ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
ทักษะการใช้เทคโนโลยี, พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์, นักศึกษาพยาบาล, ทัศนคติบทคัดย่อ
วิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล และ ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 และ 2 จำนวน 252 คน ที่ได้จากการเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินปัจจัยด้านเทคโนโลยี แบบสอบถามทัศนคติการใช้งานอินเทอร์เน็ตทักษะการใช้เทคโนโลยี และ พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณนา และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 94 เป็นผู้ที่อยู่ใน Gen Z ร้อยละ 89.3 วัตถุประสงค์ที่ใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่เพื่อสร้างเครือข่ายออนไลด์ เช่น Facebook Instagram Twitter ร้อยละ 46.4 รองลงมาเพื่อความบันเทิง ร้อยละ 39.3 ส่วนใหญ่มีทัศนคติในการใช้อินเทอร์เน็ต ในระดับเห็นด้วยมาก (Mean=3.22 , SD=0.41) ทักษะการใช้เทคโนโลยี (Mean=2.76, SD 0.25) และพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์ (Mean=3.19, SD=0.36) อยู่ในระดับทำได้ค่อนข้างดี และ ทำปานกลาง ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์ คือ ทัศนคติ (β=0.21, p=0.01) และ ทักษะการใช้เทคโนโลยี (β=0.29, p=<0.01)
สรุปและข้อเสนอแนะ ทัศนคติและทักษะการการใช้เทคโนโลยีมีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์ในกลุ่มนักศึกษาดังนั้นสถานศึกษาควรมีการส่งเสริมทัศนคติที่เหมาะสมต่อการใช้เทคโนโลยี และการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะของตนเองให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบันเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างสร้างสรรค์ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อการเรียนและการดำเนินชีวิตประจำวัน
References
Brown, J. (2006). Socialites and word-of-mouth referral behavior. Journal of Consumer Research, 14 (December), 350-362
Chaveesuk, S. & Wong jaturapat, S. (2012). Unified Theory of acceptance and use of technology. KMITL Information Technology Journal. Retrieved May 3, 2019 from file:///C:/Users/ASUS/Downloads/2-29-1-PB.pdf 74 (in Thai)
Sarawanawong, C., (2017). Social media use behavior of undergraduate students Kasetsart University. Journal of Science. Prof. Wor. 10 (2): 16–31 (in Thai)
Bang Tha Mai, E., (2017). Development of teaching and learning activities on social networks online for Promote the use of creative internet for tertiary students. University Journal Fine Arts. 37 (1): 93-118, 256 (in Thai)
Kivunja, C., (2015). The effective of social media technologies in academia: A pedagogical bliss of digital fad. International. Journal of Higher Education, 4(4), 33-44.
Murthy, D. (2013). Twitter: Social communication in the twitter age. Cambridge, UK: Polity Press.
Wongananton, P., (2014). Internet use behavior of children and youth. Nursing Journal The Salvation Army, 15 (2) 173-178. (in Thai)
Pengjaroen, S., Vutmetee, Y., & Ritmontri, S., (2016). Factors affecting attitude on using social network of senior students at Kastsart, Bangkhen University. Vajira Nursing Journal, 18(2),63-74 (in Thai)
Phichayawee Faculty of Medicine. (2011). Attitude study Utilization and satisfaction of communication through Social network Case study: Students and staff of Chalermkarnchana College, Phetchabun Province. (Independent study, Master of Science, Business University). (in Thai)
Sarawanawong, J., Fyeted, K., Ngernpoolsap, D. & Chantrdee, W. (2017). Online Social Media Usage Behaviors of Undergraduate Student, Kasetsart University. Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University, 10(2), 16-31. (in Thai)
Thongmoon, T., & Vichitthammarot, P., (2017). Study of factors affecting acceptance and use Social network in Thai society. Journal of social communication innovation, 5 (2), 114-124. (in Thai)
Tapscott, D. (2008) .Growth up digital: How the net Generation is Changing Your World. McGraw-Hill.
Thailand Zocial Awards. (2018). 5 key point from Thailand Zocial Awards 2018 that a content creator need to know. Retrieved May 3, 2019 from https://www.rainmaker.in.th/thailand-zocial-awards-2018-for-content-editor/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว