ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาโดยใช้การสนับสนุนของครอบครัว ต่อทัศนคติและบทบาทของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • อ้อมใจ พลกายา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • พัทธวรรณ ชูเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

คำสำคัญ:

มารดาวัยรุ่น, บทบาทการเป็นมารดา, การสนับสนุนของครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาโดยใช้การสนับสนุนของครอบครัว ต่อทัศนคติของการเป็นมารดาและบทบาทของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาวัยรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี บริบูรณ์ ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2562 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลอง จะได้รับโปรแกรมส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาโดยใช้การสนับสนุนของครอบครัว ต่อทัศนคติและบทบาทของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น และกลุ่มควบคุมจะได้รับการบริการตามมาตรฐานของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามทัศนคติของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นและแบบสอบถามความสำเร็จในการดำรงบทบาทของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค (Cronbach’ Alpha Coefficient) เท่ากับ 078, และ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาโดยใช้การสนับสนุนของครอบครัว กลุ่มทดลองมีคะแนนทัศนคติของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น และมีคะแนนบทบาทของการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=8.604, p< 0.001)

References

Bureau of Reproductive Health [Internet]. (2012). Live birth birth certificate for women aged 15-19 years 2017. [Update 2018 September 17]; cited 2019 April 6. Available from: http://rh.anamai.moph.go.th//main.php?filename=index (in Thai)

Jaturongkachock K, Lapvongwatana P, Pichayapinyo P. (2014). Effects of maternal role attainment promotion program for primiparous teen mothers. Thai Journal of nursing. 63(2). 36-45. (in Thai)

Mercer RT. (2004). Becoming a mother versus maternal role attainment. Journal of Nursing Scholarship. 36(3): 226-232.

Olds, S. B., London, M. L., Ladewig, P. W., & Davidson, M. R. (2008). Maternal-newborn nursing and women, s healthcare. (8th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Phanthufak M, Phumonsakul S, Chareonpol O. (2009). The effect of a maternal role promoting program on maternal-infant attachment, maternal role satisfaction, competency in infant behavioral learning and infant growth. Rama Nurs J, 15(2). 149-161. (in Thai)

Phromchaisa P, Kantaruksa K, Chareonsanti J. (2014). Effect of social support enhancement on maternal role among adolescent pregnancy women. Nursing Journal, 41(2).97-106. (in Thai)

Plodpluang U. (2009). Families’s supporting of teenage pregnancy case study at kanchanaburi, Thailand. Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj. (in Thai).

Sangploy T, Sriarporn P, & Xuto P. (2016). Eff of socail support on breastfeeding brhavior among mother with preterm delivery. Nursing Journal. 43. 13-23.

Sarisathie, Y. (2011). Nursing for pregnant women with specific problems. Sukhothai Thammathirat Open University, editors, Nursing Care of the Family and Midwifery . Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University Press; p.268-281. (in Thai)

Srisomboon A, Serisathien Y, Yusamran C, Phahuwatanakorn W. (2011). The effect of a maternal role promoting program on maternal role attainment in adolescent mothers with unplanned pregnancies. Journal of Nursing Science, 29(2). 74-81. (in Thai)

Vechayansringkarn, W.(2012). Pregnancy outcomes in primiparous pregnant teenagers in Bangyai Hospital. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat center. 29(2):82-92. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01