การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล, หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์และศึกษาผลผลิตและผลลัพธ์ของรูปแบบฯ ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์จำนวน 128 คน และพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานคลินิก ฝากครรภ์ของโรงพยาบาลกระบี่จำนวน 5 คน และพยาบาลวิชาชีพในเครือข่ายของโรงพยาบาลกระบี่จำนวน 14 คน รวม 19 คน ระหว่างตุลาคม 2565 ถึงมีนาคม 2566 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและรูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ แบ่งเป็น 2 วงรอบ คือ วงรอบที่ 1 ออกแบบและทดลองใช้ วงรอบที่ 2 นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้จริง และระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โดยใช้แบบประเมินความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง สุขภาพจิต แบบสอบถามความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลวิชาชีพ หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสัมพันธ์กัน
พบว่า รูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ประกอบด้วย 1) การคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ 2)การประเมินความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและประเมินสุขภาพจิต 3)การส่งเสริมความรู้เรื่องความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ตามโปรแกรมการสอนและการพยาบาลแบบเฉพาะเจาะจง 4)การดูแลต่อเนื่องโดยการติดตามของพยาบาลชุมชน หลังการใช้รูปแบบ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมีคะแนนที่ดีขึ้นทั้งในด้านความรู้ คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองและสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) การเกิดภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง ร้อยละ 8.33 ทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 8.33 ไม่เกิดภาวะชักและไม่มีมารดาเสียชีวิต งบประมาณในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ลดลง ความพึงพอใจหญิงตั้งครรภ์และพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิผล สามารถนำไปพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ
References
Butalia, S., Audibert, F., Cote, A. M., Firoz, T., Logan, A. G., & Magee, L. A. (2018). Guidelines for the Management of Hypertension in Pregnancy. Retrieved December 4, 2021, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Spong CY, Dashe JS, Hoffman BL, et al. (2022). Williams Obstetrics. 26thed. New York: McGraw Hill.
Department of Mental Health (2020). ST5. Retrieved November 30, 2021, from https://www.dmh.go.th/test/qtest5 (in Thai)
Department of Public Health. (2022). DoH Dashboard. Retrieved November 30, 2021, from https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/mmr/index?year=2022. (in Thai)
Jim, B. and Karumanchi, S. A. (2017). Preeclampsia: Pathogenesis, Prevention, and Long-Term Complications. Retrieved December 4, 2021, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28711078/
Kucharo, W. (2019). Development of Home Visit Model for 12-Week Pregnancy Women Created by Nong Phok Hospital, Roi Et Province. Journal of Council of Community Public Health, 1(3), 41-51. (in Thai)
Sansiriphun, N & Baosoung, C. (2017). Nursing and midwifery: women with complications. (2nd ed.). Chiang Mai: Faculty of Nursing, Chiang Mai University. (in Thai)
Nuansiri, D. (2020). Effect of the development of a model of care for pregnant women with induce hypertension from the antenatal period to the postpartum period in Chom Thong hospital. Lanna Journal of Health Promotion & Environmental Health, 9(1), 1-15. (in Thai)
Osman, O. M., Gaafar, T., Eissa, T. S., Abdella, R., Ebrashy, A., & Ellithy, A. (2020). Prevalence of Vitamin D Deficiency in Egyptian Patients with Pregnancy-Induced Hypertension. Retrieved December 4, 2021, from https://www.degruyter.com
Phaksuknithiwat, T. (2019). Effect of health belief modification program on antenatal care visit behaviors in pregnant women, Buriram province. Journal of Public Health Nursing, 33(3), 15-28. (in Thai)
Sriarporn, P. (2017). Nursing care of postpartum women with mental disorders. In Nantaporn, S., & Chavee, B (ed.), Nursing and midwifery: women with complications. (pp. 347-358). Chiang Mai: Faculty of Nursing, Chiang Mai University. (in Thai)
Sanitlou, N., Sartphet, W., & Naphaarrak, Y. (2019). Sample Size Calculation Using G*Power Program. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences), 5(1), 496-507. (in Thai)
Senthiri, P., Srisong, S., Intharakasem, S., Prompakai, R., & Koponrat, K. (2018). Development of a Nursing care Model based on Case Management and Social Support among Pregnant Women with Pregnancy Induce Hypertension. Journal of Nursing and Health Care, 36(2), 243-145. (in Thai)
Sukkaew, N., Chatcha, W., & Kritcharoen, S. (2021). Self-care Experiences of pregnant women with hypertension disorders. The southern college network journal of nursing and public health, 8(3), 32-48. (in Thai)
The Royal Thai College of Obstetrics and Gynaecology. (2020). RTCOG Clinical Practice Guideline Management of Hypertensive Disorders in Pregnancy. Retrieved December 4, 2021, from https://online.anyflip.com/eqcch/frvb/mobile/index.html#p=222. (in Thai)
World Health Organization. (2020). Maternal mortality. Retrieved February 15, 2020, from https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/maternalmortality.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว