ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองและการใช้หลักการ 2 ม 2 ว ต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลและป้องกันการเกิดโควิด-19 ในเด็กวัยเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • กิจติยา รัตนมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิพัฒน์ นุ่นด้วง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุวนันท์ ทิศลูน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ไพลิน สัญญากิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปัณฐิตา พรมเสนะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พัทธนันท์ สอนสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของตนเอง, โควิด-19, เด็กวัยเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองและการใช้หลักการ 2 ม 2 ว (2 ม การสวมแมส การล้างมือ 2 ว เว้นระยะห่าง วัคซีน) ต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลและป้องกันการเกิดโควิด-19 ในเด็กวัยเรียนประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 46 คนเป็นเด็กวัยเรียนประถมศึกษาตอนปลาย เก็บรวบรวมข้อมูลแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองและการใช้หลักการ 2 ม 2 ว 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบความรู้และแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลและป้องกันการเกิดโควิด-19 ผ่านการตรวจสอบจากความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และนำโปรแกรมไปศึกษานำร่องกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน และนำไปหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .83 กับ . 86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Sign Rank Test  ผลการวิจัยพบว่า  ค่าคะแนนความรู้สูงกว่าการเข้าร่วมโปรแกรม (Mean= 17.35, SD. = 2.70 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 ส่วนการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม (Mean= 4.61, SD. = .35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 เช่นกัน

จากผลการวิจัยพบว่าเมื่อมีการจัดโปรแกรมให้นักเรียนในการทำกิจกรรมอย่างมีแบบแผนนักเรียนสามารถมีการพฤติกรรมป้องกันการเกิดโควิด-19 ได้ ดังนั้นควรนำโปรแกรมไปใช้กับกลุ่มนักเรียนในช่วงวัยอื่นๆ และกลุ่มโรคติดต่อที่สามารถติดต่อได้ในระบบทางเดินหายใจเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรค

References

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychologist review, 84(2), 191-215

Bandura, A. (1982). Self-efficacy mechanism in human agency. American Psychologist, 37(2), 122-147.

Bhusin, P., Namboonsri, N., & Phupradi, T. (2022). COVID-19 infection in children. Journal of Nursing and Health, 4(1), 1-13. (in Thai)

Department of Health. (2020). Handbook for educational institutions to prevent the spread of COVID-19. Nonthaburi: Advertising Company. (in Thai)

Department of Health. (2022). Coronavirus disease 2019 (COVID-19). Retrieved 20 August 2022, from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php (in Thai)

Division of Communicable Disease Control. (2011). Handbook of prevention and control Coronavirus disease 2019 for public. Bangkok: The house rally the Agricultural Cooperatives of Thailand printing. (in Thai).

Dullas, A. R. (2010). Self-efficacy and academic performance of Filipino science high school students on mathematics and english subjects. Social Science Research Network. Available at: http://papers.ssrn.com/sol3/topten/topTenResults.cfm?groupingId=1314043&netorjrnl=jrnl.

Hill, B. (2020). Coronavirus: origins, signs, prevention and management of patients. British Journal of Nursing, 29(7), 399–402. https://doi.org/10.12968/bjon.2020.29.7.399

Krearfug, J., & Kaewurai, R. (2021). Infographics and information dissemination for handling COVID-19 Crisis. Journal of Liberal Arts. Ubon Ratchathani Univerdity, 17(1), 47-66.

Kriangburapa, W. (2020). Coronavirus disease 2019 in children. Burapha Journal of Medicine, 7(1), 96- 02. (in Thai)

Milstone, A. (2022). COVID in babies and kids: symptoms and prevention. Retrieved 20 August 2022, From https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/coronavirus-in-babies-and-children

Pholsali, P. (2018). Development of infographic media based on transfer of learning on the topic of saving for the future of primary 6 students. Unpublished master dissertation. Rajamangala University of Technology Thanyburi Thailand. (in Thai)

Rungrojwattana, W., Kompayak, J., & Punthasee, P. (2019). The effects of self-efficacy and family support promotion program on overweight among junior high school students. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(1), 274-284.

Sricharoenwijit, C. (2021). 10 Things to know about COVID-19 in children. Retrieved 20 August 2022, from

https://www.sikarin.com/doctor-articles/10

Suwanumpa, N., & Salawongluk, T. (2019). The effect of dietary and exercise modification program for obesity prevention among primary schools in Nakhon Ratchasima municipality. Ratchaphruek Journal, 17(1), 111-120.

Wongnonglaeng, S., Thanattheerakul, C., & Wonginchan, A. (2021). The effects of health program based on Bandura’s theory using gamification on perceived self-efficacy in health care of school-age children with thalassemia. Journal of Nursing and Health Care, 39(2), 117-126. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23