ความคาดหวังและความเป็นจริงต่อการรับบริการของญาติผู้ป่วย หอผู้ป่วยเครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ผู้แต่ง

  • สะอาด ทองย้อย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง ความเป็นจริง การรับบริการของญาติผู้ป่วย หอผู้ป่วยเครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวัง ความเป็นจริงต่อการรับบริการ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคาดหวังและความเป็นจริงต่อการรับบริการและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงต่อการรับบริการของญาติผู้ป่วยในหอผู้ป่วยเครื่องช่วยหายใจ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างทุกคนในช่วงเวลาที่กำหนด  จำนวน 41 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทั้งความตรงของเนื้อหาและความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่าความคาดหวังและความเป็นจริงทั้งด้านการรักษา (Mean = 4.58 และ Mean = 4.39) ด้านคุณภาพการให้บริการ (Mean = 4.57 และ Mean = 4.38)  ด้านความสะดวกในการให้บริการ (Mean = 4.56 และ Mean = 4.37) และรวมทุกด้าน (Mean = 4.56 และ Mean = 4.38) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างความคาดหวังและความเป็นจริงต่อการรับบริการของญาติผู้ป่วยจำแนกตามลักษณะข้อมูลทั่วไป พบว่าอายุต่างกันมีความคาดหวังและความเป็นจริงต่อการรับบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และอาชีพต่างกันมีความเป็นจริงต่อการรับบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความคาดหวังและความเป็นจริงจำแนกรายด้าน พบว่าความคาดหวังและความเป็นจริงด้านการรักษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

จากผลการวิจัยควรมีการพัฒนาการบริการผู้ป่วยทั้งสามด้าน โดยเฉพาะด้านการรักษา โดยการพัฒนาระบบการบริการและการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติให้มีคุณภาพและมีความเหมาะสมต่อไป

References

Anuwat Supachutikul. (2015). HA Hospital Evaluation for Empowerment. Electronic book:
https://www.hfocus.org/content/2015/08/10564. Retrieved 17 January 2020.
Chumphon Khet Udomsak Hospital. (2018). Strategic Plan of Chumphon Khet Udomsak Hospital in 2018. (Copy documents).
Kritiya Setaphan. (2010). Factors affecting the satisfaction of information system service users in the Office of the Permanent Secretary of Defense. Master of Science Thesis Technology Management Program Innovation College Thammasat University.
Ministry of Public Health. (2015). Thai Public Health Health System.
E-book: http://wops.moph.go.th/ops/thp/thp/userfiles/7_%20lesson6.pdf. Retrieved 17 January 2020.
Nanthaporn Suwannasukroj (2008). Patients' Satisfaction Evaluation of Clinical Service Out of Office, Srinakarin Hospital. Faculty of Medicine Khon Kaen University. Master of Science Thesis School of Beauty and Health Sciences Graduate school Khon Kaen University.
Pannee Un-Em and others (2001). Satisfaction of patients receiving services to Outpatient Department, Chest Hospital. Research report. Boromarajonani College of Nursing, Nonthaburi
Pongsarun Phol Srilet. (2011).Managing patient expectations.
E-book: http://www.gmwebsite.com/upload/tuhospital-mk.org/file/ Articles% 20 August% 202554.pdf. Retrieved 17 January 2020.
Soontreeya Khamtool. (2009). Survey of Satisfaction and Attitude of Users, Case Study: Ao Udom Hospital, Sriracha District, Changhuat District, Chonburi. Master of Science Thesis Technology Management Program Innovation College Thammasat University.
Supatra Mingpricha. (2007). Anticipation and satisfaction of people who use the services in the outpatient department. Service quality of Phrae Hospital. Master of Public Administration Thesis Department of Urban and Rural Community Management and Development Faculty of Humanities and Social Sciences Maha Wittayalai Rajabhat Uttaradit.
Worawan Samosuk et al. (2013). A study of expectation and satisfaction of patients towards Thammasat Heart Center services of Thammasat Chalermprakiat Hospital. Agency for Budget Planning and Research Institute Thammasat Hospital honor. (Duplicate document).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30