ผลของการเล่นเปียโนร่วมกับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและความคล่องแคล่วของมือในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • กมลเนตร อินทนนท์ งานกิจกรรมบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, การฝึกการทำงานของแขนและมือ, ความคล่องแคล่วของมือ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่นเปียโนร่วมกับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและความคล่องแคล่วของมือในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้เข้าร่วมการวิจัย 50 คน ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง อายุระหว่าง 40-70 ปี ถนัดข้างขวาและมีอาการอ่อนแรงข้างขวา มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนข้างขวา คะแนนระดับ 4 ไม่มีภาวะสมองเสื่อม และไม่มีภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เปรียบเทียบคะแนนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและความคล่องแคล่วของมือก่อนและหลังทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเล่นเปียโน เป็นเวลา 25 นาที ร่วมกับการรักษาทางกิจกรรมบำบัด เป็นเวลา 25 นาที รวมเวลาทั้งหมด ครั้งละ 50 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ติดต่อกัน กลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมการรักษาทางกิจกรรมบำบัดเพียงอย่างเดียว ครั้งละ 50 นาที  สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ติดต่อกัน ทดสอบความก้าวหน้าโดยการใช้ แบบทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ทดสอบแรงบีบมือ, ทดสอบแรงบีบนิ้วมือ, ทดสอบความคล่องแคล่วของมือแบบหยาบ, ทดสอบความคล่องแคล่วของมือแบบละเอียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ แมน-วิทนีย์ ยู และ วิลคอกซัน

หลังจากได้รับโปรแกรมการเล่นเปียโนร่วมกับโปรแกรมการรักษาทางกิจกรรมบำบัด กลุ่มทดลองมีคะแนนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วของมือข้างขวาเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดเพียงอย่างเดียว เมื่อทดสอบด้วย GST (49.92±5.90 เทียบกับ 46.44±3.48), PST (10.64±1.35 เทียบกับ 9.76± .87), คะแนนความคล่องแคล่วเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนหมุดเพิ่มขึ้น ทดสอบด้วย PPT ในหัวข้อ มือขวา (9.96±1.69 เทียบกับ 8.96± .84), มือทั้งสองข้างพร้อมกัน (9.88±1.56 เทียบกับ 8.96± .84), คะแนนรวมระหว่างมือขวา, มือซ้าย, มือทั้งสองข้างพร้อมกัน (32.24±3.23 เทียบกับ 30.16±3.05), ทั้งสองมือนำหมุดมาประกอบกัน (15.36± .86 เทียบกับ 14.40±1.52), คะแนนความคล่องแคล่วเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาที่ใช้ในการทดสอบลดลง ทดสอบด้วย MMDT ในหัวข้อ การแทนที่บล็อก (147.24±5.34 เทียบกับ 151.48±7.48), การพลิกบล็อก (179.36±9.20 เทียบกับ 184.08±8.66) และทดสอบด้วย GPT (127.40±3.06 เทียบกับ 130.44±3.83)  เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังของกลุ่มทดลอง พบว่ามีคะแนนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความคล่องแคล่วของมือเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทำการทดลอง ในขณะที่คะแนนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน จากการทดสอบด้วย MMT (4.00± .00 เทียบกับ 4.00± .00) เพียงการทดสอบเดียว ที่พบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หรือก่อนการทดลอง

References

Chauhan A., Kumar N. & Saxena S. (2020). Virtual reality based therapy modules for rehabilitation of upper-limb movement of stroke patients: A trail study. Journal of Scientific & Industrial Research. (79), 794-797.

Chen Y. (2020). A home-based, mobile-health-assisted piano therapy to improve upper extremity performance in stroke survivors: A pilot study. Journal of Occupational Therapy Association of American, 74(1), 7411515391p1. Retrieved October 9, 2022, from https://doi.org/10.5014/ajot.2020.74S1-PO4732.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2015). Depression Assessment Two Questions. Nonthaburi: Arunpongprisan S., et al. (in Thai)

Hatem SM., Saussez G., Della Faille M., Prist V., Zhang X., Dispa D., et al. (2016). Rehabilitation of motor function after stroke: A multiple systematic review focused on techniques to stimulate upper extremity recovery. Front Hum Neurosci.10(442). Retrieved May 31, 2023, from https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fnhum.2016.00442/full

Institute of Geriatric Medicine Department of Medical Services, Ministry of Public Health. (1999). Mini-Mental State Examination: MMSE-Thai 2002. Nonthaburi: The Committee of MMSE-Thai. (in Thai)

Lafayette Instrument. (2011). Minnesota Manual Dexterity Test (MMDT) and Purdue Pegboard Test (PPT). United States of America.

Lafayette Instrument. (2013). Grooved Pegboard Test (GPT). United States of America

National Institute for Emergency Medicine (2022). World situation and Thai: Stroke. Retrieved June 1, 2023, from https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414764_20220208161448.pdf (in Thai)

North Coast Medical, Inc. (2017). Jamar Dynamometer & Three-Jaw Chuck Pinch Meter. California.

Occupational Therapy Department, Faculty of Associated Medical Sciences, Chiang Mai University (2002). Chiang Mai: Professor of Occupational Therapy. (in Thai)

Suwansomsri P., Mankhetwit P. (2014). Effect of robot-assisted therapy on motor recovery of upper limb: A pilot study in Thai stroke patients. Journal of Occupational Therapy Association of Thailand. 19(3). 24-39. (in Thai)

Puengpraratanatrai A. (2021). Stroke with Golden period Ep.1. Retrieved May 29, 2023, from https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=1971 (in Thai)

Villeneuve M., Penhune V., Lamontegne A. (2014). A piano training program to improve manual dexterity and upper extremity function in chronic survivors. 8(662). Retrieved May 30, 2023, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/MC4141215/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-14