ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, อาการกำเริบเฉียบพลันบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ 2)เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ด้านสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมพรเขตร อุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร จำนวน 200 ราย ได้จากการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 3) แรงสนับสนุนทางสังคมและ 4)การรับรู้ด้านสุขภาพ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง พบว่าค่าความตรงเชิงเนื้อหาในแบบสอบถามด้านการรับรู้ด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลตนเอง เท่ากับ .94, .95 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบไค-สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2)ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะกำเริบเฉียบพลันโดยรวม พบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมด้านครอบครัวมีอิทธิพลทางบวก ส่วนแรงสนับสนุนทางสังคมด้านบุคลากรทางการแพทย์มีอิทธิพลทางลบ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยได้ร้อยละ 16.20
Downloads
References
Ananchaisarp, T. (2012). Global initiative for chronic obstructive lung disease guideline. 2011. Retrieved April 1, 2022, from ; http://medinfo2.psu.ac.th/commed/web/pdf/5/copd.pdf. (in Thai)
Davies, L., Angus, R. M., & Calverley, P. M. (1999). Oral corticosteroids in patients admitted to hospital with exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease: a prospective randomized controlled trial. The Lancet, 354(9177), 456 – 460.
Jaiyen, K., & Kahawong, W. (2014). Selective Factors Related to Health Behaviors of Muslim Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease in the Three Southern Border Provinces. Retrieved April 2022, from ; https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/9666/1/387935.pdf. (in Thai)
Jirakanvasan, N., & Putthiwongrak, W. (2015). Correlation of daytime sleepiness and Acute exacerbation in chronic obstructive pulmonary disease patients over 6 months. Chulalongkorn University. (in Thai)
Kamsopa, S., & Ua-Kit, N. (2017). Selected factors related to pre-hospital time in chronic obstructive pulmonary disease patients with acute exacerbation. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing. 28(1), 81-95. (in Thai)
Kuwalairat, P., Mayases, P., & Thongdang, A. (2014). Assessment of pharmaceutical care outcomes on the patients with chronic obstructive pulmonary disease attending community hospital in Thailand. IJPS, 10(1): 80-92. (in Thai)
Mhoryadee,K., Kanogsunthornrat, N., & Panpakdee, O. (2018). Relationships between illness perception and pulmonary rehabilitation behaviors in persons with chronic obstructive pulmonary disease. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 29(2), 95-110. (in Thai)
Nuprain, P., Luewanit, C. & Narinruk, P. (2013). The perception of health status and self-Care behaviour of the hypertension patient at the Vachira Phuket Hospital.Phuket Rajabhat University Academic Journal. 9(1), 63-87. (in Thai)
Pothirat, C., Wunnapuk, K., & Prapamontol, T. (2018). Investigation of DNA damage among chronic obstructive pulmonary disease (COPD) patients during high and low air pollutants in Chiang Mai province. Thailand Science Research and Innovation. Thammasat University. (in Thai)
Public Health Statistics A.D.2015. Bureau of policy and strategy, Ministry of Public Health. Retrieved April 1, 2022, from; https://bps.moph.go.th.statistic2558.pdf. (in Thai)
Ritakanee Puramo, K. (2020). Institute for population and social research, Mahidol University In collaboration with the Thai Health Promotion Foundation
Thongprasit, S., Noonil, N., & Sonpaveerawong, J. (2016). Medication behavior of patients with chronic obstructive pulmonary disease at home, Thasala district, Nakhon Si Thammarat Province. Princess of Naradhiwas University Journal, 10(3), 71-80.(in Thai)
Wanachunarin, w., Sriachataporn, S., & Dechsomritruthai, W. iIternal medicine textbook: Systemic disease 1: Mahidol University. Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Wangsom, A. (2016). Dyspnea management in patients with chronic obstructive pulmonary disease. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 27(1), 2-12. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว