ผลการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีสะท้อนคิด ต่อทักษะการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล
คำสำคัญ:
การสอนโดยวิธีสะท้อนคิด, ทักษะการปฏิบัติการพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One group pretest- posttest design โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยก่อน และหลัง การจัดเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยวิธีสะท้อนคิด ในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช จำนวน 98 ราย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนโดยวิธีสะท้อนคิด 2) การบันทึกการสะท้อนคิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติการพยาบาลหลังการสอนโดยวิธีสะท้อนคิดมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติการพยาบาลการดูดเสมหะ (Endotracheal tube) สูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001(t=-15.16 ) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติการพยาบาลการสวนปัสสาวะแบบค้างสายสวน (Retained Foley’s catheter) สูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t= -21.67) และค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติการพยาบาลการให้สารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ (intravenous infusion) สูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001(t= -10.37)
References
Kanoknuch, C.,(2001). Learning by Reflection : Education and Clinical Nursing Practice. The Journal of Faculty of Nursing Burapha Unversity. 9(2), 35-48 .(in Thai)
Kannika W.,(2014). Reflective Thinking: Teaching Students to Develop Critical Thinking in Nursing Practice. Journal of The Police Nurse. 6(2), 188 – 199.(in Thai)
Lamchiek, K., Jinatta, S., & Thapanee, A., (2016). Nursing Care of Persons with Psychiatric Problems:The Development of a Practicum Course to Promote Reflection Skills among Nursing Students. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 4(1), 15-27. (in Thai)
Piyanee N, N., Danulada, J.,Darunee, J., & Manat, B.,(2016). The Study of Learning Management through Reflection for Developing a Critical Thinking Process in Nursing Students. Rama Nurs J. 22(2), 206-221.(in Thai)
Supannee K,, Trichada, P., & Siriwan, , P.,(2017). The Integrated Clinical Teaching Methods on Reflective Thinking, and Clinical Judgment in 3rd Year Nursing Students in Maternal Infant and Midwife Nursing Practicum Course I. HCU Journal. 20(40), 87-99.(in Thai)
Wilaiporn, R., (2017). Effects of Using Reflective Journal Writing along the Contemplative Education in the Subject of Art in Teaching. Ratchaphruek Journal. 15(2), 27-34.(in Thai)
Gibbs, G. (1988). Learning by doing: A guide to teaching learning methods. Oxford: Oxford Brookes University.
Sherwood GD, Deutsch SH. (2014). Reflective practice: Transforming education and improving outcomes. Indianapolis: Sigma Theta Tau International.
Schön DA. (1984). The reflective practitioner: How professionals think in action. New York: Basic Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว