดับค่อนข้างน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 11.63 น้ำหนักค่อนข้างมากจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.33 ส่วนการรับประทานอาหารร่วมกันของครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับดี (X = 3.12, SD = .79) พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมของเด็กวัยก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี (X = 2.87, SD = .34)  และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยก่อนเรียนในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.33, SD = .74)

2. การจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ในเด็กวัยก่อนเรียน ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ วิเคราะห์ปัญหาด้านโภชนาการ ขั้นตอนที่ 2 ร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุ ขั้นตอนที่ 3 ใช้แนวทางอาหารของแม่ ได้แก่ 1) อาหารสะอาด (Clean Food) 2) โภชนาการดี (Good Nutrition) 3) อาหารที่ทำด้วยความรัก (Made with Love) ผลลัพธ์ด้านอาหารและภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนพบว่ามีพฤติกรรมการรับประทานผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น กิจกรรมปลูกผักร่วมกัน นำผักมาปรุงอาหาร เด็กเกิดการเรียนรู้ เกิดความรักความใกล้ชิดความผูกพันเพิ่มขึ้น

References

Ampansirirat, A. & Suwannraj, M. (2016). Promotion of family and community nutrition using the mother, s food guideline. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing, Songkhla.

Baranwal, Manich., v., Vinod Kumar, M. (2010). Studies on genetic variability correlation and path analysis for yield and yield contributing traits in wheat. 12(1):99-104 · June 2012

Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health, (2015). Manual of Guidelines for Implementing Nutritional health Promotion in Well Baby clinic, Retrieved April 22, 2019, from http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/.pdf ) (in Thai)

Chaiyasung, P., Yakasem, P. & Chuthongrat, N. (2014). Factors Predicting Food Consumption Behaviors of Overweight Elementary School Students, Grade 4 – 6. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima. 20(1), 30 – 43. (in Thai)

Health Center Data, Ministry of Public Health. (2016). Indicators of the Ministry of Public Health. (http://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=kpi/kpi.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=a75e43f7e044704ec9a993266d3f6704 25 September (2016) (in Thai)

Mo-suwan L. (2013). Nutritional problems in the southern part of Thailand. Songkla Med J ; 4 : 54-58.

Nichakarn nakwirot , Nitaya Sriyanalak, Chutima Chantarapratin, Sawarot bunyapan. (2008). Action research Standard Development care for growth promotion and preschool Children development in Boramarajonani College of Nursing, Sonhkhla

Parimanon, C., Chaimay, B. & Woradet, S. (2018). Nutritional Status and Factor Associated with Nutritional Status among Children Aged Under 5 Years: Literature Review. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 5(1), 329 – 342. (in Thai)

Rosales, F., Reznick, S., & Zeisel, S. (2009). Understanding the Role of Nutrition in the Brain and Behavioral Development of Toddlers and Preschool Children: Identifying and Addressing Methodological Barriers. Nutritional Neuroscience, 12, 190-202. http://dx.doi.org/10.1179/147683009X423454

Rungamornrat, S., Nookong, A., Kraimongkol, N. & Puttisatean, R. (2017). Implementation of Nutritional Promotion Guidelines for Preschool Children with Overweight in a Childcare Centre. Thai Journal of Nursing Council, 32(4), 120 – 133. (in Thai)

Sangsawang, J., Chukumnird, S., Chupradit, P., Binthapraritthi, S. & Wattanasart, T. (2017). Development of food and nutrition management model for preschool children based on mother, s food guideline: A participation action research. Journal of Boromarajonani College of Nussing, Bangkok. 33(2), 146 – 158. (in Thai)

Shoeps., Denise O. (2011). Nutritional status of pre-school children from low income families. Nutrition Journal 10:43

Simón Barquera et al., (2003). Energy and nutrient intake in preschool and school age Mexican children: National Nutrition Survey. vol.45, suplemento 4.

Srivichai, C., Yusuk, P. & Phraephasa, W. (2013). Obesity Situation of Students in Prathom Suksa 1 – 6 in JINDARAM and TANYASITSIN Schools. EAU heritage Journal. 7(1), 40 – 45. (in Thai)

Tannim, H. (2008). Family factors and children, s nutritional status of child development centers in Thasud subdistrict, Muean Chiang Rai district, Chiang Rai province. Retrieved from dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/197921. (in Thai)

Thongbai, W. (2010). Risk factors for overweight among preschool children. Unpublished

Uengarporn, N. (2013). Prevalence and Factors associated with nutritional status of Pre- school children in area of Suranaree University of Technology. Thai Journal of Pediatrics. 52(1):70 – 82. Retrieved June 20, from www.thaipediatrics.org/file_upload/files/1-2556-12.pdf (in Thai)

WHO Regional Office for Europe. (2000). Healthy nutrition: the role of women: Report on a WHO Meeting [Web blog post]. Retrieved from http://apps.who.int/iris/handle/10665/ 108364

Yuenyong, S. Moopayak. K. & Suwonnaroop. N. (2012). A Comparative Study of factors related to the nutritional status of Preschool Children in Muang District, Suphanburi Province, Thailand. Journal of Nursing Science, 30(2): 90 - 100. Retrieved June 20, from www.ns.mahidol.ac.th/english/journal_ns/pdf/vol30/issue2/sineeporn.pdf (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01