การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโดยใช้ Tele-nursing โรงพยาบาลระนอง

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ใจ เหลืองอ่อน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลระนอง
  • กัลยาณี นาคฤทธิ์ โรงพยาบาลระนอง

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย, การพยาบาลทางไกล, การดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโดยใช้การพยาบาลทางไกลและศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโดยใช้การพยาบาลทางไกล เริ่มดำเนินการตั้งแต่มิถุนายน 2565 ถึง สิงหาคม 2566 ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การออกแบบและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง 3) การประเมินผลลัพธ์การใช้ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการคือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมประกอบด้วย  แบบประเมินคุณภาพชีวิต ความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า การปฏิบัติตามระบบฯของพยาบาลวิชาชีพ   ความพึงพอใจของผู้ป่วยระยะท้ายและทีมสหสาขาวิชาชีพ แบบบันทึกข้อมูลการทำกิจกรรมประชุมครอบครัวและวางแผนการดูแลล่วงหน้า การเยี่ยมบ้าน ค่าใช้จ่ายในการมารับการรักษาและระยะเวลาของกระบวนการบริการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีสัมพันธ์กัน

ผลจากการนำระบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นพบว่า 1) คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 2) ความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)  3) ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อระบบการดูแลโดยใช้การพยาบาลทางไกลอยู่ในระดับมาก (Mean=4.37, SD.= .64)  4) มีกิจกรรมประชุมครอบครัวและวางแผนการดูแลล่วงหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.29  5)ได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.55  6) ค่าใช้จ่ายในการมารับการรักษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)  7) ระยะเวลาของกระบวนการบริการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ด้านผู้ให้บริการ 1) พยาบาลมีการปฏิบัติตามระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองโดยใช้การพยาบาลทางไกล ร้อยละ 100  2) ความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพอยู่ในระดับมาก (Mean=4.16, SD.= .69) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาระบบการดูแลโดยใช้การพยาบาลทางไกลส่งผลในการเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความวิตกกังวล ลดค่าใช้จ่ายในการมารับการรักษาและระยะเวลาของกระบวนการบริการ ดังนั้นควรนำระบบดังกล่าวไปกำหนดเป็นนโยบายในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองต่อไป

References

Angkana, C & Wittipong, C. (2021). Challenges of nurses in developing a palliative care innovation in Thailand.Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 32(2), 2-15. (in Thai)

Daravan, R., Intira, S., Saraporn, M., Atiya, S., Suthanan, K., Patpong, U., Pheeradetch, S., Benjaporn, R.,& Anant, K. (2021). The Development of Telemedicine for Caring Patient undergoing Peritoneal Dialysis Lesson Learned from the COVID 19 Pandemic. Health Systems Research Institute. (in Thai).

Karunruk palliative Center Srinakarin Hospital Faculty of Medicine Khon Kaen University . (2017). Guidelines for Operating a palliative care center in the hospital of the Karunruk Center. (1st edition). Krungnana witthaya Printing Ltd. (in Thai).

Nittaya, S & Teepatad, C. (2019). Role of Palliative Care Nurses in Tertiary Hospitals. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 21(1), 26-34. (in Thai).

Paengpan, S., Parichart, P., Natchaya, B.,& Sriveing, P. (2022). Outcome of Palliative Patients who Received Telemedicine Home Visits During the COVID-19 Pandemic : A Retrospective Study. Srinagarind Medical Journal, 37(1), 75-81.(in Thai).

Pathomporn, S. (2020). Introduction. In Pathomporn, S., & Dueanpen, W,.(ED), Manual of Caring for palliative and end-of life patients (For medical personnel) (1-5). Printing Office Agency to assist veterans Organization (in Thai).

Phamonrut, S. (2019). Social Media and palliative care challenge in Rural Primary Care. Journal of Primary Care and Family Medicine, 2(3), 25-33. (in Thai).

Prapimrat, P & Arinrada, L. (2021). Development of Care Model for Patient with End Stage Of cancer: from Hospital to Home Ubonrat Hospital, Khon-Kaen Province. Journal of Nursing and Health Care, 37(2), 199-207. (in Thai).

Sekse, R., Hunskar, I., Ellingsen, S. (2017).The nurse's role in palliative care: A qualitative meta-synthesis, Journal of Clinical Nursing, 27(1-2), 1-18. (in Thai).

Sumitra, S. (2018). Telenursing: A new opportunity for nurses in the digital era. Journal of Kathmandu Medical College, 7(2), 45-46. (in Thai).

Suvunna, K. (2018).Effectiveness of Telephone Call Visit Program on Interfering Symptoms of Late Cancer Patients And anxiety of the caregivers of Surat Thani Cancer Hospital. Surat Thani Cancer Hospital. (in Thai).

Thailand Nursing and Midwifery Council.(2021). Tele-nursing. Retrieved October 11, 2022, from; http://www.tnmc.or th./images/userfiles/files/T-0049.PDF.

Thitima, P. (2020). Management Model for Nursing Service Quality Developing of Palliative care in Songkhla Hospital. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 3(1), 73-93.

Weerachon, T. (2023). The Development of Referral for Patients with Chronic non-Communicable Diseases Using the Health Network with TELEHEALTH Model, Phiboonmangsahan district, Ubon Ratchathani Province. Academic Journal of Community Public Health, 9(1), 149-158. (In Thai).

World Health Organization. (2020). Palliative Care. Retrieved December 5, 2022, from https://www.who.int/en/new-room/fact-sheets/detail/palliative care.

Worrarat, M. (2017). Patient Care for the Terminally Ill Standard in the Hospital, Health District: A case study of Banglen District, Nakhon Pathom Province. Public Health & Health Laws Journal, 3(2), 135-147. (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-29