ผลการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพยุค 4.0 ในการดูแลผู้ป่วย ใช้เครื่องช่วยหายใจ ชนิดควบคุมด้วยปริมาตร หอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม 4 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ, พยาบาลวิชาชีพยุค4.0, การดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพยุค 4.0 ในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ชนิดควบคุมด้วยปริมาตร ในหอผู้ป่วยไอซียูอายุรกรรม4 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี โดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะการดูแลผู้ป่วย และทักษะในการใช้เครื่องช่วยหายใจ ก่อนและหลังการพัฒนาสมรรถนะ ทั้งหมดจำนวน 13 คน โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1.)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเรียนรู้และอบรมเชิงปฏิบัติการ 2)เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบประเมินความรู้ ทัศนคติ ทักษะ ในการดูแลผู้ป่วย และแบบประเมินทักษะการใช้เครื่องช่วยหายใจ ตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และได้ค่าความเที่ยงของแบบประเมินความรู้ ทักษะการดูแลผู้ป่วย และทักษะการใช้เครื่องช่วยหายใจจากสูตร KR-20 เท่ากับ .74, .82 และ .80 ตามลำดับ และทดสอบความเที่ยงแบบประเมินทัศนคติด้วยวิธีอัลฟาครอนบาคเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความรู้ ทักษะการดูแลผู้ป่วย ทักษะการใช้เครื่องช่วยหายใจก่อนและหลังการพัฒนาสมรรถนะ และเปรียบเทียบทัศนคติการดูแลผู้ป่วยก่อนหลังการพัฒนาสมรรถนะใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ตามกรอบสมรรถนะด้านการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ของหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี หลังพัฒนาสมรรถนะผ่านเกณฑ์ทุกระดับร้อยละ 100 2) ความรู้ ทักษะในการดูแลผู้ป่วย ทักษะการใช้เครื่องช่วยหายใจหลังพัฒนาสมรรถนะพบว่าสูงกว่าก่อนพัฒนาสมรรถนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 3) ทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยระหว่างก่อนและหลังพัฒนาสมรรถนะพบว่าไม่แตกต่างกัน
References
Limamnuaylap, S. (2008). Critical Care Nursing. In Limamnuaylap, S. (Ed.) , Critical care nursing (p1-21). Khonkan : klangnanawitaya. (in Thai)
Pajanasuntorn, B. (2012). What do we need for the ICU of tomorrow. In Sathaworn, D., Punyathaworn,S., & Piyawetwirat, K.. (Ed.), From basic to bedside (p8-12). Bangkok : Byoninterprice. (in Thai)
Kusum, W. (2011). Assessment. In Kusum, W. (Ed.), Nursing Process and Nursing Diagnosis. (p37-53). Bangkok: Borpit Printing. (in Thai)
Intensive Care Unit suratthani hospital. (2019). Competency Framework of Registered Nurse
Medical Intensive Care Unit. Suratthani : Suratthani hospital.
Benner, P. (1984). From novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. AJN
The American Journal of Nursing, 84(12), 1480.
Thamsrisawas , J. (2016). The competencies of nurse preceptors for new nurses at a private hospital in Chonburi Province. Unpubiished master’s thesis , Christian university, Thailand.
Rasamethamachote, S. (2005). Approaches to developing human potential with competence. Bangkok:.Siriwathana interprint. (in Thai)
Benjamin, S Bloom. (1986). Learning for mastery. Evaluation comment. Center for the study of Instruction Program. University of California at Los Angeles. 2(1),47-62.
Thananan, S. (2011). Human resource development. ( 6thed). Bangkok: TPN. press. (in Thai)
Papasarakan, S. (2001). Participatory learning. Retrieved September 15, 2021,from http://rotoratuk.boogpot.com.
Dawudom, N. (2016). The development of nursing’s mentorship model at phramongkutklao hospital. Journal of Royal Thai Army Nurse, 17(3), 197-206. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว