ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายสุขภาพ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การบริหารการจัดบริการเครือข่าย, การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกระบวนการถอดบทเรียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายสุขภาพ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร และ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการการจัดบริการการการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายสุขภาพ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขทีมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแล และผู้นำชุมชน เครือข่ายสุขภาพอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 83 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการวิเคราะห์เชิงประเด็น
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายสุขภาพ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย 1) เป็นการจัดบริการเครือข่ายโดยทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน 2) มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่องของการจัดระบบบริการเครือข่ายที่ครบตามมาตรฐาน 3) มีระบบการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และเครือข่ายอย่างจริงจัง 4) มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบโดยมีการวางแผนงานในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งเครือข่าย และดำเนินงานตามแผน รวมถึงการประชุมวิเคราะห์ผลลัพธ์ของงานและการติดตามอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้คณะทำงานที่มีมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง 5) มีทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้มแข็ง มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ในการดูแลติดตาม และสร้างพลังให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง 6) ทีมสุขภาพมีกระบวนการในการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยเบาหวาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางการพัฒนาการดำเนินการบริหารจัดการการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เครือข่ายสุขภาพ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ควรเป็นการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพของหน่วยบริการใกล้บ้านอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยการจัดอัตรากำลังที่เหมาะสมและอุปกรณ์การให้บริการที่ครบถ้วนและมีมาตรฐาน และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อข้อมูลทั้งเครือข่ายเพื่อให้สามารถติดตามข้อมูลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปดำเนินการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
References
Chanyasudhiwong, K., Promasatayaprot V., & Vorawong, J. (2015). The development of health care model for diabetes mellitus Type 2 in primary health care unite, Muang sisaket municipality, Sisaket Province. J Sci Technol MSU, 34(6), 551-559.
Department of Disease Contral. (2021). Department of disease control, campaign for World Diabetes Day 2021, awareness of diabetes care to be treated thoroughly. Retrieved June 20, 2022, From https://ddc.moph.go.th/brc/news.php? news=21692&deptcode=brc.
Diabetes Association of Thailand under The Patronage of her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. (2017). Practice guidelines for diabetes 2017. Pathum Thani: Romyem Media Company Limited.
Diabetes Association of Thailand under The Patronage of her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. (2020). Developmental guidelines for diabetes clinical standards. Bangkok: Sri Muang Prntng Co Ltd.
Gibson, C. H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16, 354-361.
Hanvoravongchai, Suriyaphol, Kijsanayotin, Sirikwin &Thaipipat. (2021). Model Development for integrated health information technology and digital transformation of diabetes and hypertension services in primary health care system in Thailand. National Health Foundation.
Jirawatkul, S. (2012). Qualitative study in nursing: Research methodology and case study. 6th printing. Khon Kaen University: Intellectual Property Management Office.
Katanyutanon T., Anukarn A., Novat B., Khong T., Insawang S., Banharn W., & Vejkan P. (2018). Role performance about diabetes of village health volunteers: A health promoting hospital in Samutprakan. HCU Journal of Health Science, 21(42), 1-12. (in Thai)
Naewbood, S. (2015). Effects of empowerment program on self-care ability of a family caregive. Journal of Nursing and Education, 8(4), 30-40. (in Thai)
Office of the Civil Service Commission. (2016). Effective team building. Retrieved October 20, 2022, from https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb01.pdf
Poomsanguan, K. (2014). Health empowerment: Nurses’ important role. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 86-90. (in Thai)
Plainoi, S. (2013.). Methods for evaluating lessons and synthesized knowledge. 6th printing: Bangkok: PA Living Company Limited.
Pannongpon, S., Promasatayapro, V., & Chumanaborirak P. (2020). Development of Care for patients with type 2 diabetes under the chronic disease management model (Chronic care model) in diabetes clinic Khunhan Hospital, Khunhan District, Sisaket Province. Academic Journal of Community Public Health, 6(2), 55-69. (in Thai)
Theingsakul, M., Panprasert, S. (2019). Development of a diabetes mellitus care model at Somdet Phra Phutthaloetla Hospital. Journal of Health Science, 28(4), 668-710. (in Thai)
Wangkahat, A., Chankong, W., & Ratiolan, S. (2015). Factors related to performance According to the role of village health volunteers in screening and reducing the risk of diabetes in Mukdahan Province: The 5th meeting to present research results for graduate studies, Sukhothai Thammathirat University Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2015. Pages 1-10. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว