บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคมะเร็งด้วยวิธีการทำกลุ่มช่วยเหลือตนเอง
คำสำคัญ:
บทบาทพยาบาล, ผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคมะเร็ง, การทำกลุ่มช่วยเหลือตนเองบทคัดย่อ
กลุ่มช่วยเหลือตนเอง เป็นการรวมกลุ่มโดยสมัครใจ จากกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์เหล่านั้น โดยกลุ่มบุคคลจะเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์ และดำเนินการในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเผชิญปัญหาจากบุคคลภายในกลุ่ม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้กับตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง กลุ่มช่วยเหลือตนเองเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยให้จุดมุ่งหมายของการพยาบาลประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง และเผชิญปัญหาต่างๆ ได้ บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของพยาบาลในการทำกลุ่มช่วยเหลือตนเองเพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคมะเร็งให้ดีขึ้น บทบาทของพยาบาลในการทำกลุ่มช่วยเหลือตนเองจะมีหน้าที่ให้การช่วยเหลือ และสนับสนุนแหล่งประโยชน์ต่างๆ ส่งเสริมบรรยากาศเป็นมิตร และบรรยากาศของการมีส่วนร่วม ตรวจสอบ และแก้ไขข้อมูล เพื่อให้สมาชิกได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคมะเร็งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
References
Sangrajrang, S. & Buasom, R. (2015). Cancer in Thailand. (Vol VIII, 2010-2012).
Bangkok: New Thammada Press. (in Thai)
Keiywkingkeaw, S. (2011). Psychiatric Nursing (2nd ed.)., Thammasat University: Pathum Thani.
(in Thai)
Ketmarn, P. (2009). “Self-Help Group. In Piyasil, W. & Ketmarn, P.” Child and Adolescent
Psychiatry (2nd ed.). (pp 289 - 296). Bangkok: Thanapress. (in Thai)
Kriphaiboon, P. (2016). Statistics of pediatric with cancer. Retrieved January 30, 2019, from
https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/news/event/22082016-1521-th (in Thai)
Marram, G. D. (1987). The Group Approach in Nursing Practice (2nd ed.). St. Louis, MO: C.V.
Mosby.
Nuchprayoon, I., (2018). Principles of cancer treatment in children. Retrieved January, 30
2019, from https://wishingwellthailand.org/knowledge/ (in Thai)
Robinson, D. (1985). Self-Help Group. British Journal of Hospital Medicine, 34(2), 109 – 111.
Siriboonpipatthana, P. (2014). Nursing care of Pediatric. Yudtharin Printing, Nonthaburi. (in Thai)
Thai Society of Clinical Oncology. (2018). Cancer. Retrieved January 30, 2019, from
http://www.thethaicancer.com/Webdocument/People_article/People_article_001.html
Wick, L., & Mitchell, A. (2010). The adolescent cancer experience: Loss of control and benefit
finding. European Journal of Cancer Care, 19, 778 – 785.
Zebrack, B. J. & Chesler, M. A. (2002). Quality of Life in Chilhood Cancer Survivors.
Psycho-Oncology, 11, 132 – 141.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว