ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • อัญชลี นาคเพชร ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโพธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • รวิวรรณ คำเงิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปภาสินี แซ่ติ๋ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบาน (อสม.) ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ที่ปฏิบัติงานในตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 33 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*power โดยกำหนดขนาดอิทธิพล ระดับกลาง เท่ากับ .50 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05 และค่าอำนาจทดสอบ .80 สุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีจับฉลาก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงด้วยวิธีการของคูเดอร์ริชาร์ดสัน ได้เท่ากับ .78 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยใช้สถิติค่าทีสัมพันธ์

         ผลการวิจัย พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก            ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม เท่ากับ 8.76 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.39) และ 32.15 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  6.53) หลังเข้าร่วมโปรแกรม เท่ากับ 11.18 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.78) และ 41.21 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.80) เมื่อนำมาทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติค่าทีสัมพันธ์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=8.69, p< .01, t=12.16, p< .01) ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้บุคลากรทางสุขภาพนำโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กไปใช้เพื่อพัฒนา อสม. ให้มีความรู้และพฤติกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้บรรลุตามเป้าหมายต่อไป

References

Authavee, B., & Phongphetdit, B. (2018). The Use of the DSPM to Promote Child Development 5th Regional Health Promotion Center, Ratchaburi. Journal of Humanities and Social Sciences Alongkorn, 13(3), 229-242. (In Thai)

Bandura, A. (1977). Self-Efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change. Psychological Review, 84, 191-215.

Bunmachu, D., & Theunnadee, S., K. (2015). Effects of Promotion Program on Perceived Self - Efficacy Preterm Caring Behaviors of Mothers and Health Status of Preterm Babies. Journal of Nursing and Health Care, 33(4), 150-158. (In Thai)

Bureau of Health Promotion. (2017). School Manual for Parents for Their Children Good Health, Good Brain, Good Mood, Happiness. Bangkok: New Thamada Press (Thailand) Co Ltd. (In Thai)

Choomee, P. & Udomkitpipat, J. (2021). Knowledge of Chronic Diseases and Competencies in Providing Services Regarding Chronic Diseases in the Community of Village Health Volunteers in Sura Thani Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(4), 277-293. (In Thai)

Department of Health Service Support. (2014). Regulations of the Ministry of Public Health: Concerning Village Health Volunteers (VHVs), 2011. Retrieved October 30, 2023, from https://phc.moph.go.th/www_ hss/data_center/dyn_mod/2580.

pdf (In Thai)

Department Of Health Service Support. (2014). Handbook for New Era of Village Health Volunteers. Bangkok: The Agricultural Co-operation of Thailand. (In Thai)

Donkhom, P., Chaiwong, T., & Chaiwong, S. (2022). The Effectiveness of Self-Efficacy Promoting Program on Knowledge Attitudes and Practices of Caring for Elderly Dependents by Village Health Volunteers, Chun District, Phayao Province. Lanna Public Health Journal, 18(1), 57-67. (In Thai)

Hayeese, W., Wangsawat, T., & Damklia, W. (2019). Effect of the Perceived Self-Efficacy Promotion Program of Village Health Volunteers in Caring and Follow-up Preterm Infants After Discharge from Hospitals. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 27(2), 30-39. (In Thai)

Jungpanich, P., & Ployluan, W. (2021). The Study of Situation of Early Childhood Development in Thailand 2021. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health, 46(1), 41-53. (In Thai)

Kongsathianpong, S. (2015). Capacity Building of Village Health Volunteers in Home Visit among Diabetes Mellitus Patients in Laem Thong Subdistrict Municipality Nong Bunmak District Nakhon Ratchasima Province. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Degree of Master of Nakhon Ratchaima: Graduate School, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai)

Manmanah, A. (2014). Effects of Capacity Building Program for Village Health Volunteers for Dengue Hemorrhagic Fever Prevention in Pattani Province. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Degree of Master of Science in Health System Research and Development, Prince of Songkla University.

Ministry of Public Health. (2023). Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM. Nonthaburi: WVO officer of printing mill. (In Thai)

Rasiri, S., Intarakumhang Na Rachasima, S. & Rasiri, T. (2022). The Role of Thai Public Health Volunteers. Journal of Health Research and Development Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office, 7(2), 80-97. (In Thai)

Sirithongthaworn, S. (2013). The Development of Developmental Screening and Assessment Instruments for Children Aged Birth to 5 Years (Research Report). Bangkok: Thai Health Promotion Foundation.

Srilamai, N., & Teerarungsikul, N. (2015). Effectiveness of Maternal Perceived Self-Efficacy Enhancement Program on Caring for Preterm Babies. Journal of Nursing and Education, 8(2), 83-94. (In Thai)

Suwintrakorn, C., Kalampakorn, S., & Rawiworraku, T. (2019). The Effects of Self-Efficacy Enhancement Program for Health Volunteers on Stroke Surveillance and Prevention. Thai Journal of Nursing, 68(1), 39-48. (In Thai)

Thotet, P. (2020). A Study of the Competency Development Model for Village Health Volunteers 4.0 North Region, 2018. Journal of Human Society, 10(1), 34-44. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29