ผลของการบริหารร่างกายส่วนบนด้วยท่ามณีเวชต่ออาการปวดกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนในผู้สูงอายุตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, มณีเวช, การบิหารร่างกาย, อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความปวดกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนก่อนและหลังการบริหารร่างกายส่วนบนด้วยท่ามณีเวช ในผู้สูงอายุ ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัด ยะลา จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
แบบประเมินตำแหน่งระดับความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนด้วยภาพและแบบประเมินระดับความปวดกล้ามเนื้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ด้านความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง .60-1.00 และหาค่าความเที่ยง โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถติเชิงพรรณนา คือค่าร้อยละ และสถิติอ้างอิง Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความปวดกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนหลังบริหารร่างกายส่วนบนด้วยท่ามณีเวช 5 ท่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยลดลงจากก่อนบริหารร่างกายด้วยท่ามณีเวช 5 ท่า (M=0.73, SD=0.935) (M=2.91, SD=0.73) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนก่อนและหลังการบริหาร ร่างกายส่วนบนด้วยท่ามณีเวช 5 พบว่า หลังบริหารร่างกายส่วนบนด้วยท่ามณี เวช 5 ท่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยความปวดกล้ามเนื้อลดลงจากก่อนบริหารร่างกายด้วยท่ามณีเวช 5 ท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ดังนั้นควรมีการสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำการบริหารร่างกายด้วยท่ามณีเวช 5 ท่า ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงตามอัตภาพและช่วยลดความปวดเมื่อกล้ามเนื้อส่วนบน
References
Corran, T. M., Helme, R. D., & Gibson, S. J. (2001). Multidisciplinary Aassessment and Treatment
of Pain in Older Persons. Topics in Geriatric Rehabilitation, 16(3), 1-11.
Health promotion: concepts principles, and applications in nursing practice. Faculty of
Nursing Huachiew Chalermprakiet University. (in Thai)
Helme RD, Gibson, SJ. (2001). The epidemiology of pain in elderly people. Clinics in
Geriatric Medicine. Clinics in Geriatric Medicine, 17(3), 417-431.
Jaruwatcharaset, C., Songneam, N., Supawantanakul, D. and Banyati, P. (2019).
The Synthesis of Physical Exercise Postures for Reducing Shoulder Pain in Elderly
People Using Decision Table Technique. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 21(2),
-95. (in Thai)
Kaewmokk, W. (2017). The effects of training the elderly with Maneevej exercise
technique on body balancing, flexibility and strength. Burapha Journal, 4(1),
-3. (in Thai)
Ningsanon, N. (2011). Maneeivej for a comfortable easy life. Srinakharinwirot University
Journal (Science and Technology Program), 3: 1-12. (in Thai)
Paengwongsa, P. (2016). Effects of a ManeeVej Program and Knowledge Management for
Reducing Back Pain. Retried 12 May 2020 from https://research.pcru.ac.th/rdb/pub lished/dataview/769 .(in Thai)
Polchai, B. (2017). Benefits Perception, Problem and Exercise Behavior among Elderly in
Mueang Nakhon Phanom Municipality. Journal of Nursing Siam University, 18(34), 62-72. (in Thai)
Prapruttham, P., Kumoad, N.,Boontanaporn, S., Kaewngoen, N. and Ladpeng, S. (2019). A
Pilot Study : The effects of Maneevej self-care program on health problems and
body alignment among the fitness-club members at Ho-klong Subdistrict, Phromphiram District, Phitsanuloke Province. Mahidol R2R e-Journal, 6(1), 59-73. (in Thai)
Sithiwatcharapong, W. and Bunyahotara, V. (2020). Effectiveness of Maneevej Exercise for
Reducing Work Related Musculoskeletal Syndrome in Office Workers. Retried 12
May 2020 from https://research.pcru.ac.th/rdb/published/dataview/769 (in Thai)
Suthakham, K., Nuysri, M., and Iemsawasdikul, W. (2018). The Effects of a Self-Care
Competency Developing Program by Maneeveda Exercise on Self-Care Behavior to
Decrease Work Related Myalgia among Farmers at Pong District, Phayao Province.
The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 27(2), 70-79. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว