การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจชนิดใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On-pump CABG) และไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (OPCAB) : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, การระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย, เครื่องปอดและหัวใจเทียมบทคัดย่อ
การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปที่ยุ่งยากซับซ้อน มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงานสูง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม และไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม และเพื่อปรับปรุงงานบริการวิสัญญีโดยจัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม และไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ทำการศึกษาในผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม 1 ราย และไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม 1 ราย จากการศึกษาระยะก่อนให้การบริการทางวิสัญญีพบว่าผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับการดูแลจากวิสัญญีพยาบาลและทีมสหวิชาชีพไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ป่วยทั้งสองรายยังคงมีความวิตกกังวลในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง การศึกษาระยะผ่าตัดพบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 ซึ่งผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมมีระยะเวลาในการผ่าตัดที่ยาวนาน ได้รับปริมาณยาทางวิสัญญีในปริมาณที่มากกว่า สูญเสียเลือดมากกว่า และยังมีความเสี่ยงต่อการถอนเครื่องปอดและหัวใจเทียมมากกว่าผู้ป่วยรายที่ 2 ซึ่งไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ระยะหลังผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยทั้งสองรายมีปัญหาปัสสาวะออกน้อยและระดับโพแทสเซียมต่ำ ระบบทางเดินหายใจและระดับความปวดในผู้ป่วยทั้งสองรายไม่มีความแตกต่าง ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปปรับปรุงงานบริการวิสัญญีและจัดทำแนวทางปฏิบัติในการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายในการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
References
Chawewan T. Clinical practice guideline. Nursing J. 2005; 20(2):63-74.
Cheng DC, Karski J, Peniston C, Raveendran G, Asokumar B, Carroll J, et al. Early tracheal-extubation after coronary artery bypass graft surgery reduces costs and improves resource use: a prospective, randomized, controlled trial. Anesthesiology. 1996; 85(6):1300.
Hannan, E. L., Zhong, Y., Lahey, S. J., Culliford, A. T., Gold, J. P., Smith, C. R., et al. (2011).
30-Day Readmissions After Coronary Artery Bypass Graft Surgery in New York State. The
American College of Cardiology Foundation. 4(5), 569-576. doi:
10.1016/j.jcin.2011.01.010
Hillis LD, Smith PK, Jeffrey L, Bittl JA, Bridges CR, Byrne JG, et al. 2011 ACCF/AHA Guideline
for coronary artery bypass graft surgery. J AmColl Cardiol. 2011; 58(24):123-36.
Ji, Q., Zhao, H., Mei, Y., Shi, Y., Ma, R., & Ding, W. (2015). Impact of Smoking on Early Clinical
Outcomes in Patients Undergoing Coronary Artery Bypass Grafting Surgery. Journal of
Cardiothoracic Surgery, 10, 1-7. doi: 10.1186/s13019-015-0216-y.
Kirmani, B. H., Brazier, A., Sriskandarajah, S., Alshawabkeh, Z., Gurung, L., Azzam, R., et al. (2016).
Long-Term Survival After off-Pump Coronary After Bypass Grafting. The Society of
Thoracic Surgeons, 102, 22-27. doi: 10.1016/j.athoracsur.2016.04.003
Madhav S, Andrew DS, Barbara GF, Patricia LM, Laura EA. Trends in acute renal failure associated with coronary artery bypass graft surgery in the United States. Crit Care Med. 2007; 35(10): 2286
Moazzami, K., Dolmatova, E., Maher, J., Gerula, C., Sambol, J., Klapholz, M., et al. (2017).
In-Hospital Outcomes and Complications of Coronary Artery Bypass Grafting in the United States Between 2008 and 2012. Journal of Cardiothoracic and Vascular Anesthesia, 31, 19-25. doi:10.1053/j.jvca.2016.08.008
Naowapanich S. Intra-aortic balloon pump Clinical practice guide line. Nursing Service Organization, Siriraj Hospital. Bangkok: Siriraj Hospital; 2009.
Opasvipada N. Clinical Nursing Trigger in Post Cardio-thoracic Surgery and Management: Intermediate care. In: Chansomboon S,editor .Clinical Nursing Trigger in Surgical Patient. Bangkok: P.A.Living;2012. p 37-44.
Richard J, Bondy B, Dorman H, Reves JG. Principle and practice. anesthesia for coronary artery bypass surgery. [cited 2016 June 6].
Sanpasan P, Wattradul D, Jamsomboon K. Interpretation of Electrocardiogram and heart disease patients. Bangkok: Sukhumvit printing;2015.
Veerakul G, Kositchaiwat J. Bureau of non communicable disease 7R to reduce motality of coronary heart disease. Bangkok: Sukhumvit printing. 2014.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว