เหตุผลและปัจจัยของการไม่ไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก : กรณีศึกษา สตรีอายุ 30-60 ปี ในตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • พรรณี ปิ่นนาค โรงพยาบาลสวี จังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

มะเร็งปากมดลูก, เหตุผลและปัจจัย, ไม่ตรวจคัดกรอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุผลและปัจจัยที่ไม่ไปรับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ของสตรีอายุระหว่าง 30 – 60 ปี ในพื้นที่ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยใช้ระเบียบวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วยสตรีในตำบล นาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำนวน 8 คน และบุคลากรโรงพยาบาลสวี จำนวน 2 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ในประเด็นเหตุผลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่ไปตรวจและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือ เหตุผลของการไม่ไปตรวจมะเร็งปากมดลูก ซึ่งพบว่าสามารถจำแนกได้เป็น 6 ด้านคือ 1) ความอาย ได้แก่ อายที่จะเปิดเผยอวัยวะส่วนลับให้ ผู้ตรวจดู 2) ความกลัว ได้แก่ กลัวกระบวนการตรวจ และกลัวและรับไม่ได้ถ้าตนเองมีผลผิดปกติ 3) ขาดรายได้ 4) มีภาระต้องดูแลคนในครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพ 5) ครอบครัวไม่สนับสนุน และ 6) ไม่ว่าง และส่วนที่สองคือ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่ไปตรวจมะเร็งปากมดลูก ซึ่งพบว่าสามารถจำแนกได้เป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ ได้แก่ การขาดความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และความรู้เรื่องเหตุผลของการตรวจ 2) ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มีภาระงานและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่สะดวกในการเดินทาง ไม่มีรถส่วนตัว ไม่มีรถประจำทาง และขับรถไม่เป็น 3) ด้านการบริการของโรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลสื่อสารและประชาสัมพันธ์ทั้งเชิงรับและเชิงรุกไม่ทั่วถึง เจ้าหน้าที่ ผู้ให้บริการไม่มีการอธิบายขั้นตอนและการปฏิบัติตัว และการบริการล่าช้า ผลจากการศึกษาครั้งนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะสาหรับการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั้งเชิงรุกเชิงรับ ได้แก่ การเลือกผู้ให้บริการเป็นผู้หญิง การอบรมและให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้ให้บริการ การจัดให้มีระบบการบริการทุกขั้นตอนแบบครบวงจรในจุดเดียวกัน และการผลิตสื่อความรู้ด้านมะเร็งปากมดลูกให้แก่ประชาชน

References

Boonpitak, W., Suwanno, J., & Sameanphet, T. (2013). Determinants the Early Risk of Cervical Cancer among Women with Abnormality of Pap Smear. Journal of Nursing, 40(3), 22-40. (in Thai).

Chirawatkul, S. (2005). Qualitative Research in Nursing (2nd ed.). Khon Kaen: Faculty Nursing, Khon Kaen University. (in Thai).

Department of Disease Control, Chumphon Provincial Public Health. (2018). A Statistic Cervical Cancer Screening of Chumphon Province in 2017-2018. Bangkok: Department of Disease Control, Chumphon Provincial Public Health. (in Thai).

Department of Medical Services. (2018). The First Cause of Death in Thailand is Cancer. Voice Online. Retrieved November 1, 2019 from https://voicetv.co.th/read /B1oOZIbUG.

Hhongtong, Ph., Wongklong, V., Seangsai, S., Pholbumrung, S., Chuayprain, Th., & Duangkuna, Kw. (2011). Cervical Cancer Screening at the Don Chang Health Promotion Hospital, Muang District, Khon Kaen Province. KKU Journal for Public Health Research, 4(2), 1-8. (in Thai).

Juntawong, N., Siri, S., Tridech, P., & Tridech, Ch. (2017). Fectors Related to Receiving Cervical Cancer Screening Services among Women Aged 30-60 Years in Muang District, Pathumthani Province. Journal of Phrapokklao Nursing College, 28(1), 63-78. (in Thai).

Khaikeow, S., Cheewapoonphon, Ch., & Pruttasarote, K. (2013). Health Promoting Model of Cervix Cancer Preventation Among Working Women. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 14(3), 8-13. (in Thai).

Knantikulanon, Ph. (2013). The Factor That Influencing The Decision Making in Cervical Cancer Screening in Nongchik District, Pattani Province. Master’s Thesis. Songkhla: Songkhla Rajabhat University. (in Thai).

Laohutanont, P., Chaiwerawattana, Ar., & Imsamran, W (2018). Guidelines for screening Diagnosis and treatment Cervical cancer. Bangkok: Department of Academic Support, National Cancer Institute. (in Thai).

Narueponjirakul, C., Thummavichit, R., & Suteeprasert, T. (2014). Factors Related to Pap Smear Screening Behaviors of Women at Municipality Suphanburi Province. Journal of Health Science, 23(6), 1022-1031. (in Thai).

National Cancer Institute. (2019). Healthy! To Fight Cancers!. Thai Health Promotion Foundation. Retrieved July 30, 2019 http://www.thaihealth.or.th/Content/40596.

Phomwiin, P., Prakapong, Y., & Niruttaradorn, M. (2015). A Comparison of Knowledge and Perception of Health Belief In Cervical Cancer Screening among Women In Samutprakan Provice. Nursing Journal, 42(3), 84 - 94. (in Thai).

Rungrueang, P., Vatanasomboon, P., Tansakoon, S., & Termsirikulchai, L. (2015). Factors Related To Cervical Cancer Screening Behavior Among At Risk Group of Women Never Been Screened Within The Past 3 Years. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 2(2), 36-48. (in Thai).

Techsavapak, K., & Konglampan, C. (2016). Impact factors of Cervical Cancer Screening in Muslim Womenat Nongjok District, Bangkok. Kuakarun Journal of Nursing, 23(2), 232-247. (in Thai).

The Royal Thai College of Obstetricians and Gynaecologists. (2019). Cervial Cancer. The Royal Thai College of Obstetricians and Gynaecologists. Retrieved June 1, 2019 from http://www.rtcog.or.th/home/ความรู้เกี่ยวกับมะเร็ง/273.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01