การศึกษาภาระงานเพื่อกำหนดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลกระบุรี

ผู้แต่ง

  • จรูญผล แสงสิริไพบูลย์ โรงพยาบาลกระบุรี

คำสำคัญ:

ภาระงาน, อัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล, ความต้องการทางการพยาบาลของผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความต้องการทางการพยาบาลของผู้ป่วยโดยรวมของผู้ป่วยทุกประเภท ในหน่วยงานของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลกระบุรี ที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลและกิจกรรมที่นอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง และวิเคราะห์อัตรากำลังของบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะมีตามความต้องการการพยาบาล ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพและเจ้าหน้าที่ในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลกระบุรี จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลการให้บริการ และอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล และแบบบันทึกเวลาปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงและกิจกรรมที่นอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงของผู้ป่วยแต่ละประเภท ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม .66-1.00 มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .93  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1) ปริมาณเวลาที่บุคลากรทางการพยาบาลใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง และกิจกรรมที่นอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงในผู้ป่วยต่อรายเฉลี่ย 4.98 ชั่วโมงต่อรายต่อวัน

2) อัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะมีตามความต้องการการพยาบาลตามสูตรการคำนวณของกองการพยาบาลเท่ากับ 54 คน และตามกรอบอัตรากำลังตามโครงสร้างการบริหารของโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข จำนวนบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะมีเท่ากับ 18 คน เป็นพยาบาลวิชาชีพ 11 คน พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ 7 คน

3) เมื่อเปรียบเทียบอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลตามความต้องการการพยาบาล ระหว่างสูตรการคำนวณ ของกองการพยาบาล กับกรอบอัตรากำลังตามโครงสร้างการบริหารของโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีความแตกต่างกัน

ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะมีตามความต้องการการพยาบาล ไม่สมดุลกับกรอบอัตรากำลังตามโครงสร้างการบริหารของโรงพยาบาลชุมชน ดังนั้นกลุ่มการพยาบาล ควรวางแผนการจัดอัตรากำลัง และมอบหมายงานให้เหมาะสมกับภาระงานในแต่ละแผนก

References

Banjongsil, R. (2018). Staffing Based on Nursing Care Needs in Out-patient Unit of Nakhonchaisi Hospital, Nakhon Pathom Region 4-5, Medical Journal. 37(2): 136- 146.

Dhanakijcharoen, P. (2021). Talk by heart ‘COVID-19’, an early warning that the future is catching you, No more time left for vulnerable community. [online]. available from; https://www.nationalhealth.or.th/en/node/2242. [accessed 29 October 2022].

Nursing division. (1996). Role and responsibilities of nursing staff in hospital. Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai).

Nursing division. (2020). Nursing staffing in COVID-19 situation. [online]. available from; https://www.hfocus.org/content/2020/03/18789. [accessed 29 October 2022].

Nursing office. (2004). Classification of patients In Patient Department. Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand.

Sawaengdee, K. et al. (2015). Analyses of Workload and Productivity of 12 Public Hospital Nurses in Region 2 of Thailand. Journal of Health Science, 24(4): 741-750.

Srisatidnarakul, B. (2010). Nursing management. Chonburi: Department of research evaluation and nursing administration, Faculty of nursing, Srinakharinwirot University. (in Thai).

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). (2021). Hospital and Healthcare Standards 5th edition. Nonthaburi: A. Printing Tien Kuang company Ltd.

Warstler, M.E. (1972). Some management technique for nursing service administrators: Staffing. The Journal of Nursing Administration, 2(2): 25-32.

Yaemsuda, T., Sriwatcharakul, S. and Eaksatra, K. (2012). Staffing of Nursing Personnel Based on Nursing Care Needs in In-Patient Unit: hospital under the Jurisdiction of the Naval Medical Department. Journal of The Royal Thai Army Nurses Volume,13(3): 72-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22