ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ทางสุขภาพของประชากรก่อนสูงวัย ในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ทางสุขภาพ, ประชากรก่อนสูงวัย, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางสุขภาพของประชากรก่อนสูงวัย และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ทางสุขภาพของประชากรก่อนสูงวัยในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีอายุ 45-59 ปี อาศัยอยู่ในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท จำนวน 315 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วง .67-1.00 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความรอบรู้ทางสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพอยู่ในระดับทักษะความรอบรู้ทางสุขภาพเพียงพอร้อยละ 69.2 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ทางสุขภาพของประชากรก่อนสูงวัยในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ได้แก่ ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ ความสัมพันธ์กับครอบครัว และการจัดบริการสุขภาพ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทุกตัวแปรอิสระสามารถอธิบายความผันแปรของความรอบรู้ทางสุขภาพได้ร้อยละ 42.6 (R2= 0.426) จากผลการศึกษาหน่วยงานด้านสุขภาพในชุมชน และบุคลากรทางสุขภาพจะต้องมีการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพให้กับประชากรที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในชุมชน โดยการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และมีกระบวนการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และเตรียมพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ
References
Aekplakorn, W. Puckcharern, H & Satheannoppakao, W. (2021). Thai National Health Examination Survey NHES VI. Bangkok: AKSORN GRPHIC AND DESIGN PUBLISHING LIMITED PARTNERSHIP.
Berkman, N. Sheridan, S. Donahue, K. Halpern, D & Crotty, K. (2011). health literacy and health outcomes: an updated systematic review. Ann Intern Med Jul 19 2011; 155(2), 97-107.
Centre for SDG Research and Support. (2022). Goal 3: Good Health and Well Being. Retrieved December 1, 2022, from https://www.sdgmove.com/2016/10/06/goal-3-good-health-and-well-being/
Cho. Y, Lee. S, Arozullah. A & Crittenden, K. (2008). Effects of health literacy on health status and health service utilization amongst the elderly. Soc Sci Med Apr 2008; 66(8), 1809-1816.
Chotchai, T., Seedaket, S., Taearak, K., Panyasong, S. & Buajun, A. (2019). Factors Related to Health Literacy in Prevention of Hypertension among Group at Risk in Samran Sub-District, Muaeng District, Khon Kaen Province. The Southern College Network
Journal of Nursing and Public Health. 7(1), 45-56.
Darun, P., Krairat, P,. (2019). Health literacy factors influencing on health behavior of population in Buengkan province. Department of Health Service Support Journal, 15(3), 71-82.
Daniel, W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (6th ed). USA, Malloy Lithographing.
Department of health service support, Ministry of Public Health. (2018). Enhancing and evaluating health literacy; and health behavior, revised Edition 2018. Nonthaburi.
Manganello, J. A. (2008). Health Literacy and Adolescents: a Framework and Agenda for Future Research. Health Education Research, 23(5), 840-847.
Nutbeam, D. (2008). Health literacy as a public goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promot Int, 15, 259-267.
Orem, D. E. (1985). Nursing: Concepts of Practice (3rd ed.). New York: McGraw-Hill. World Health Organization. (1988). Health Promotion. WHO Publication.
Roma, W. (2018). Thai health literacy survey (THL-S) of Thais aged 15 years and above 2014. Nonthaburi. Health systems research institute.
Sapphaya District Public Health Coordinating Committee. (2018). Documents for the Briefing Government Inspectorate and Supervision of Normal Case, Fiscal Year 2018. Chainat
Suksri, S. (2017). Health Literacy and Self Care Related to Quality of Life of Elderly in Amnatcharoen Municipality Amnatcharoen Province. KKU Research Journals, 17(4), 73-84.
Wannapakae, J., & Phatisena, T. (2018). Relationship Between Health Literacy and Personal Factors with Health Behavior among Risk Group with Hypertension in Talad Sub-District, Muang District, Nakhon Ratchasima Province. SMT Journal, 4(Special), 176-185.
World Health Organization. (1998). Health Promotion Globally. Geneva Switzerland.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว