นวัตกรรมผ้าขวางเตียงส่งเสริมการให้นมแม่ (โอบอกอิ่มอุ่น)

ผู้แต่ง

  • ปิยรัตน์ รอดแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จตุพร เพิ่มพรสกุล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  • อุทุมพร ดุลยเกษม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ผ้าขวางเตียงส่งเสริมการให้นมแม่, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างนวัตกรรมทางการพยาบาลไปใช้ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับมารดาหลังผ่าตัดคลอด 2) ประเมินผลการใช้นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) มารดาหลังผ่าตัดคลอด 44 ราย  2) ญาติ/ผู้ดูแลมารดาหลังผ่าตัดคลอด 44 ราย และ 3) พยาบาลผู้ดูแลมารดาหลังผ่าตัดคลอด 10 ราย โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช ที่คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ  เครื่องมือที่ใช้ คือ นวัตกรรมผ้าขวางเตียงส่งเสริมการให้นมแม่ เครื่องมือประเมินประสิทธิผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้นวัตกรรม ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า

นวัตกรรมผ้าขวางเตียงส่งเสริมการให้นมแม่ สามารถนำมาใช้ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดได้  โดยร้อยละ 95.45 ของมารดาหลังผ่าตัดคลอด ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนจำหน่าย และมีความพึงพอใจการใช้นวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.83, SD.= .27) โดยค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของมารดาหลังผ่าตัดคลอด  ญาติ/ผู้ดูแลมารดาหลังผ่าตัดคลอด และพยาบาลผู้ดูแลมารดาหลังผ่าตัดคลอดอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ (Mean=4.82, SD.= .27, Mean=4.82, SD.= .32, และ Mean =4.86, SD.= .22) ความพึงพอใจรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ช่วยให้ทารกปลอดภัยจากการตกเตียง รองลงมา คือช่วยให้มารดาโอบกอดทารกได้ตั้งแต่กลับจากห้องผ่าตัด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุดจากการประเมินของมารดาหลังผ่าตัดคลอด คือ ความสะดวกในการใช้ และจากการประเมินของญาติ/ผู้ดูแลมารดาหลังผ่าตัดคลอดและพยาบาลผู้ดูแลมารดาหลังผ่าตัดคลอด คือ ความสวยงาม

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการสร้างนวัตกรรมผ้าขวางเตียงส่งเสริมการให้นมแม่ สำหรับช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด ซึ่งได้พบข้อจำกัดของการใช้ คือความสูงของหมอนรองทารกไม่พอดีกับระดับหน้าอกมารดา ดังนั้นควรมีการพัฒนาการออกแบบหมอนรองทารกให้มีหลายขนาด เพื่อให้เหมาะสม กับมารดาที่มีรูปร่างแตกต่างกัน เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม    

References

Budsaengdee, B. (2014). Self-Efficacy Promotion on Success in Exclusive Breastfeeding among Cesarean Section Mothers. Thai Red Cross Nursing Journal, 7(1), 1-9. (in Thai)

Carreiro, J. D. A., Francisco, A. A., Freitas de Vilhena Abrao, A. C., Marcacine, K. O., Abuchaim, E. D. S., & Coca, K. P. (2018). Breastfeeding difficulties: Analysis of a service specialized in breastfeeding. Acta Paulista de Enfermagem, 31(4), 430-438

Chitsom, S., Saenrian, B., & Tonthong, P. Pain Management after Cesarean Section. Regional Health Promotion Center 9, 16(3), 869-881. (in Thai)

Chotisuwan, S. (2020). The Innovative Breastfeeding Pillow, Lying Position, Sitting Position, Increasing 3 Power of Sucking. Quality fair project knowledge management R2R Research and innovation: Health Area 11. (in Thai)

Kala, S. (2018). Breastfeeding Support: Nurse’ Role. Songkhla: Chanmuang printing. (in Thai)

Khotsang, K., Sangin, S., & Chuahorm, U. (2016). The Effects of Lactational Program on Milk Secretion Time, onset of Lactation and Breastfeeding Self-Efficacy in Mothers after Cesarean Section. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 24(1), 13-26. (in Thai)

Kiyak, H., Bolluk, G., Canaz, E., Yüksel, S., & Gedikbası, A. (2019). The Evaluation of Cesarean Section Rates in Accordance with Robson Ten-group Classification System and the Data of Perinatology (Tertiary Center). Perinatal Journal Perinatoloji Dergisi, 27(2), 89-100.

NSO, & Unicef. (2019). Generating Evidence to Diliver for Children. Retrieved January 5, 2023, from https://www.unicef.org/thailand/media/5151/file/

Pluemjai, K., Kala, S., & Kritcharoen, S. (2022). The Effects of a Lactation Promotion Program On Milk Ejection and Lactation Time among Mothers with Cesarean Section. Journal of Nursing and Education,15(2), 55-72. (in Thai)

Ritmun, N., & Inthasorn, A. (2012). Effect of Positioning Breastfeeding on Pain Level and Latch-on for Cesarean Patients. Songklanagarind Journal of Nursing, 32(3), 37-49. (in Thai)

Saengpheng, L. (2022). Development of a Breastfeeding Assessment Tool and Evaluation of Its Use in Postpartum Ward of Maharaj Nakorn Si Thammarat Hospital. Journal of Health Sciences and Pedagogy, 2(1), 55-66. (in Thai)

Siriwanrangsan, P. (2015). The Role of the Ministry of Public Health in Promoting Breastfeeding. The 5thNational Breastfeeding Conference. Bangkok: Print and more. (in Thai)

Tharana, N. (2020). Promoting and Supporting Breastfeeding in Postpartum Mothers With Cesarean Section. Nursing Journal, 48(4), 324-335. (in Thai)

Wongphinit, U. (2014). Nurse’s Role in Promoting Exclusive Breastfeeding at Hospital Discharge. Thai Red Cross Nursing Journal, 8(1), 24-32. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-24