ผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • จตุพร ขาวมาลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • วรรณทนา สมนึกประเสริฐ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คุณธรรม จริยธรรม, พฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการทดลองเป็นแบบอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมต่อพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล ประชากรในการวิจัย คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และ ปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ได้มาโดยการเลือกเฉพาะเจาะจงในกลุ่มที่ฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลกับผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย ซึ่งได้ขนาดตัวอย่าง 30 คน รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วยหลักการ ดังนี้ 1) การเตรียมความพร้อมเพื่อนำสู่การเรียนรู้ 2) การยกระดับความคิดและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม 3) การรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อจูงใจในการเรียนรู้ และ4) การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จริง ขั้นตอนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาล และ2) การปฏิบัติการพยาบาลบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ 1) การเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ และ 2) การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล ขั้นตอนที่ 2 ใช้กระบวนการเรียนรู้ในสถานการณ์จริง ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การประเมินผล และการสะท้อนคิด

ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวม และแต่ละองค์ประกอบ และมีพัฒนาการในแต่ละช่วงเวลาดีขึ้น

References

Bandura, Albert. (1977). Self-efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavior Change. Psychological Review. 84(2): 191-215.

Chowning, Jeanne Ting; et.al. (2012). Fostering Critical Thinking, Reasoning, and Argumentation Skills through Bioethics Education. PLoS ONE. 7(5): 1-8. Retrieved July 10, 2015, from https://doi: 10.1371/journal.pone.0036791.

Chris L. S. Coryn, et.al. (2009). Adding a Time-Series Design Element to the Success Case Method to Improve Methodological Rigor: An Application for Nonprofit Program Evaluation. American Journal of Evaluation, 30(1), 80-92. Retrieved April 10, 2015, from http://aje.sagepub.com hosted at http://online.sagepub.com.

Danulada Jamjuree; et al., (2014). The Study of the School and Community Participation in Education Management Case Study: Baan Don Sai School, Nakorn Sri Dhammaraj Province. Journal of Research and Curriculum Development, 4(1), 31-45. (in Thai)

Khaomala, J,. (2018). Development of a Learning Management Model to Enhance the Civic Professionalism Attributes of Nursing Students. Unpublished Doctoral’ Dissertation, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Kholberg, Lawrence. (1976). Moral Stages and Moralization: The Cognitive Developmental Approach. In T. Lickona (Ed.), Moral Development and Behavior: Theory, Research and Social Issues (pp.31-53). New York: Holt: Rinehart & Winston.

Khonthai Foundation. (2014). Retrieved November 10, 2014, from http://www. Khonthaifoundation.org/news-detail.php?id=47.(in Thai)Kramer, M. and Usher, A. (2011). Work-Integrated Learning and Career-Ready Students: Examining the Evidence Toronto: Higher Education Strategy Associates.

Peters, Scott J. (2004). Educating the Civic Professional: Reconfigurations and Resistances. Michigan Journal of Community Service-Learning. 11(1): 47-58.

Sullivan, William M. (2005). Work and Integrity: the Crisis and Promise of Professionalism in America. 2nd ed. San Francisco, CA: Jossey-bass.

Molieri, W,. (2007). A Development of Instructional Model Based on Lickona’s Character Education Approach for Enhancing Professional Ethics in Responsibility of Vocational and Technology Students. Unpublished Doctoral’Dissertation. Chulalongkorn University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01