ผลของการเรียนรู้จากประสบการณ์สำหรับนักศึกษาพยาบาลในการประยุกต์ใช้โมเดล การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5A ต่อความรู้ และความสามารถในการสนับสนุนการจัดการตนเอง สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ ดวงจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์, สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิไลวรรณ คมขำ คณะพยาบาลศาสตร์, สถาบันพระบรมราชชนก
  • รวีวรรณ แก้วอยู่ คณะพยาบาลศาสตร์, สถาบันพระบรมราชชนก
  • พงษ์ศักดิ์ ป้านดี คณะพยาบาลศาสตร์, สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การเรียนรู้จากประสบการณ์, โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5A, การสนับสนุนการจัดการตนเอง, โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้จากประสบการณ์สำหรับนักศึกษาพยาบาลในการประยุกต์ใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5A ต่อความรู้และความสามารถในการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 จำนวน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 23 คน โดยการจับคู่ตามเกรดเฉลี่ยสะสม โดยกลุ่มทดลองได้รับการสอนภาคปฏิบัติโดยวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ ในการประยุกต์ใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5A และ สบช. โมเดล สำหรับการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมเป็นการสอนภาคปฏิบัติโดยใช้กระบวนการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย ระหว่าง .66-1.00 แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการสนับสนุนการจัดการตนเองตามโมเดล 5A มีค่าความยากระหว่าง .32- .76 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .21- .47 และแบบสอบถามความสามารถในการสนับสนุนการจัดการตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ และความสามารถในการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน ภายหลังจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ประยุกต์ใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5A สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ สามารถนำวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อประยุกต์ใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5A ไปใช้พัฒนานักศึกษาพยาบาล ให้มีความสามารถในการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และโรคเรื้อรังอื่นต่อไป

References

Belizan, M., Alonso, J. P., Nejamis, A., Caporale, J., Copo, M. G., Sánchez, M., ... & Irazola, V. (2020). Barriers to hypertension and diabetes management in primary health care in Argentina: Qualitative research based on a behavioral economics approach. Translational Behavioral Medicine, 10(3), 741-750.

Boonsi, J., Ubolyaem, D., & Namdej, N. (2021). The effect of teaching and learning management in nursing care of persons with mental health problems course based on experiential learning theory and scaffolding principle to psychiatric nursing practice competency of nursing students. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 22(3), 74-84. (in Thai)

Chen, L., Jiang, W. J., & Zhao, R. P. (2022). Application effect of Kolb's experiential learning theory in clinical nursing teaching of traditional Chinese medicine. Digital Health, 8, Article 20552076221138313. from https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/20552076221138313

Dahl, H., & Eriksen, K. Å. (2016). Students' and teachers' experiences of participating in the reflection process “THiNK”. Nurse Education Today, 36, 401-406.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health (2019). NCDs situational report 2019: Diabetes mellitus, hypertension and related risk factors. Aksorn Graphic and Design. (in Thai)

Dineen-Griffin, S., Garcia-Cardenas, V., Williams, K., & Benrimoj, S. I. (2019). Helping patients help themselves: A systematic review of self-management support strategies in primary health care practice. PLOS ONE, 14(8), Article e0220116. form https://doi.org/10.1371/journal.pone.0220116

Duangsai, S., & Chinnawong, T. (2021). Effect of 5 A’s self-management support program on self-management behaviors in patients with uncontrolled hypertension. Songklanagarind Journal of Nursing, 41(4), 74-85. (in Thai)

Duprez, V., Beeckman, D., Verhaeghe, S., & Van Hecke, A. (2017). Self-management support by final year nursing students: A correlational study of performance and person-related associated factors. International Journal of Nursing Studies, 74, 120-127.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Glasgow, R. E., Emont, S., & Miller, D. C. (2006). Assessing delivery of the five ‘As’ for patient-centered counseling. Health Promotion International, 21(3), 245-255.

Harnyoot, O. (2014). Nursing process and implications. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 137-143. (in Thai)

Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2005). Learning styles and learning spaces: Enhancing experiential learning in higher education. Academy of Management Learning & Education, 4, 193-212. from http://dx.doi.org/10.5465/AMLE.2005.17268566

Lorig, K. R., & Holman, H. R. (2003). Self-management education: History, definition, outcomes, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1-7.

McCabe, E. M. (2020). School nurses’ role in self-management, anticipatory guidance, and advocacy for students with chronic illness. NASN School Nurse, 35(6), 338-343.

Sadeghigolafshanl, M., Rejeh, N., Heravi-Karimooi, M., & Tadrisi, S. D. (2021). The effect of a 5A-based self-management program on empowering the elderly with diabetes. Iranian Journal of Rehabilitation Research, 7(2), 1-9.

Sadler, E., Wolfe, C. D. A., & McKevitt, C. (2014). Lay and health care professional understandings of self-management: A systematic review and narrative synthesis. SAGE Open Medicine, 2, Article 2050312114544493. from https://doi.org/10.1177/2050312114544493

Sarakshetrin, A., Rungnoei, N., Daungchan, C., Tongpeth, J., & Saengthong, W. (2023). Health promotion for patients with diabetes mellitus and hypertension in the community: A new model to enhance nursing students’ competencies. Journal of Nursing and Education, 16(1), 13-31. (in Thai)

Svastdi-Xuto, P., & Wangsukpisan, A. (2019). Transition experiences of nursing students’ clinical initial practice. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 27(3), 32-42.

Thianthavorn, V., & Chitiang, N. (2022). Roles of operations in the production of graduates in health sciences in the next decade of Praboromarajchanok Institute. Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 5(1), 236-246. (in Thai)

Van Hooft, S. M., Becqué, Y. N., Dwarswaard, J., van Staa, A., & Bal, R. (2018). Teaching self-management support in Dutch Bachelor of Nursing education: A mixed methods study of the curriculum. Nurse Education Today, 68, 146-152.

Wagner, E. H., Austin, B. T., Davis, C., Hindmarsh, M., Schaefer, J., & Bonomi, A. (2001). Improving chronic illness care: translating evidence into action. Health Affairs, 20(6), 64-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-07