การพัฒนารูปแบบการกำกับและประเมินผล การดำเนินงานตามนโยบาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
คำสำคัญ:
นโยบายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส, การกำกับประเมินผล, ผู้บริหาร, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และเพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย 5 กลุ่มโรค 5 ส่งเสริม 5 สนับสนุน ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการกำกับและประเมินผลนโยบายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน/หัวหน้าฝ่ายและผู้รับผิดชอบงานนิเทศตรวจราชการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสจำนวน 23 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิค AIC ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบกำกับและประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ผู้บริหารของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ผู้บริหารของโรงพยาบาลทั่วไป ผู้บริหารของโรงพยาบาลชุมชนและผู้บริหารของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลจำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามวัดระดับความคิดเห็น ประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสื่อสารนโยบาย การกำกับนโยบาย การประเมินผลนโยบายและความพึงพอใจ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงของเนื้อหา และความเที่ยงของแบบสอบถามโดยได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ของครอนบาค (Cronbach) ระหว่าง 0.7 - 0.8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัยพบว่ารูปแบบการกำกับและประเมินผลประกอบด้วยการกำหนดพื้นที่เป็น Area Based, Agenda Based, และ Function Based กำหนดผลลัพธ์ Scoring เป็น 5 ระดับ โดยใช้ผัง spider diagram ในการสรุปผลการนิเทศตรวจราชการ ส่งผลให้ผู้รับการนิเทศตรวจราชการ เข้าใจผลการประเมินตามตัวชี้วัด 5 กลุ่มโรค 5 ส่งเสริม 5 สนับสนุน ได้ในผังเดียวและทราบแนวทางการพัฒนาผลตัวชี้วัด 5 กลุ่มโรค 5 ส่งเสริม 5 สนับสนุน ให้ประสบผลสำเร็จได้ ในขณะที่ผลการวิจัยประสิทธิผลรูปแบบการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย 5 กลุ่มโรค 5 ส่งเสริม 5 สนับสนุน ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม มีประสิทธิผลในระดับ มาก ทุกข้อ โดยพบว่าผู้บริหารมีความคิดเห็นดังนี้ 1) รูปแบบการสื่อสารนโยบายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีความคิดเห็น ในระดับมาก (M=3.87, SD. = .80) 2) รูปแบบการกำกับนโยบายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสมีความคิดเห็นในระดับ มาก (M=3.82, SD. = .71) และ 3) รูปแบบการประเมินผลนโยบายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสมีความคิดเห็นในระดับ มาก(M=3.96, SD. = .79) การประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการกำกับประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย 5 กลุ่มโรค 5 ส่งเสริม 5 สนับสนุน โดยใช้ผัง Spider Diagram พบว่าผู้บริหารในพื้นที่ มีความพึงพอใจ ในระดับมาก (M=3.94, SD. = .72)
References
Anderson, E. (1994). Public Policy – Making : Introduction. 2nd ed. New York: Houghton Mifflin Company.
Anucha, b. (2018). Guidelines for supervision, monitoring and inspection provincial educational personnel administration, a case study of the upper-central provincial group (8 provinces), office of the permanent secretary, ministry of education.
Best, John W. (1997). Research in Education. 2nd ed. New Jersey : Prentice – Hall, Inc. Retrieved June 23, 2022. from https://ww2.odu.edu/~jritz/attachments/reined.pdf
Boonchom., S. (2002). Preliminary research. Print the 7th time. Bangkok: Suree Wiyasan. 103.
Caldwell, K. (1970). Environment : A Challenge in Modern Society. New York : Doubleday. Hogwood, W., & Gunn, A. (1984). Policy Analysis for the Real World.Oxford: Oxford University Press.
Directors of National Health Development Plan No. 12 Committee. Ministry of Health (2016), National Health Development Plan No. 12 2017 –2021. (in Thai) Retrieved June 20, 2022. From http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER38/DRAWER027/GENERAL/DATA0
Fayol, H. (1916). General and Industrial Management. London : Sir Issac Pitman & Sons Ltd.
Penpilai_S., (2012). Healthcare partnership network's participation in health communications policy implementation in Nong Kin Phen Sub-District, Warinchamrap District, Ubonratchathani Province. An independent study executive program in public administration faculty of Political science Ubonratchathani University. (in Thai) Retrieved June 23, 2022. from http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research/sites/default/files/Penpilai_Suesat.pdf
Prime Minister office, (2017). National strategy 20 years 2017-2036. (in Thai) Retrieved June 20, 2022. from https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/475208.
Pratumtip Dokkaew. (2017). The effects improving clinical supervision process program by coaching for head nurse in Phrae hospital. Thesis M.N.S. in nursing administration, Naresuan University, 2017.
Mazmanian, A. and Sabatier, A. (1989). Implementation and Public policy with a new policy. 1-48 , Retrieved June 20, 2022 from http://www.des.ucdavis.edu/Faculty/Sabatier/mazmaniansabatier.pdf
Nahathai K., (2016). Effectiveness of implementation of policy by the government led by general Prayut Chan-Ocha to solve overpricing of government lottery tickets. An independent study executive program in public administration And Public Affairs Faculty of Political science Thammasat University. (in Thai) Retrieved June 23, 2022. from
Sabatier, A., Mazmanian, A. (1989). Implementation and Public Policy. USA: Lantham University Press.
Sanya Kenaphoom. (2016). The Conceptual Framework for Studying the Public Policy. Social Sciences Research and Academic Journal, 11(33). 1-16. (in Thai) Retrieved June 20, 2022. from file:///C:/Users/NCD-001/Downloads/eshijojiken,+Journal+manager
Wanida S., Wacharin I., (2018), Model-driven five precepts in villages policy to successes. Thonburi University Academic Journal 12(29). 203-209. (in Thai) Retrieved June 2, 2022. from http://www.thonburi-u.ac.th/journal/Document/12-29/Journal12_29_18.pdf
Wilasinee P. (2008). A Study of operative Model in pilot Schools Based on the Sufficiency EconomyPhilosophy : A Multi case Study research. (in Thai) Retrieved June 2, 2022. from http://lib.edu.chula.ac.th/cuappl/libedu2007/content.aspmod
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว