ผลของโปรแกรมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองใน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ, การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 35-59 ปี ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและประเมินระดับความดันโลหิตแล้ว พบว่า ระดับความดันโลหิตซิสโตลิค มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิค มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 110 มิลลิเมตรปรอทและเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยโปรแกรม G*Power จำนวน 30 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ 1) โปรแกรมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ pair t-test และโดยใช้การทดสอบแบบ Independent t-test
ผลวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือด อยู่ในระดับสูง (Mean=12.02) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือด อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=10.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2) หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนเฉลี่ยทัศนคติการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับสูง (Mean=4.00) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยทัศนคติการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3) หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับสูง (Mean=4.05) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 4) หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับสูง (Mean=4.05) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยทัศนคติการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
References
Aneksak, W. (2019). Recognition of warning symptoms of stroke in patients with cardiovascular disease High Blood Pressure Sutthawet Hospital Maha Sarakham Province. Community Public Health Journal, 5(4), 27-37. (in Thai)
Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 324-508.
Bureau of Noncommunicable Diseases, Department of Disease Control. (2016). Annual report 2016. Bangkok: Office of Printing Affairs of the War Veterans Organization under Royal Patronage. (in Thai)
Bureau of Noncommunicable Diseases, Department of Disease Control. (2017). Manual for assessing the risk of birth. Ischemic heart disease and stroke (paresis, paralysis) for public health volunteers Village Health Volunteers (Village Health Volunteers). Printing Business Office. War Veterans Organization under His Majesty the King Royal patronage. (in Thai)
Bureau of Noncommunicable Diseases, Department of Disease Control. (2019). Community approaches to reduce risk and disease do not Chronic contacts (CBI NCDs) of local government organizations. Bangkok: Imotion Art Company Ltd. (in Thai)
Bureau of Noncommunicable Diseases, Department of Disease Control. (2022). Annual Report 2022 NCDs. Graphic Font and Design Publishing House. (in Thai)
Carpenter, S, & Torsakulkaew, T. (2020). Results of the promotion program Perceived health beliefs influence preventive behaviors. Stroke and cognition Benefits of maintaining behavior in older adults. Charoenkrung Hospital Journal, 16(2), 42-60. (in Thai)
Institute of Neurology. (2018). Summary report on service system development. Health, non-chronic communicable diseases Cerebrovascular Disease (Stroke) Year 2018. Institute of Neurology, Department of Doctor, Ministry of Public Health. (in Thai)
Hypertension Association of Thailand. (2019). Guidelines for treating high blood pressure in medicine. General practice 2019. Bangkok: Hua Nam Printing. Hypertension Association of Thailand. (in Thai)
Khamphilo, N. (2016). Knowledge, attitude, and risk behavior for disease. Cerebral artery of Patients with high blood pressure In Mae Tha Hospital, Mae Tha District, Lampang Province. Thesis Master of Public Health Faculty of Public Health Thammasat University. (in Thai)
Khiansa Hospital. (2023). Information on patients with high blood pressure. and received treatment at the accident and emergency department Khiansa Hospital Surat Thani Province. Khiansa Hospital. (in Thai)
Munfu, S. (2022). Effects of the Stroke Prevention Program of high blood pressure patients. Singburi Hospital Journal, 31(1), 68-78.
Nuansalee, P. (2023). Nursing care of patients with ischemic stroke or blockage who receive intravenous thrombolytic drugs with complications of cerebral edema. Urinary tract infections and associated diseases, high blood pressure, diabetes, high blood fat. Somdet Phayupparat Sa Kaeo Hospital. (in Thai)
Ngerndee, K. (2021). Effectiveness of the health belief model application program on Stroke prevention behavior of patients with high blood pressure, Mueang District, Province Phayao. Thesis presented to the University of Phayao. Master of Public Health Degree Program University of Phayao. (in Thai)
Phangnga, M. (2022). The relationship between the duration of having high blood pressure and The occurrence of stroke in patients with high blood pressure In Yang Talat District Kalasin Province. Community Public Health Journal, 8(2), 42-52. (in Thai)
Phongpoompipat, T. (2023). Effectiveness of the empowerment and change program Reduce the risk of stroke that affects stroke prevention behavior in patients with high blood pressure. High blood count, Tak Fa District, Nakhon Sawan Province. Northern Journal of Science and Technology, 1(4), 92-114. (in Thai)
Singkharotai, A. (2017). Results of using the health promotion program of People at risk for high blood pressure by applying health belief patterns Khao Phanom Subdistrict, Khao Phanom District, Krabi Province. Community Health Development, Journal Khon Kaen University, 5(2), 259-279. (in Thai)
Usaiphan, N. (2016). Development of a rehabilitation service system for sick patient Cerebral artery Surat Thani Province. Regional Medical Journal 11, 30(1), 85-93. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว