ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากร กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ดวงพร บุญมี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี  และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ระหว่าง 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2565 ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ที่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 120/80 – 139/89 mm.Hg  จำนวน 469 คน  เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  คำนวณโดยใช้ตารางสูตรสำเร็จของ เครจซีและมอร์แกน ได้ 210 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ผ่านการพิจารณาความตรงด้านเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ  และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์ครอนบาค เท่ากับ .84 และ .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติการแจกแจงด้วยค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า

1. ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ด้านที่ 1 ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจระดับไม่ถูกต้อง (Mean=5.54, SD.= 1.79)  ด้านที่มีระดับปานกลางขึ้นไป (ระดับสูงรวมกับระดับปานกลาง) ด้านที่มีค่าร้อยละสูงที่สุด คือ ด้าน 6 การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลัก 3อ 2ส และด้าน 2 การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส  เท่ากับร้อยละ 99.05 และ 97.62 ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าร้อยละต่ำที่สุด คือ ด้าน 5 การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศเพื่อสร้างเสริมสุขภาพตาม หลัก 3อ 2ส  ร้อยละ 71.67

2. ระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี  ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการบริโภคอาหาร  ด้านการออกกำลังกาย และด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน

3. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพมีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส และด้านการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก     3อ 2ส  ของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ควรมีการส่งเสริมด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส  และด้านการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส

References

Arahung, R., (2018). The Effects of Health Literacy Enhancement Program on Hypertensive Prevention Behavior of pre-hypertension risk group at a Community in Nakhon Pathom Province. Community Nurse Practitioner; M.S.N. (Community Nurse Practitioner. (in Thai)

Area Health 11, Office of Inspector General, Ministry of Public Health. (2015). Health Strategies 2016. Retrieved January 10, 2518, from http://www.rpho11.go.th/rpho11/upload/news/news-doc-00262.pdf

Bureu of Non Communication, Department of Disease Control. (2018). Retrieved January 10, 2518, from http://www.thaincd.com/document/file/download/paper-manual/CNN-Book.pdf

Cho, Y.I., Lee, S.Y.D., Arozullah, A.M. and Crittenden, K.S. (2008).Effects of health literacy on health status and health service utilization amongst the elderly. Social Science & Medicine.66: 1809-1816.

Division of Health Education, Health Science Faculty, Mahidol University. (2016). Health literacy of people who are at risks for type II diabetes and hypertension. Retrieved January 10, 2518, from http:// www.hed.go.th/linkhed/file/410

Division of Health Education, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. (2012). A guide to health literacy for promoting healthy behavior of people who are at risks for type II diabetes and hypertension. Public Health Ministry: Nonthaburi;

Department of disease control. (2015). Campaign of World Hypertension Day [internet]. Nontha Buri: Department of disease control; . Retrieved January 12, 2518, from http://www.thaincd.com

Gladdar,S.F., Valerio, M. A., Garcia, C. M., & Hansen, L. (2012). Adolescent health literacy: the importance of credible sources for online health information. Journal of School Health, 82(1), 28-36.

Joint National Committee 7-Complete Version. (2003, December). The seventh report of the joint national committee on prevention, detection, evaluation and treatment of high blood pressure (JNC VII). Hypertension, 42(6), 2106-2152

Kaewtong, N., Termsirikulchai, L., Leelaphun, P., Kengganpanich, T., & Kaeodumkoeng, K,. (2014). Health Literacy of group at risk of Hypertencion at Ban Nonghoi Sub-District Health Promoting Hospital, Sa Kaeo Province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 30(1), 45-56. (in Thai)

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30,607-610.

Norasing, Montree Sutthiphan Thanomphan (2019). Health literacy and health behavior in patients with uncontrolled blood sugar level or blood pressure: a case study of Nakornping Hospital, Chiang Mai. Journal of Nakornping Hospital, 10(1); 34-50. (in Thai)

Nutbeam D., (2000). Health Literacy as a Public Health Goal: A Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies into the 21st Century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

Orem, D. E. (2001). Nursing concepts of practice. (6th ed.). St. Louis: Mosby.

Ministry of Public Health. (2018). Percentage of people who are at risks for type II diabetes and hypertension, 2019 Fiscal year. Retrieved January 10, 2518, from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1 .php&cat_id=cf7d9da207c0f9a7ee6c4fe3f09f67dd&id=df9a12ff1c86ab1b29b3e47118bcd535

Riangkam, C, Wattanakitkrileart, D., Ketcham, A, & Sriwijitkamol, A,. (2016). Health Literacy, Self-Efficacy, Age and Visual Acuity Predicting on Self-Care Behaviors in Patients with Type 2 Diabetes. J Nurs sci, 34(4), 35-46. (in Thai)

Thanasukarn, C. & Nelaphijitr, N., (2016). A Survey of Health literacy in Diabetes and Hypertension. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai)

Thonglad, J. (2022). Factors Relationship Between Health Literacy and Personal Factors with Health Behavior Among Risk Group with Hypertension in Talad Sub-district, Muang District, Nakhon Ratchasima Province. Primary Health Care (Northeastern Edition). 36(2), 82-90. (in Thai)

Von Wagner, C., Knight, K., Steptoe, A., and Wardle, J. (2007). Functional health literacyand health-promoting behavior in a national sample of British adults. Journal of Epidemiol Community Health, 61(12), 1086-1090.

Woratanarat, T., Woratanarat, P. Wongdontre, O, & Janpanich, M. (2015). A Review Situation and mechanism of Health Health Literacy. Research Report, Retrieved January 10, 2518, from https://www.hsri.or.th/research/detail/6326

World Health Organization. (2009). Health Literacy Final. Retrieved January10, 2018, from http://www.who.int/healthpromotion/conferences/7gchp/Track1_Inner.pdf

World Health Organization. (2014). A global brief on hypertension. Geneva: World Health Organization : WHO

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22